bloggang.com mainmenu search






กลยุทธ์ตีชิงตามไฟ พระเจ้าหองจูเปียนเสียอำนาจ





กลศึกสามก๊ก (Thirty-Six Stratagems; จีนตัวเต็ม: 三十六計; จีนตัวย่อ: 三十六计; พินอิน: Sānshíliù Jì) เป็นการรวบรวมกลยุทธ์ต่าง ๆ ที่ใช้ในการทำศึกสงคราม ที่ปรากฏในวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊กฉบับเจ้าพระยาพระคลัง (หน)

ในสามก๊กมีการทำศึกสงครามมากมายหลายครั้ง เพื่อแย่งชิงอำนาจและความเป็นใหญ่ การนำกำลังทหารและไพร่พลจำนวนมากการบุกโจมตีและยึดครองเมืองหรือสถานที่ต่าง ๆ หรือทางการทูตต่างแดนในการเจรจาต่อรองผูกสัมพันธ์ไมตรีกับแคว้นอื่น

การต่อสู้ทางด้านสติปัญญาและกุศโลบาย ในการแสดงแสนยานุภาพแก่ศัตรู การปกครองไพร่พลรวมทั้งผู้ใต้บังคับบัญชา การทหาร การเมือง การเศรษฐกิจ การบริหารปกครองบ้านเมือง หรือแม้นแต่การใช้คนอย่างถูกต้อง

ในสามก๊กทุกสิ่งล้วนแต่เป็นการนำเอาทรัพยากรทุกอย่างที่มี เพื่อนำมาใช้ในการทำศึกสงคราม สงครามสามก๊กนั้นมีบ่อยครั้งที่กำลังทหารที่มีกำลังไพร่พลน้อยกว่า กลับเอาชนะกำลังทหารที่มีกำลังไพร่พลมากกว่าได้ ซึ่งสิ่งสำคัญที่สุดคือกลยุทธ์ในด้านยุทธศาสตร์และการชำนาญภูมิศาสตร์สถานที่ในการทำศึกสงคราม

แต่มีบ่อยครั้งที่กำลังทหารที่มีกำลังไพร่พลน้อย กว่ากลับเอาชนะกำลังทหารที่มีกำลังไพร่พลมากกว่าได้ ซึ่งสิ่งสำคัญที่สุดคือกลยุทธ์ในด้านยุทธศาสตร์ และการชำนาญภูมิศาสตร์สถานที่ในการทำศึกสงคราม

ในสามก๊กมีการใช้กลศึกจำนวนมากมายในการหลอกล่อศัตรูเพื่อชัยชนะ การต่อสู้ทางสติปัญญา สุดยอดแห่งกุศโลบายในการแสดงศักยภาพของกองทัพ แม่ทัพที่นำทัพในสนามรบนอกจากจะมีฝีมือในการที่สูงส่งแล้ว จะต้องรู้หลักตำราพิชัยสงคราม

เสนาธิการที่ปรึกษาทัพจะต้องรอบรู้ในทุก ๆ ด้าน รู้แจ้งในกลศึกต่าง ๆ ของศัตรู รู้ถึงจิตใจของทหารใต้บังคับบัญชา และรู้จักฉกฉวยจังหวะสำคัญในการโจมตีจึงจะสามารถเอาชนะศัตรูได้ จูกัดเหลียง จิวยี่ สุมาอี้ ลกซุน ตั๋งโต๊ะ โจโฉ กุยแกและบุคคลอื่นอีกมากมาย

ล้วนแต่ชำนาญกลศึกในการทำศึกสงคราม ซึ่งกลศึกสำคัญและเป็นมาตรฐานของการทำสงครามสามก๊ก

1 การวางกลศึก
2 กลยุทธ์ชนะศึก

2.1 กลยุทธ์ที่ 1 ปิดฟ้าข้ามทะเล
2.2 กลยุทธ์ที่ 2 ล้อมเวยช่วยจ้าว
2.3 กลยุทธ์ที่ 3 ยืมดาบฆ่าคน
2.4 กลยุทธ์ที่ 4 รอซ้ำยามเปลี้ย
2.5 กลยุทธ์ที่ 5 ตีชิงตามไฟ
2.6 กลยุทธ์ที่ 6 ส่งเสียงบูรพาฝ่าตีประจิม

3 กลยุทธ์เผชิญศึก
3.1 กลยุทธ์ที่ 7 มีในไม่มี
3.2 กลยุทธ์ที่ 8 ลอบตีเฉินชาง
3.3 กลยุทธ์ที่ 9 ดูไฟชายฝั่ง
3.4 กลยุทธ์ที่ 10 ซ่อนดาบในรอยยิ้ม
3.5 กลยุทธ์ที่ 11 หลี่ตายแทนถาว
3.6 กลยุทธ์ที่ 12 จูงแพะติดมือ

4 กลยุทธ์เข้าตี
4.1 กลยุทธ์ที่ 13 ตีหญ้าให้งูตื่น
4.2 กลยุทธ์ที่ 14 ยืมซากคืนชีพ
4.3 กลยุทธ์ที่ 15 ล่อเสือออกจากถ้ำ
4.4 กลยุทธ์ที่ 16 แสร้งปล่อยเพื่อจับ
4.5 กลยุทธ์ที่ 17 โยนกระเบื้องล่อหยก
4.6 กลยุทธ์ที่ 18 จับโจรเอาหัวโจก

5 กลยุทธ์ติดพัน
5.1 กลยุทธ์ที่ 19 ถอนฟืนใต้กระทะ
5.2 กลยุทธ์ที่ 20 กวนน้ำจับปลา
5.3 กลยุทธ์ที่ 21 จักจั่นลอกคราบ
5.4 กลยุทธ์ที่ 22 ปิดประตูจับโจร
5.5 กลยุทธ์ที่ 23 คบไกลตีใกล้
5.6 กลยุทธ์ที่ 24 ยืมทางพรางกล

6 กลยุทธ์ร่วมรบ
6.1 กลยุทธ์ที่ 25 ลักขื่อเปลี่ยนเสา
6.2 กลยุทธ์ที่ 26 ชี้ต้นหม่อนด่าต้นไหว
6.3 กลยุทธ์ที่ 27 แสร้งทำบอแต่ไม่บ้า
6.4 กลยุทธ์ที่ 28 ขึ้นบ้านชักบันได
6.5 กลยุทธ์ที่ 29 ต้นไม้ผลิดอก
6.6 กลยุทธ์ที่ 30 สลับแขกเป็นเจ้าบ้าน

7 กลยุทธ์ยามพ่าย
7.1 กลยุทธ์ที่ 31 สาวงาม
7.2 กลยุทธ์ที่ 32 ปิดเมือง
7.3 กลยุทธ์ที่ 33 ไส้ศึก
7.4 กลยุทธ์ที่ 34 ทุกข์กาย
7.5 กลยุทธ์ที่ 35 ลูกโซ่
7.6 กลยุทธ์ที่ 36 หลบหนี


การวางกลศึก

การวางแผนการศึกในเชิงรบระหว่างทัพ แม่ทัพผู้นำศึกต้องมีความรู้ความสามารถ มีภูมิปัญญาอันเป็นเลิศ มีความมั่นใจในตนเอง มีความเมตตา ความเด็ดเดี่ยวแน่วแน่และความกล้าหาญชาญชัย รักไพร่พลของตนรวมทั้งมีการแม่นยำในสภาพภูมิศาสตร์ รู้สภาพดินฟ้าอากาศ ธรรมชาติและฤดูกาลต่าง ๆ

อันส่งผลให้เกิดขอบเขตขีดจำกัดในการทำศึก ดั่งคำกล่าวของจูกัดเหลียงที่ว่า "อันธรรมดาเป็นชายชาติทหาร ถ้าไม่รู้คะเนการฤกษ์บนแลฤกษ์ต่ำ ก็มิได้เรียกว่ามีสติปัญญา" ถ้าแม่ทัพผู้นำศึกขาดสิ่งต่าง ๆ ดังกล่าวแล้ว ย่อมเพลี่ยงพล้ำหลงกลศึกของแม่ทัพฝ่ายตรงข้ามได้ง่าย

กลศึกทางบกเป็นการคำนวณระยะทางใกล้ไกล สภาพภูมิประเทศ และความยากง่ายต่อการเข้าถึงของพื้นที่ รวมทั้งการให้คุณให้โทษแก่ไพร่พลทหาร การจัดส่งเสบียงอาหารและกองกำลังหนุนยามเพลี้ยงพล้ำ

การวางแผนการศึกในเชิงรบระหว่างทัพเรือ แม่ทัพผู้นำศึกต้องมีความรู้ความสามารถ มีภูมิปัญญาอันเป็นเลิศ มีความมั่นใจในตนเอง มีความเมตตา ความเด็ดเดี่ยวแน่วแน่และความกล้าหาญชาญชัย รักไพร่พลของตน

รวมทั้งมีการแม่นยำในสภาพภูมิศาสตร์ ชำนาญในการเดินเรือ รู้สภาพดินฟ้าอากาศ โขดหินและร่องน้ำตามธรรมชาติ รวมทั้งรู้จักฤดูกาลต่าง ๆ อันส่งผลให้เกิดขอบเขตขีดจำกัดในการทำศึก ถ้าแม่ทัพผู้นำศึกขาดสิ่งต่าง ๆ ดังกล่าว ย่อมหลงกลศึกของแม่ทัพฝ่ายตรงข้ามได้ง่าย

กลศึกทางน้ำเป็นการคำนวณระยะทางใกล้ไกลในการเดินทัพเรือ สภาพภูมิประเทศ และความยากง่ายต่อการเข้าถึงของพื้นที่ รวมทั้งการให้คุณให้โทษแก่ไพร่พลทหาร การจัดส่งเสบียงกรังและกองกำลังหนุนยามเพลี่ยงพล้ำและพ่ายแพ้

ในสามก๊กมีการใช้กลศึกจำนวนมากมายในการหลอกล่อศัตรู เพื่อให้ได้มาซึ่งชัยชนะ การต่อสู้ทางสติปัญญา สุดยอดแห่งกุศโลบายในการแสดงศักยภาพของกองทัพ แม่ทัพที่นำทัพในสนามรบนอกจากจะมีฝีมือในการที่สูงส่งแล้ว จะต้องรู้หลักและเชี่ยวชาญตำราพิชัยสงคราม

เสนาธิการที่ปรึกษาทัพจะต้องรอบรู้ในทุก ๆ ด้าน รู้แจ้งในกลศึกต่าง ๆ ของศัตรู รู้ถึงจิตใจของทหารภายใต้บังคับบัญชา และรู้จักฉกฉวยจังหวะสำคัญในการโจมตีจึงจะสามารถเอาชนะศัตรูได้ ตำราพิชัยสงครามซุนวู 13 บท กล่าวไว้ว่า

"การบัญชาทัพชั้นเอกคือชนะด้วยอุบาย รองลงมาคือชนะด้วยการทูต รองลงมาอีกคือชนะด้วยการรบ" จูกัดเหลียง จิวยี่ สุมาอี้ ตันฮก ลิบอง ลกซุน ตั๋งโต๊ะ โจโฉ กุยแกและบุคคลอื่นอีกมากมาย ล้วนแต่ชำนาญกลศึกและตำราพิชัยสงครามในการทำศึก ซึ่งกลศึกสำคัญและเป็นมาตรฐานของการทำสงครามสามก๊กในแต่ละครั้งมีดังนี้

1.กลยุทธ์ชนะศึก (อังกฤษ: Winning Stratagems)
2.กลยุทธ์เผชิญศึก (อังกฤษ: Enemy Dealing Stratagems)
3.กลยุทธ์เข้าตี (อังกฤษ: Attacking Stratagems)
4.กลยุทธ์ติดพัน (อังกฤษ: Chaos Stratagems)
5.กลยุทธ์ร่วมรบ (อังกฤษ: Proximate Stratagems)
6.กลยุทธ์ยามพ่าย (อังกฤษ: Defeat Stratagems)


ขอขอบคุณ วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี


สิริสวัสดิ์ศุกรวาร สิริมานภิรมยาค่ะ
Create Date :12 พฤศจิกายน 2553 Last Update :12 พฤศจิกายน 2553 14:43:13 น. Counter : Pageviews. Comments :0