bloggang.com mainmenu search



7 พิชัยสงครามคลาสสิก (จีน: 武經七書) ของจีน คือตำราพิชัยสงครามสำคัญ 7 ฉบับของชาวจีนโบราณ ตำราเจ็ดพิชัยสงครามนี้ถูกประกาศใช้ครั้งแรกในคริสต์ศตวรรษที่ 11 และได้รวมเข้าไว้ในสารานุกรมการทหารในสมัยราชวงศ์ซ่ง

สำหรับขุนนางฝ่ายกลาโหมของจีนโบราณ การเรียนรู้ถึงพิชัยสงครามทั้งเจ็ดบางส่วนหนือทั้งหมดนั้น จำเป็นต่อการสอบเลื่อนขั้น เช่นเดียวกับการที่ขุนนางฝ่ายพลเรือนทั้งหมดจะต้องเรียนรู้ในวิถีแห่งเต๋า

พิชัยสงครามทั้งเจ็ดนี้ได้ถูกนำมาเรียบเรียง วิเคราะห์และวิจารณ์ใหม่หลายครั้ง โดยนักวิชาการหลายท่านตลอดช่วงหลายศตวรรษที่ผ่านมา ทั้งในโลกตะวันตกและตะวันออก

อย่างไรก็ตามจักรพรรดิคังซีกลับทรงมองว่าพิชัยสงครามทั้งเจ็ดนี้เป็นเรื่อง "ไร้สาระ" บรรดาสมาชิกพรรคคอมมิวนิสต์จีนในช่วงสงครามกลางเมืองของจีนต่างก็ศึกษาในพิชัยสงครามทั้งเจ็ด เช่นเดียวกับที่นักพิชัยสงครามยุโรปและอเมริกาที่ต่างก็ศึกษาในพิชัยสงครามนี้เช่นกัน


รายชื่อ

ตามรายชื่อพิชัยสงครามที่ระบุในหนังสือของ Ralph D. Sawyer และ Mei-chün Sawyer, ผู้เขียนตำราแปลรุ่นล่าสุดของเจ็ดพิชัยสงคราม 7 พิชัยสงครามนั้นมีดังนี้

ตำราพิชัยสงครามของซุนวู (孫子兵法 ซุนจื่อปิงฝ่า) โดยซุนวู (孫武)
อู๋จื่อ (吳子) โดยอู๋ ฉี (吳起)

วิธีซือหม่าหรือวิธีสุมา (司馬法 ซือหมาฝ่า) โดยซือหม่า หรางจู (司馬穰苴)

หกความลับหรือหลิวเทา (六韜 ลิ่วเทา) โดยเจียง จื่อหยา (姜子牙)

เว่ยเหลียวจื่อ (尉繚子) โดยเว่ยเหลียว (尉繚)

สามยุทธศาสตร์หรือซานแล่ (三略 ซานเลฺว่) โดยหวางสือกง (黃石公)

ปุจฉาวิสัชนาจักรพรรดิถังไท่จงกับหลี่เว่ยกง (唐太宗李衛公問對 ถังไท่จงหลี่เว่ยกงเวิ่นเตฺว้ย)

7 พิชัยสงครามคลาสสิกของจีนนี้ ไม่มีหนังสือแปลเป็นภาษาอังกฤษรุ่นอื่นนอกเหนือไปจากหนังสือของ Ralph D. Sawyer และ Mei-chün Sawyer

แต่ในพิชัยสงครามแต่ละฉบับใน 7 พิชัยสงครามนี้ ได้รับการแปลหลายต่อหลายครั้งแล้ว โดยเฉพาะตำราพิชัยสงครามของซุนวู


ขอขอบคุณ วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี


สิริสวัสดิ์จันทรวาร ปรีดิ์มานกมลเขษมค่ะ
Create Date :04 มกราคม 2553 Last Update :8 พฤศจิกายน 2553 10:24:52 น. Counter : Pageviews. Comments :0