bloggang.com mainmenu search



จดหมายเหตุสามก๊ก (Records of the Three Kingdoms; จีนตัวเต็ม: 三國志; จีนตัวย่อ: 三國志; พินอิน: Sānguó Zhì) เป็นวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์ บทประพันธ์โดยเฉินโซ่ว ชาวเสฉวนที่มีตัวตนและมีชีวิตจริงอยู่ในยุคสามก๊ก

โดยเนื้อหาตามบทประพันธ์เกิดจากจินตนาการ ซึ่งแท้จริงแล้วฉากสำคัญหลายฉากในจดหมายเหตุสามก๊กเช่น ในปี พ.ศ. 776 ซึ่งเป็นปีเกิดของเฉินโซ่ว ภายหลังพระเจ้าเหี้ยนเต้สละบัลลังก์แล้ว

ตระกูลของเฉินโซ่วรับราชการเป็นบริวารแก่จ๊กก๊กของพระเจ้าเล่าปี่ ซึ่งรวมทั้งเฉินโซ่วด้วย ซึ่งบันทึกทางประวัติศาสตร์ รวมทั้งเรื่องราวการต่อสู้อย่างละเอียดถี่ถ้วน เป็นการบันทึกโดยบิดาของเฉินโซ่ว

ในปี พ.ศ. 806 แคว้นจ๊กก๊กที่เฉินโซ่วอาศัยอยู่ ได้ประกาศยอมแพ้ต่อแคว้นวุย เฉินโซ่วและครอบครัวรวมทั้งชาวจ๊กก๊กคนอื่น ๆ ถูกนำตัวไปยังวุยก๊ก

ขณะนั้นสุมาเจียว ซึ่งเป็นผู้ครองแคว้นวุยสิ้นพระชนม์ สุมาเอี๋ยนจึงเป็นผู้สืบทอดแคว้นต่อไป และสถาปนาราชวงศ์จิ้นขึ้นแทนราชวงศ์วุย และแย่งชิงราชบัลลังก์จากพระเจ้าโจฮวนในปี พ.ศ. 808 ก่อนจะสถาปนาตนเองเป็นพระเจ้าจิ้นหวู่ตี้แห่งราชวงศ์ใหม่ ราชวงศ์จิ้นตะวันตก

15 ปีสืบต่อมา พระเจ้าจิ้นหวู่ตี้ก็สามารถรวบรวมอาณาจักรสามก๊กให้รวมเป็นหนึ่งเดียวได้

พระเจ้าจิ้นหวู่ตี้ทรงโปรดให้เฉินโซ่วรวบรวมเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ในช่วงศึกสามก๊กอย่างละเอียด เริ่มตั้งแต่ในช่วงพระเจ้าเลนเต้ ขึ้นครองราชย์ใน พ.ศ. 711 จนถึงการรวบรวมแผ่นดินเป็นหนึ่งเดียวใน พ.ศ. 823อย่างละเอียด

เพื่อเอากลศึกสงครามต่าง ๆ ที่เกิดในยุคนี้ให้เป็นตำราสงครามให้แก่คนรุ่นหลัง สามก๊กฉบับแรกนี้มีชื่อว่า "ซานกว๋อจื้อ" แต่ซานกว๋อจื้อก็ไม่ได้รับความนิยม ซานกว๋อจื้อจึงกลายเป็นต้นแบบในการประพันธ์วรรณกรรมสามก๊กในยุคหลัง ที่สำคัญได้แก่ ซานกว๋อเหยียนยี่ของหลอกว้านจง


ประวัติการบันทึกจดหมายเหตุ

ผู้เขียนบันทึกทางประวัติศาสตร์เหตุการณ์ต่าง ๆ ในยุคสามก๊กฉบับแรกคือตันซิ่วหรือเฉินโซ่ว เกิดในปีที่ 11 ศักราชเกี้ยนเฮ็งหรือในปี พ.ศ. 776 ก่อนจะเข้ารับราชการในตำแหน่งหัวหน้าหอหลวง ประจำสำนักของราชวงศ์จิ้น

ในวัยเด็กตันซิ่วได้รับการศึกษาจากเจียงจิวผู้เป็นอาจารย์ เนื่องจากตันซิ่วเป็นคนฉลาด จึงเป็นที่ไม่พอใจของขันทีฮุยโฮ คนสนิทของพระเจ้าเล่าเสี้ยน ต่อมาในปี พ.ศ. 806 เตงงายแม่ทัพแห่งวุยก๊กได้ยกทัพเข้าโจมตีจ๊กก๊ก เป็นเหตุให้พระเจ้าเล่าเสี้ยนต้องยอมสวามิภักดิ์และถูกควบคุมตัวไปยังวุยก๊ก


จุดเริ่มต้นสามก๊ก

ตันซิ่วถูกต้อนจากเสฉวนไปยังวุยก๊ก และถูกกีดกันไม่ให้ได้รับการเสนอชื่อให้เข้ารับราชการในตำแหน่งขุนนางของวุยก๊ก จนกระทั่งในปี พ.ศ. 808 สุมาเอี๋ยนโค้นล้มราชวงศ์วุย และสถาปนาตนเองขึ้นเป็นพระเจ้าจิ้นอู่ตี้แห่งราชวงศ์จิ้น

เตียวหัวได้มีโอกาสอ่านงานเขียนของตันซิ่ว และแสดงความชื่นชมในผลงานการเขียน จึงได้เสนอให้พระเจ้าจิ้นอู่ตี้ แต่งตั้งตันซิ่วในตำแหน่งเห่าเหนียม

ต่อมาตันซิ่วได้มีโอกาสย้ายกลับมาเสฉวนอีกครั้ง และได้พบกับเจียวจิว ผู้เป็นอาจารย์ที่กำลังล้มป่วย ตันซิ่วจึงเข้าช่วยเหลือด้วยการรับมอบเอกสารของจ๊กก๊ก และสานต่อผลงานการเขียนประวัติศาสตร์ยุคสามก๊กต่อจากเจียวจิว

ต่อมาตันซิ่วได้ย้ายไปเมืองลกเอี๋ยง และได้รับมอบหมายให้รวบรวมวรรณกรรมของขงเบ้ง ซึ่งใช้ระยะเวลาในการรวบรวมถึง 5 ปีกว่าจะเสร็จสิ้น

ในระหว่างที่ตันซิ่วรวบรวมวรรณกรรมของขงเบ้งนั้น ได้ทำการรวบรวมเอกสารต่าง ๆ ที่มีความจำเป็นในการเขียนประวัติศาสตร์สมัยยุคสามก๊กเอาไว้ด้วย ซึ่งเป็นการรวบรวมที่เต็มไปด้วยความยากลำบาก

เนื่องจากตันซิ่วในขณะนั้นดำรงตำแหน่งเป็นขุนนางชั้นผู้น้อย ไม่ได้รับโอกาสให้แตะต้องจดหมายเหตุของราชสำนักวุยในหอสมุดหลวง โดยไม่ได้รับอนุญาต

ทางด้านฝ่ายจ๊กก๊กก็ไม่ได้มีการแต่งตั้งพนักงานพงศาวดารไว้ ตันซิ่วจึงมีเพียงจดหมายเหตุของฝ่ายจ๊กก๊ก ที่ได้รับมอบมาจากเจียวจิวเท่านั้น ซึ่งทางง่อก๊กก็ไม่ยอมจำนนต่อจ๊กก๊ก ทำให้ตันซิ่วใช้ระยะเวลาในการรวบรวมเอกสารทางประวัติศาสตร์มากกว่า 30 ปีจึงสำเร็จ

และเขียนจดหมายเหตุสามก๊กได้เสร็จสิ้น ซึ่งจดหมายเหตุสามก๊กนั้นมีความยาวทั้งสิ้น 65 เล่ม


การเผยแพร่ต้นฉบับ

เมื่อต้นฉบับของสามก๊กหรือจดหมายเหตุสามก๊กของตันซิ่ว เริ่มเป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลาย กลับส่งผลกระทบต่อตันซิ่วอย่างมากกมาย เนื่องจากทายาทของเหล่าขุนนางทางวุยก๊ก ที่มีตำแหน่งสูงในราชสำนัก

ต่างก็มีความต้องการให้ตันซิ่วเขียนจดหมายเหตุสามก๊ก ในทำนองยกย่องและเชิดชูเหล่าบรรพบุรุษของวุยก๊ก แต่ตันซิ่วไม่ยินยอมปฏิบัติตามคำสั่ง ซึ่งเป็นการสร้างความขุ่นเคืองใจ ให้แก่เหล่าขุนนางวุยก๊กเป็นอย่างมาก

แต่ถึงอย่างไรก็ตาม จดหมายเหตุสามก๊กของตันซิ่ว ก็ได้รับการช่วยเหลือจากขุนนางผู้ใหญ่ของวุยก๊กจำนวนสองคน คือเตียวหัวและเต้าอี้

เตียวหัวและเต้าอี้ได้กราบบังคมทูลให้พระเจ้าจิ้นอู่ตี้ พิจารณาจดหมายเหตุสามก๊ก แต่กลับถูกคัดค้านอย่างหนักจากเหล่าขุนนางในราชสำนัก ที่ไม่เห็นด้วยกับจดหมายเหตุสามก๊กของตันซิ่ว

ทำให้การพิจารณาเรื่องต้องถูกระงับไป ตันซิ่วเห็นว่าจดหมายเหตุสามก๊กที่เขียนขึ้นนั้น ทำให้สถานการณ์ไม่เอื้ออำนวยต่อตนเอง ประกอบกับต้นฉบับร่างสามก๊กนั้นยังไม่เสร็จสมบูรณ์ เนื่องจากขาดข้อมูลจากฝ่ายง่อก๊กอีกเป็นจำนวนมาก จึงหลีกเลี่ยงในการนำขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายต่อพระเจ้าจิ้นอู่ตี้

ภายหลังในปี พ.ศ. 823 ซุนโฮแห่งง่อก๊กยอมจำนนต่อความพ่ายแพ้ ตันซิ่วจึงได้ทำการปรับเปลี่ยนแก้ไขต้นฉบับร่าง ของจดหมายเหตุสามก๊กอีกครั้ง และในปี พ.ศ. 841 ตันซิ่วก็เสียชีวิต รวมอายุได้ 65 ปี

ซึ่งภายหลังจากที่ตันซิ่วเสียชีวิต จดหมายเหตุสามก๊กที่เขียนและเรียบเรียงโดยตันซิ่ว กลับได้รับการกล่าวขวัญถึงเป็นอย่างมาก ทำให้ขุนนางหลายคนได้ถวายหนังสือกราบทูลพระเจ้าจิ้นฮุ่ยตี้

ให้นำคนไปคัดลอกต้นฉบับจดหมายเหตุสามก๊ก ที่บ้านของตันซิ่ว หนังสือสามก๊กหรือจดหมายเหตุสามก๊ก จึงเป็นที่รับรองของทางราชการ และได้เข้าไปอยู่ในหอสมุดหลวงตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา


ขอขอบคุณ วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี


สิริสวัสดิ์วุธวาร มานอวลบุษปคันธาลดามาศนะคะ
Create Date :27 ตุลาคม 2553 Last Update :27 ตุลาคม 2553 11:10:48 น. Counter : Pageviews. Comments :0