Apple has lost a visionary and creative genius, and the world has lost an amazing human being.

But his spirit will forever be the foundation of Apple. 6 October 2011

<<
กันยายน 2563
 12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
27282930 
18 กันยายน 2563

เส้นสี ฝีแปรง และพระราชพิธีบรมราชาภิเษก รัชกาลที 6




กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม โดยพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หอศิลป
ขอเชิญร่วมฟังการเสวนาเรื่อง เส้นสี ฝีแปรง และพระราชพิธีบรมราชาภิเษก
รัชกาลที่ 6 ของกาลิเลโอ คีนี ในวันอาทิตย์ที่ 31 มีนาคม 2562
ณ ห้องอเนกประสงค์ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หอศิลปะ
 
จากภาพร่างจิตรกรรมพระราชพิธีบรมราชาภิเษก
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวที่จัดแสดงอยู่ในห้องจิตรกรรม
ในราชสำนัก พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หอศิลป และผลงานภาพร่าง
จิตรกรรมพระราชพิธีบรมราชาภิเษก รัชกาลที่ 6 ขนาดเท่าจริง
ที่จัดเก็บอยู่คลังพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร

ซึ่งผลงานทั้ง 2 ชิ้นเป็นผลงานของของกาลิเลโอ คีนี ศิลปินอิตาเลียน
ผู้ที่ได้รับการว่าจ้างให้เข้ามาเขียนภาพจิตรกรรมเหตุการณ์สำคัญ
ประดับโดมพระที่นั่งอนันตสมาคม ใน พ.ศ. 2454
โดยได้เชิญทั้งศิลปิน นักประวัติศาสตร์ และนักอนุรักษ์
เข้ามาร่วมนำเสนอแง่มุมต่างๆ ของภาพชุดประวัติศาสตร์ชุดนี้

 

 

ในปี พ.ศ. 2562 เป็นปีมหามงคลที่ประเทศไทยจะมีพระราชพิธีบรมราชาภิเษก
ดังนั้น ในแวดวงนักประวัติศาสตร์ก็จะมีการจัดการสัมมนาเรื่องนี้เป็นหัวข้อหลัก
ผมก็ไปฟังมาบ้างก็พอจะเข้าใจถึงรายละเอียด ความหมายและขั้นตอนได้
ในระดับหนึ่ง แต่คงเขียนให้ฟังไม่ไหว เพราะเป็นเรื่องใหญ่และซับซ้อนมาก
 
แต่ที่พอจะเขียนไหว ก็คงเป็นข่าวใน facebook อยู่ช่วงหนึ่ง
เรื่องการค้นพบภาพร่างจิตรกรรมพระราชพิธีบรมราชาภิเษก
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งเป็นหนึ่งในหกภาพเขียนปูนเปียก
บนผนังยอดโดมพระที่นั่งอนันตสมาคม ซึ่งเดิมนั้นเราพบเฉพาะ
ภาพร่างขนาดเล็ก ที่จัดแสดงอยู่ในหอศิลป์เจ้าฟ้ามานานแล้ว
 
จนกระทั่งคุณยุทธนาวรากร แสงอร่าม ภัณฑารักษ์
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนครได้ค้นพบภาพร่างขนาดจริง
รูปครึ่งวงกลมขนาด ราว 6 คูณ 10 เมตร ที่คลังกลาง
ในลักษณะที่พับไว้ จึงมีความชำรุดมาก แต่เป็นสิ่งสำคัญ
เนื่องจากเป็นภาพร่างก่อนปรับแก้ เป็นภาพสุดท้ายในขนาดเดียวกัน
เพื่อนำขึ้นไปฉลุลายบนโดมพระที่นั่ง แล้วลงสีจริง
 
ดังนั้นจึงเป็นภาพเดียวในหกภาพ ที่หลงเหลือของจริงมาจนกระทั่งถึงปัจจุบัน
ซึ่งการศึกษาภาพนี้จะทำให้เข้าใจถึงเทคนิคการเขียนภาพปูนเปียกในสมัยนั้น


กาลิเลโอ คินี เป็นศิลปินที่มีชื่อเสียงคนหนึ่งของอิตาลี
ตั้งแต่งานจิตรกรรมบนผืนผ้าใบ จิตรกรรมฝาผนัง
งานประติมากรรมปูนปั้นประดับอาคาร ไปจนถึงเครื่องเคลือบดินเผา
นิยมใช้ลวดลายดอกไม้ใบไม้ เลื้อยพันกัน ในแบบ Art Nouveau

 

 

ภาพเขียนที่ส่งไปร่วมงานเบียนนาเลประจำปี ที่ตรงกับปีที่รัชกาลที่ 5
เสด็จประพาสยุโรปครั้งที่ 2 คือภาพชุด
ประวัติศาสตร์ศิลปะข้ามกาลเวลา
ที่อยู่ในบรรยากาศคลาสสิคของยุโรปโบราณอันเต็มไปด้วยเทพยดาและอมนุษย์
ท่ามกลางลวดลายพันธุ์พฤกษาอ่อนหวาน ปรากฏว่าต้องกับรสนิยมส่วนพระองค์
 
พระองค์จึงทรงทาบทามให้กาลิเลโอ คินี ในวัย 37 ปี เดินทางมายังกรุงเทพฯ
เพื่อรับงานเขียนภาพในพระที่นั่งอนันตสมาคม ในราวปลาย พ.ศ. 2454
คินี่เดินทางมาถึงสยาม แต่รัชกาลที่ 5 เสด็จสวรรคตเสียแล้ว 
เข้าสู่รัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
 
คินีพักอาศัยอยู่ที่บ้านริมฝั่งน้ำเจ้าพระยา ในตรอกวัดสามพระยาย่านบางลำพู
ซึ่งเป็นบ้านเดิมของเจ้าพระยายมราช (ปั้น สุขุม) ที่ให้นายช่างฝรั่งมาใช้พำนัก
มีเรื่องเล่าว่าที่ท่าน้ำของบ้านหลังนี้เองที่ คาร์โล ริโกลี
ผู้เป็นเพื่อนร่วมงานของคีนิ ได้เจอเด็กชายคนหนึ่งเอาชอล์ก

ขีดเขียนรูปภาพต่างๆ อยู่ที่สะพานท่าน้ำ ริโกลีเห็นว่าเด็กคนนี้พอจะมีแววอยู่
จึงขออนุญาตจาก ม.ร.ว.แดง พาไปดูการเขียนภาพ
ที่บนโดมพระที่นั่งอนันตสมาคม เมื่อเติบใหญ่เด็กชายคนนี้
คนไทยจะรู้จักกันในชื่อของ
เหม เวชกร

คินีรับหน้าที่เขียนภาพร่าง ภาพเขียนสีบนโดมของพระที่นั่งอนันตสมาคม
ตั้งแต่ภาพรัชกาลที่ 1 ถึง รัชกาลที่ 6
แต่ภาพสุดท้ายคือภาพบรมราชาภิเษกนั้น
มีความพิเศษแตกต่างจากภาพเหตุการณ์ของรัชกาลที่ 1-5


 

 

เพราะคินี่ได้มีโอกาสเข้าร่วมสังเกตการณ์ ในคราวเสด็จออกมหาสมาคม
ในพระบาทพระราชพิธีบรมราชาภิเษกสมโภช เมื่อวันที่ 2 ธันวาคม 2554
ณ มุขเด็จพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท ภาพกลุ่มบุคคลที่เขียนขึ้นในภาพนี้
จึงมีความพิเศษ ที่มีภาพของผู้ภาพตรงตามตัวตนจริงในประวัติศาสตร์ 

เช่น ภาพะของสมเด็จเจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถ กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ
ภาพของสมเด็จเจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิจ
และภาพของเจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี เป็นต้น
 
ระหว่างที่พักอาศัยอยู่ในกรุงเทพ คินีได้เขียนภาพแนวตะวันออกไว้หลายภาพ
พ.ศ. 2556 หลังรับราชการที่กระทรวงโยธาธิการอยู่ 30 เดือน
หลังจากการออกแบบและเขียนภาพจนแล้วเสร็จไปบางส่วน ก็เดินทางกลับ
ที่อิตาลี่ คินีได้ผลิตงานศิลปะที่มีแรงบันดาลใจจากวัฒนธรรมจีนเป็นจำนวนมาก

ปีต่อมา คินีได้รับเชิญให้เข้าร่วมงานเวนิสเบียนนาเลอีกครั้ง
โดยมีห้องแสดงงานเป็นส่วนตัว เขาจึงเปิดการแสดงเครื่องปั้นดินเผา
และภาพเขียน ทั้งส่วนที่เขานำกลับไปด้วยและที่เขียนขึ้นใหม่
เพื่อการนี้โดยเฉพาะ ในชื่อนิทรรศการว่า
Nostalgia di Bangkok
และกลายเป็นอาจารย์ประจำในสถาบันศิลปะแห่งเมืองฟลอเรนซ์
 
ในวัย 76 ปี คินีตัดสินใจบริจาคสิ่งของสะสมจากสยามของเขาให้กับพิพิธภัณฑ์
และตั้งชื่อว่า
ความทรงจำแห่งสยาม ซึ่งเป็นชื่อเดียวกับนิทรรศการ
ที่เคยจัดแสดงเมื่อครั้งได้เดินทางกลับจากสยาม เมื่ออายุได้ 92 ปี
คินี ถึงแก่กรรมที่เมืองฟลอเรนซ์เมื่อวันที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2499





 ปัจจุบันภาพร่างพระราชพิธีบรมราชาภิเษก รัชกาลที่ 6 ของกาลิเลโอ คินี
อยู่ระหว่างการอนุรักษ์ ก่อนจะนำไปจัดแสดงในนิทรรศการพิเศษ
เนื่องในโอกาสพระราชพิธีบรมราชาภิเษก รัชกาลที่ 10 พุทธศักราช 2562
แต่เท่าที่ทราบ น่าจะไม่ทันเนื่องจากอาจใช้เวลาถึง 2 ปี กว่าจะเสร็จสิ้นลง

ซึ่งปัจจุบันทางหอศิลป์เจ้าฟ้า ได้จัดเตรียมห้องด้านบนห้องหนึ่ง
สำหรับการซ่อมแซม เนื่องจากภาพนี้มีขนาดที่ใหญ่มาก
โดยผู้ที่ไปเยี่ยมชมหอศิลป์เจ้าฟ้าจะสามารถมองเห็นการทำงานอนุรักษ์
ภาพดังกล่าวผ่านหน้าต่างกระจกได้

 พระที่นั่งอนันตสมาคม เดิมเป็นชื่อพระที่นั่งในพระบรมมหาราชวัง
สร้างแบบตึกฝรั่ง เมื่อครั้งสมัยรัชกาลที่ 4 แต่เล่าว่าเมื่อถึงรัชกาลที่ 5
ได้ชำรุดทรุดโทรมลง แต่มีผู้วิเคราะห์ประวัติศาสตร์ที่เคยให้ความเห็นว่า
สมัยนั้นช่างไทยช่างจีนสร้างตึกแบบตะวันตก ก็อาจไม่เหมือนช่างฝรั่งมาก่อสร้าง
 
เมื่อรัชกาลที่ 5 ได้เสด็จประพาสยุโรป ทรงได้เห็นอาคารและสิ่งก่อสร้างของจริง
จึงได้มีแนวพระราชดำริ ที่จะแสดงให้เห็นความทันสมัยต่อสายตาชาวต่างชาติ
พระที่นั่งอนันตสมาคมคือในสิ่งก่อสร้างสมัยนั้น สร้างในสไตล์ของอิตาเลียนเรอเนซองส์
โดยฝีมือสถาปนิกชื่อดังสองคนคือ
Annibale Rigotti และ Mario Tamagno
 
การก่อสร้างเริ่มขึ้นตั้งแต่ปี พ.ศ. 2451 แต่กว่าจะเสร็จสมบูรณ์
ก็ล่วงเข้าสู่ปี พ.ศ. 2459 ภาพเขียนสีปูนเปียกที่คินีทำการศึกษา
ทดลองร่างแบบ และนำขึ้นทูลเกล้าฯ ให้รัชกาลที่ 6
ทรงมีพระบรมราชวินิจฉัย คัดเลือกภาพเหตุการณ์ในรัชกาลต่างๆ
มาเขียนไว้บนโดมพระที่นั่งอนันตสมาคม มีจำนวน 6 ภาพ ดังนี้





รัชกาลที่ 1 ภาพเมื่อเสด็จกลับจากราชการทัพในกัมพูชา
เหล่าขุนนางข้าราชการสมณชีพราหมณ์ อัญเชิญให้ขึ้นเสวยราชสมบัติ

รัชกาลที่ 2  ภาพกระบวนเสด็จพยุหยาตราทางสถลมารค
และการก่อสร้างพระปรางค์วัดอรุณราชวราราม
 

รัชกาลที่ 3 ภาพการเสด็จเลียบพระนครและการก่อสร้างป้อมปราการ
รัชกาลที่ 4 ภาพพระราชกรณียกิจในการทำนุบำรุงศาสนา
รัชกาลที่ 5 ภาพการเลิกทาสและความก้าวหน้าของพระราชอาณาจักร
รัชกาล 6 ภาพการเสด็จออกมหาสมาคมในการพระราชพิธีบรมราชาภิเษกสมโภช
 
ปรกติพระที่นั่งนี้ไม่เปิดให้เข้าชม บางท่านจึงอาจไม่มีโอกาสได้เห็นภาพจริงได้
ผมเองยังเคยเห็นครั้งเดียวเท่านั้น คราวจัดงานแสดงสินค้า
ของศูนย์ศิลปาชีพบางไทร แน่นอนว่าด้านในห้ามถ่ายภาพ

พระราชพิธีบรมราชาภิเษกสมโภชต่างจากพระบรมราชาภิเษกอย่างไร
คงจะเคยได้ยินช่วงคราวงานพระราชพิธีบรมราชาภิเษกในรัชกาลปัจจุบันว่า
ก่อนหน้านี้ ประเทศไทยมีพิธีบรมราชาภิเษกมาแล้ว 11 ครั้ง
ซึ่งมากกว่าจำนวนรัชกาล นั่นเพราะในรัชกาลที่ 1 มีพิธีบรมราชาภิเษก 2 ครั้ง

 ครั้งแรกในปี พ.ศ. 2325 คราวที่ปราบดาภิเษกขึ้นครองราชย์สมบัติ
หลังจากนั้นราว 3 ปี เมื่อก่อสร้างพระบรามหาราชวังเสร็จสิ้นลง
พระองค์ได้ให้ผู้คนที่ยังมีความทรงจำเรื่องงานพระบรมราชาภิเษก
สมัยกรุงศรีอยุธยา จัดทำตำรา และประกอบพิธีบรมราชาภิเษกขึ้นอีกครั้ง



 

หลังจากนั้น ก็มีพิธีบรมราชาภิเษกเพียงรัชกาลละ 1 ครั้ง
ที่พระมหากษัตริย์รัชกาลต่อมา จะออกทุกข์ช่วงสั้นๆ ในงานพระบรมโกศ
เพื่อจัดพิธีบรมราชาภิเษก ขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์พระองค์ใหม่
นั่นเพราะในอดีตแผ่นดินต้องมีผู้นำ มิฉะนั้นอาจจะเป็นช่องว่างให้ข้าศึกมารุกรานได้
 
มีการจัดพิธีบรมราชาภิเษกถึงสองคราวอีกครั้ง ในสมัยรัชกาลที่ 5
โดยจัดขึ้นเมื่อพระองค์มีพระชนมายุ 15 พรรษาครั้งนึง
และเมื่อมีพระชนมพรรษา 20 พรรษาอีกครั้งนึง 

เมื่อสยามได้ติดต่อกับต่างชาติชาวตะวันตก
ก็มีการรับวัฒนธรรมบางอย่างมา เช่น ธรรมเนียมการสวมพระมหาพิชัยมงกุฎ
แทนที่จะทรงรับแล้วมาวางข้างพระองค์อย่างที่มีบันทึกไว้
ในคราวพิธีบรมราชาภิเษกครั้งรัชกาลที่ 3

และอีกธรรมเนียมหนึ่งซึ่งมีเป็นครั้งแรกในสมัยรัชกาลที่ 6 คือ
การออกมหาสมาคม เมื่อทรงประกอบพระราชพิธีบรมราชาภิเษกครั้งที่ 2
ซึ่งเป็นการสร้างความรับรู้ให้แก่สาธารณชน รวมถึงทูตต่างประเทศว่า
ประเทศนี้ได้มีพระเจ้าแผ่นดินพระองค์ใหม่แล้ว

ดังนั้นจะกล่าวได้ว่า ภาพวาดนี้เขียนขึ้นเมื่อรัชกาลที่ 6
ทรงประกอบพระราชพิธีบรมราชาภิเษกครั้งที่ 2
หลังงานพระเมรุของรัชกาลที่ 5 โดยมีพิธีการออกมหาสมาคมเพิ่มขึ้นมา
เพื่อไม่ให้เกิดความสับสนจึงออกชื่องานว่า
บรมราชาภิเษกสมโภช นั่นเอง



Create Date : 18 กันยายน 2563
Last Update : 17 มิถุนายน 2568 11:31:05 น. 2 comments
Counter : 1448 Pageviews.  

ผู้โหวตบล็อกนี้...
คุณสายหมอกและก้อนเมฆ, คุณtuk-tuk@korat, คุณหอมกร


 
น่าสนใจมากค่ะ


โดย: tuk-tuk@korat วันที่: 19 กันยายน 2563 เวลา:16:07:28 น.  

 
ผู้ชายในสายลมหนาว Education Blog ดู Blog
ตามหมวดเลยจ้า บล็อกนี้



โดย: หอมกร วันที่: 20 กันยายน 2563 เวลา:22:46:53 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

ผู้ชายในสายลมหนาว
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 24 คน [?]




[Add ผู้ชายในสายลมหนาว's blog to your web]