bloggang.com mainmenu search







กบฏนักมวยในเมืองเทียนจิน





ภาพพิมพ์แกะไม้ญี่ปุ่นสมัยเมจิ แสดงเครื่องแบบทหารนานาชาติ
ที่เข้าร่วมปราบกบฏนักมวยพร้อมธงประจำทัพเรือของตน
ในปี 1900 (จากซ้ายไปขวา - แถวบน) อิตาลี, ออสเตรีย-ฮังการี, เยอรมนี, รัสเซีย (แถวล่าง) สหรัฐอเมริกา, ฝรั่งเศส,
ญี่ปุ่น, สหราชอาณาจักร





กบฏนักมวย (Boxer Rebellion, จีนตัวเต็ม: 義和團起義; จีนตัวย่อ: 义和团起义; พินอิน: Yìhétuán Yùndòng, อี้เหอถวน ย้วนต้ง) หรือ ศึกพันธมิตรแปดชาติ เป็นการก่อความไม่สงบเพื่อต่อต้านจักรวรรดินิยมและคริสต์ศาสนานำโดย "สมาคมอี้เหอถวน" (จีนตัวเต็ม: 義和團; จีนตัวย่อ: 义和团; พินอิน: Yìhétuán)

ในสมัยศตวรรษที่ 19 ชาวต่างชาติได้เข้ามาค้าขายในประเทศจีน นานเข้าชาวต่างชาติก็เริ่มเข้ามามีอิทธิพลในจีน และได้ส่งกำลังทหาร อาวุธที่ทันสมัย และมิชชันนารีเข้าไปเผยแพร่ศาสนาคริสต์

จากเหตุการณ์ดังกล่าว ทำให้เกิดการรวมกลุ่มของชาวจีนผู้รักชาติเรียกว่ากบฏนักมวยขึ้น พวกนักมวยจะฝึกกังฟูซึ่งพวกเขาเชื่อว่าจะสามารถต่อกรกับผู้รุกรานจาก ยุโรป อเมริกาและญี่ปุ่นได้

กบฏนักมวยได้ทำการลอบสังหารมิชชันนารีชาวตะวันตก ประณามชาวต่างชาติ และเผาโบสถ์ ฯลฯ กบฏนักมวยได้รับการสนับสนุนจากซูสีไทเฮามาก ทั้งด้านการส่งทัพหลวงมาช่วยและเสริมอาวุธยุทธโธปกรณ์ต่างๆ ซึ่งหลังจากปราบกบฏนักมวยได้ไม่นาน ก็เกิดการโค่นล้มราชวงศ์ชิงขึ้น


จุดเริ่มต้นของสงคราม

กบฏนักมวยได้เกิดขึ้นในเมืองชานตงในปี 1898 และเริ่มตอบโต้ชาวเยอรมันในชิงต่าว และจับกุมชาวอังกฤษในเหวยไห่ แต่ก็พ่ายแพ้กับกองกำลังนานาชาติ ความอ่อนแอของจีนได้แสดงให้เห็นหลังจากแพ้สงครามจีน-ญี่ปุ่นในปี 1895

และความวุ่นวายก็เกิดขึ้นที่หมู่บ้านเล็กๆ แห่งหนึ่ง ในเมืองชานตงเนื่องจากปัญหาที่ดินของวัดพุทธ และโบสถ์คริสต์โรมันคาทอลิก มิชชันนารีจึงร้องเรียนว่าที่ดินผืนนี้เป็นของตนมาแต่เดิมแล้ว การที่มีการสร้างโบสถ์ในที่ดินผืนนี้ ทำให้ชาวบ้านไม่พอใจอย่างมากจึงทำลายโบสถ์ จึงก่อกบฏนักมวยขึ้น


การเกิดจลาจลในจีน

เริ่มจากกรณีเรื่องที่ดินของวัดในการสร้างโบสถ์โรมันคาทอลิก เนื่องจากฝ่ายมิชชั่นนารีอ้างว่าที่ดินเป็นของตน ตั้งแต่สมัยจักรพรรดิคังซีแล้วแต่ได้ถูกทิ้งร้างไปนาน ชาวบ้านในท้องถิ่นรู้สึกว่าข้อเรียกร้องไม่เป็นธรรมกับตน

เพราะเดิมเป็นวัดประจำหมู่บ้าน แต่ต้องมาสร้างโบสถ์ในวัดแทนที่ จึงเกิดจลาจลโดยชาวบ้านได้จับมิชชั่นนารี เป็นตัวประกันและทำลายโบสถ์นั้นเสีย

เนื่องจากจีนแพ้สงครามจีน-ญี่ปุ่น จักรพรรดิกวางสู จึงทรงทำการปฏิรูปร้อยวัน ทำให้พระนางซูสีไทเฮาทรงเข้ายึดพระราชอำนาจแล้วนำจักรพรรดิกวางสูขังไว้ และร่วมมือกับกบฏนักมวย ซึ่งมีความคิดอนุรักษ์นิยมเช่นเดียวกับพระนาง

จนประมาณเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 1900 กบฏนักมวยได้ต่อสู้กับกองกำลังนานาชาติในเมืองเทียนจินและกรุงปักกิ่ง ทางสถานทูตสหราชอาณาจักร, ฝรั่งเศส, เบลเยี่ยม, เนเธอร์แลนด์, สหรัฐอเมริกา, รัสเซีย และญี่ปุ่น ที่อยู่ในสถานทูตในกรุงปักกิ่ง ได้นำกำลังมาปิดล้อมพระราชวังต้องห้าม

การกระทำเช่นนี้ ทำให้กบฏนักมวยสังหารบาทหลวงชาวเยอรมันชื่อ Klemens Freiherr von Ketteler ในวันที่ 20 มีนาคม ปี 1900 พระนางซูสีไทเฮา ประกาศสงครามกับชาวต่างชาติ ในวันที่ 21 มีนาคม ปี 1900 เพื่อเป็นการต่อต้านอำนาจของชาวต่างชาติ

แต่พวกข้าหลวงตามหัวเมือง กลับปฏิเสธสงครามและพวกปัญญาชนในเมืองเซี่ยงไฮ้ ก็ยังได้ให้ความช่วยเหลือข้าหลวงในภาคตะวันออกเฉียงใต้ของจีน ที่ต่อต้านการประกาศสงครามด้วย

ส่วนกองกำลังนานาชาติ ได้ทำการป้องกันบริเวณสถานทูตของตนจากการโอบล้อมจากกบฏนักมวย ภายใต้คำสั่งของบาทหลวงชาวอังกฤษ เรื่องราวเกิดขึ้นเมื่อกบฏนักมวยบุกเข้าไปในกรุงปักกิ่งได้สังหารชาวจีนที่เป็นคริสเตียนกว่าหนึ่งหมื่นคน

และจับกุมชาวต่างช่าติไปเป็นเชลยจำนวนมาก เรื่องการจลาจล ได้ลงในหนังสือพิมพ์ทั้งในจีน ญี่ปุ่น ยุโรปและอเมริกาจำนวนมาก แต่เชลยทั้งหมดก็ถูกปลดปล่อยโดยกองกำลังนานาชาติในที่สุด


กองกำลังนานาชาติ

กองกำลังนานาชาติก่อตั้งขึ้นเมื่อทัพเรือ 8 ประเทศรวมตัวกันในชายฝั่งทะเลทางตอนเหนือของจีน ในปลายเดือนเมษายน ค.ศ. 1900 จนในวันที่ 31 พฤษภาคม ค.ศ. 1900 ได้เรียกร้องสิทธิชาวต่างชาติที่สถานทูตในกรุงปักกิ่งและได้ส่งทหารเรือ 435 นายจาก 5 ประเทศที่ฐานทัพที่ต้ากูไปกรุงปักกิ่ง


การบุกเมืองปักกิ่งครั้งแรก

ในสถานการณ์ที่เลวร้าย กองกำลังนานาชาติที่อยู่บนเรือประมาณ 2,000 คน ภายใต้คำสั่งของนายพลเอ็ดเวิร์ด เซมอร์ ได้ส่งกำลังไปกรุงปักกิ่ง โดยการเดินทางจากท่าเรือต้ากูไปเมืองเทียนจินนั้น ได้รับความร่วมมืออย่างดีจากข้าหลวงเมืองเทียนจินเป็นอย่างดี

แต่การเดินทางจากเทียนจินไปกรุงปักกิ่งนั้น มีการตรวจตราชาวต่างชาติอย่างเข้มงวด อย่างไรก็ตามนายพลเซมอร์ก็ยังเดินหน้าต่อไป และสามารถนำทหารเดินเท้าไปกรุงปักกิ่งสำเร็จจนได้

อย่างไรก็ดี กองทัพของเขาถูกฝ่ายนักมวยล้อม และทางรถไฟหลายสายถูกทำลาย ในที่สุดนายพลเซมอร์จึงตัดสินใจถอยทัพกลับเมืองเทียนจิน ในวันที่ 26 มิถุนายน ค.ศ. 1900


การบุกเมืองปักกิ่งครั้งที่สอง

หลังจากนายพลเซมอร์ถอยทัพกลับเมืองเทียนจินแล้ว ทางกองกำลังนานาชาติจึงระดมกำลังทหารขึ้นมาใหม่ และในวันที่ 17 กรกฎาคม ปี 1900 กองกำลังนานาชาติ ได้สร้างป้อมปราการขึ้นใกล้เมืองเทียนจิน และท่าเรือต้ากูขึ้น

กองกำลังนานาชาติภายใต้คำสั่งของนายพลอัลเฟรด แกสลี ประมาณ 45,000 คน ประกอบด้วยกำลังจากญี่ปุ่น 20,840 คน รัสเซีย 13,150 คน สหราชอาณาจักร 12,020 คน ฝรั่งเศส 3,520 คน สหรัฐอเมริกา 3,420 คน เยอรมนี 900 คน อิตาลี 80 คน และออสเตรีย-ฮังการี 75 คน ได้ยึดเมืองเทียนจินในวันที่ 14 กรกฎาคม ค.ศ. 1900


ขอขอบคุณ วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี


วุธวารศุภสวัสดิ์ มโนชัดมนัสเฉิดเลิศฉายฉานนะคะ
Create Date :27 ตุลาคม 2553 Last Update :27 ตุลาคม 2553 10:12:10 น. Counter : Pageviews. Comments :0