Al Otro Lado พ่อ (ไม่) กลับบ้าน



Al Otro Lado
พ่อ (ไม่) กลับบ้าน

พล พะยาบ
คอลัมน์อาทิตย์เธียเตอร์ มติชนรายวัน 17 มิถุนายน 2550


* Al Otro Lado เป็นหนังที่มีโครงสร้างและส่วนประกอบคล้ายคลึงกับ Babel (2006) หนังดังเครดิตดีของ อเลฮานโดร กอนซาเลซ อินาร์ริตูร์ ด้วยต่างมีผู้กำกับเป็นชาวเม็กซิกัน เล่า 3 เรื่องราวใน 4 ประเทศ ตัดสลับไปมา โดย 2 ใน 4 ประเทศ อันเป็นฉากหลังของหนังทั้ง 2 เรื่อง คือ เม็กซิโก และโมร็อคโค

อันที่จริง จะว่า Al Otro Lado คล้าย Babel คงไม่ถูกนัก เพราะ Al Otro Lado ออกฉายก่อน Babel ถึง 2 ปี ถึงจะไม่เด่นดังเท่า แต่หนังเรื่องนี้ก็เป็นตัวแทนเม็กซิโกเข้าชิงออสการ์หนังภาษาต่างประเทศ ปี 2005

พูดถึงออสการ์แล้วบางคนอาจคุ้นเคยคำว่า Al Otro Lado ที่เป็นชื่อหนัง จากเพลง Al Otro Lado Del Rio เพลงประกอบหนังชีวประวัติ “เช เกวารา” เรื่อง The Motorcycle Diaries ของ วอลเตอร์ ซาลเลส ผู้กำกับฯชาวบราซิล ที่คว้าออสการ์เพลงยอดเยี่ยมในปี 2005 คำว่า Al Otro Lado หมายถึง “อีกฝั่งหนึ่ง” ซึ่งเนื้อเพลงจากหนัง The Motorcycle Diaries กล่าวถึงอีกฟากฝั่งของแม่น้ำอันมีนัยสำคัญที่เชมุ่งจะไปให้ถึง ขณะที่หนัง Al Otro Lado ได้กล่าวถึงอีกฟากฝั่งของผืนน้ำอันมีนัยสำคัญเช่นเดียวกัน

นอกจากนี้ Al Otro Lado กับ The Motorcycle Diaries ยังมีส่วนเชื่อมโยงถึงกันได้ตรงที่หนังเรื่องหลังเกี่ยวกับเช เกวารา วีรบุรุษของชาวอเมริกาใต้ ขณะที่หนึ่งในฉากหลังของ Al Otro Lado คือประเทศคิวบา ดินแดนที่มีเงาร่างของเชประทับอยู่อย่างยิ่งใหญ่ โดยมีรูปภาพของเชปรากฏอยู่ในฉากหนึ่ง อีกทั้งผู้ที่แสดงเป็นเชวัยหนุ่มใน The Motorcycle Diaries คือ เกล การ์เซีย เบอร์นัล นักแสดงดาวรุ่งชาวเม็กซิกัน สัญชาติเดียวกับผู้กำกับฯเรื่อง Al Otro Lado

ที่ยกข้อมูลปลีกย่อยมากล่าวถึงทั้งที่ไม่ได้เกี่ยวกับเนื้อหาของหนังโดยตรงเพื่อชี้ให้เห็นว่า หนังจากกลุ่มผู้สร้างชาวละตินมักจะมีแง่มุมที่เชื่อมโยงเกี่ยวพันกันเช่นนี้ ไม่ว่าจะโดยคติความเชื่อ ประวัติศาสตร์หรือพื้นฐานรากเหง้า รวมทั้งกระบวนการผลิตที่มีการหมุนเวียนบุคลากรและร่วมมือกันในหลายระดับจนเห็นได้ชัดเจน ต่างจากหนังของผู้สร้างในภูมิภาคอื่น และนอกเหนือเหตุผลของการจับขั้ว-ร่วมทุนของบริษัทหนังจากหลายประเทศซึ่งนิยมทำกันในปัจจุบันทั้งในยุโรปและเอเชีย

Al Otro Lado เล่า 3 เรื่องราวเกี่ยวกับเด็กที่ปรารถนาให้พ่อหวนคืนกลับมา เรื่องแรกเกิดขึ้นในชนบทของเม็กซิโก พริสซิเลียโน หนูน้อยวัยกำลังซน เห็นพ่อจากไปในค่ำคืนหนึ่ง แม่บอกว่าพ่อเดินทางไปอีกฝั่งหนึ่ง อีกไม่นานคงกลับมา โดยไม่บอกความจริงว่าพ่อไปทำงานในสหรัฐอเมริกา

* พริสซิเลียโนอยากให้พ่อกลับมาเร็วๆ ตามที่สัญญาไว้ว่าจะพาเขาไปเที่ยวสวนสนุกในวันเกิด เขาจึงพยายามหาทางไปตามพ่อ ทั้งที่ไม่รู้ว่า “อีกฝั่งหนึ่ง” นั้นคือที่ใด

เรื่องที่สองเกิดในคิวบา อังเคล เด็กชายแห่งเมืองฮาวาน่า ใฝ่ฝันถึงการเดินทางไปหาพ่อที่เขาไม่เคยพบหน้าในสหรัฐ เขารู้จากคำบอกของแม่แค่ว่าพ่อเป็นคนมีชื่อเสียง และมีรูปถ่ายของพ่อที่แม่ให้ไว้พกติดตัว(เป็นรูปของ โรเบิร์ต เดอ นีโร)

หลังจากทะเลาะกับแม่ที่ชอบออกไปเที่ยวกับผู้ชายไม่ซ้ำหน้า อังเคลตัดสินใจชวนเพื่อนสนิทเดินทางข้ามทะเลไปตามพ่อ โดยใช้เพียงยางรถยนต์เป็นพาหนะ

เรื่องสุดท้ายใช้ฉากโมร็อคโค ฟาติมา เด็กหญิงตัวน้อยอาศัยอยู่กับแม่ในเมืองเล็กๆ เธอเฝ้าเพียรถามแม่ว่าเมื่อใดพ่อที่จากไปทำงานยังเมืองมาลาก้า ประเทศสเปน เมื่อ 7 ปีก่อน จะกลับคืนบ้านสักที

เช้าวันหนึ่ง ฟาติมาออกเดินทางตามลำพังโดยมีจุดหมายอยู่ที่มาลาก้า และมีเพียงรูปถ่ายของพ่อเป็นแผนที่นำทาง แต่เด็กหญิงตัวคนเดียวจะเดินทางไปต่างบ้านต่างเมืองได้อย่างไร โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อมีคนที่คอยคิดหาประโยชน์จากความบริสุทธิ์ไร้เดียงสาของเธอ

ทั้ง 3 เรื่องราวถูกเล่าพร้อมกันโดยตัดแบ่งแบบเรียงลำดับ 1-2-3 เรื่องหนึ่งเล่าถึงจุดหนึ่งแล้วตัดไปยังอีกเรื่องหนึ่ง โดยทั้ง 3 เหตุการณ์แยกต่างหากจากกันชัดเจน แต่ละเรื่องราวไม่ซับซ้อน เล่าเรื่องเป็นเส้นตรงด้วยตัวละครไม่กี่ตัวเหมือนหนังสั้น 3 เรื่อง จึงไม่เป็นปัญหาต่อการติดตามชมเช่น Babel ซึ่งต้องใช้เวลาจับต้นชนปลายพอสมควร

เห็นได้ว่าจุดร่วมของเรื่องราวคือตัวละครเด็กที่ปรารถนาจะได้พบพ่อ ต้องการเดินทางไปยังดินแดนที่อยู่อีกฟากฝั่งหนึ่งของผืนน้ำเพื่อตามพ่อกลับมา เรื่องแรกในเม็กซิโกกับเรื่องที่สามในโมร็อคโคจะคล้ายคลึงกันตรงที่พ่อผู้เป็นหัวหน้าครอบครัวเดินทางไปทำงานในดินแดนที่เจริญกว่าอย่างสหรัฐอเมริกาและสเปน ขณะที่เรื่องที่สอง แม้ตัวละครเด็กจะขาดพ่อด้วยเหตุที่ต่างจากอีก 2 เรื่องราว แต่ดินแดนที่เขาเข้าใจว่าพ่ออาศัยอยู่ก็คือสหรัฐอเมริกาเช่นกัน

สิ่งที่หนังสะท้อนออกมาจึงมีทั้งประเด็นที่กว้างใหญ่อย่างประเด็นทางสังคม กับประเด็นที่เล็กกว่าแต่สำคัญไม่แพ้กันอย่างครอบครัว การเคลื่อนไหลของผู้คนจากชาติยากจนสู่ประเทศที่ร่ำรวยกว่าเช่นที่เห็นในหนัง นำมาสู่ปัญหาแรงงานต่างด้าว การลักลอบเข้าเมืองโดยผิดกฎหมาย หรือหากขยายวงให้กว้างและลึกขึ้น นี่คือที่มาของปัญหาแรงงานซึ่งก่อให้เกิดความขัดแย้งด้านเชื้อชาติ จนกลายเป็นปัญหาที่ถกกันในระดับประเทศอยู่เสมอ

แม้ในด้านหนึ่ง ดินแดนอย่างสหรัฐอเมริกากับสเปนอาจจะเป็นดินแดนแห่งโอกาส เป็นบ่อเงินบ่อทองสำหรับคนทุกข์ยากจากต่างแดน แต่ขณะเดียวกัน ดินแดนเช่นนี้ก็มีอิทธิพลรุนแรงต่อชาติเล็กๆ ที่อยู่ใกล้เคียง โดยดูดกลืนผู้คนจำนวนมาก พลัดพรากครอบครัว และทุบทำลายคุณค่าความดีงามที่เคยมีอยู่ก่อนเก่า

การคุกคามของชาติตะวันตกถูกสื่อในเรื่องราวแรกด้วยตำนานเม็กซิกันพื้นเมืองที่พ่อเล่าให้พริสซิเลียโนฟัง เกี่ยวกับเจ้าหญิงผู้งดงามถูกทหารสเปนจับตัวไป นางร้องไห้จนรอบตัวกลายเป็นทะเลสาบ ก่อนจะทิ้งตัวลงไปในน้ำเพื่อจบชีวิตตนเอง ซึ่งทหารสเปนใจร้ายจากตำนานนี้สามารถเชื่อมโยงไปยังเรื่องที่สามที่ฟาติมาถูกจับไปขายในสเปน

* ด้วยผู้สร้างอย่าง กุสตาโว โลซา ซึ่งทั้งกำกับฯและเขียนบทเป็นชาวเม็กซิกัน รายละเอียดในบทภาพยนตร์จากเรื่องราวแรกที่ใช้ฉากหลังเป็นเม็กซิโกจึงมีมากกว่าอีก 2 เรื่องอย่างเห็นได้ชัด นอกจากตำนานพื้นเมืองแล้ว ฉากที่พริสซิเลียโนเข้าไปในร้านเหล้าเพื่อถามปู่ว่าจะเดินทางไปอีกฝั่งหนึ่งได้อย่างไร ปู่ได้สาธยายถึงวิธีการเดินทางอันหลากหลาย ทั้งแอบขึ้นรถบรรทุกสินค้า เดินข้ามทะเลทราย ว่ายน้ำ

คำบอกเล่าของปู่คือเรื่องจริงเหนือพรมแดนเม็กซิโก-สหรัฐมาช้านาน เป็นที่รู้กันว่าตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่ 2 ชาวเม็กซิกันจำนวนมากอพยพข้ามพรมแดนอย่างผิดกฎหมายเพื่อไปเป็นกรรมกรในสหรัฐ คนเหล่านี้ถูกเรียกว่าพวก “หลังเปียก” (wet backs) เพราะใช้วิธีลอบข้ามแม่น้ำริโอ แกรนด์ (ฝั่งเม็กซิโกเรียกว่าแม่น้ำริโอ บราโว)

และคงไม่บังเอิญที่หนังให้ปู่ผู้เป็นคนจัดการพาพ่อเดินทางข้ามพรมแดน สวมเสื้อแจ็คเก็ตที่มีโลโก้ทีมอเมริกันฟุตบอลนิวอิงแลนด์ แพทริออตส์ ซึ่งนิวอิงแลนด์คือหนึ่งในดินแดนตั้งต้นในการสร้างชาติสหรัฐ

สำหรับเรื่องที่สองซึ่งแตกต่างออกไปนั้น เนื้อหาที่เกี่ยวกับเด็กผู้เกิดมาโดยไม่รู้ว่าพ่อเป็นใคร เขาพยายามข้ามทะเลไปสหรัฐ ก่อนที่แม่จะปลอบประโลมว่า ตา แม่ และลูก คือครอบครัวเดียวกัน และเรามีกันอยู่แค่นี้ เหมาะสมเหลือเกินที่ใช้ฉากหลังเป็นคิวบา ประเทศที่ตั้งตนเป็นปฏิปักษ์กับสหรัฐมาตลอดหลายทศวรรษ

ฉากที่เพื่อนของอังเคลบอกว่าถ้าไปถึงสหรัฐจะเห็นเทพีเสรีภาพโดดเด่นเป็นสง่า ไม่กี่วินาทีจากนั้นมีคลื่นใหญ่ซัดจนเด็กทั้งสองตกน้ำ กับฉากใกล้จบที่ตาและแม่ขับรถไปตามอังเคล ภาพระยะไกลเห็นรูปปั้นของฟิเดล คาสโตร ผู้นำคิวบา ตั้งตระหง่านอยู่ริมทาง จึงมีความหมายเปรียบเทียบกันโดยตรงว่าการเดินทางไปยังฝั่งที่ว่ากันว่าเป็นดินแดนแห่งเสรีภาพนั้นเต็มไปด้วยความเสี่ยง ต่างจากฝั่งที่เป็นบ้านเกิดเมืองนอน

แม้ที่กล่าวมาทั้งหมดจะเป็นประเด็นทางสังคมซึ่งค่อนข้างกว้าง แต่จุดที่หนังทำได้ดีไม่แพ้กันคือ ภาพความสัมพันธ์ภายในครอบครัว ความอาวรณ์โหยหาของเด็กๆ ที่ต้องการพ่อ ซึ่งเด็กทั้ง 3 คน จาก 3 เรื่องราวต่างทำหน้าที่ได้สุดวิเศษ ส่วนที่โดดเด่นอีกอย่างหนึงคือ ความงดงามของงานด้านภาพซึ่งจับบุคลิกของแต่ละเมืองแต่ละสถานที่ได้อย่างแม่นยำ

และแม้ว่าหนังจะสื่อสารในประเด็นที่ค่อนข้างเคร่งเครียด แต่โทนหนังกลับเต็มไปด้วยความอบอุ่น อ่อนโยน ทั้งยังให้ความหวังอย่างเต็มที่




 

Create Date : 08 ธันวาคม 2550
13 comments
Last Update : 9 ธันวาคม 2550 2:39:35 น.
Counter : 1498 Pageviews.

 

อยากดูเรื่องนี้!!!!



ฌอน เพนน์ กำกับฯ-เขียนบท
จากหนังสือของ จอน คราเคาเออร์ (Jon Krakauer) ผู้เขียน Into Thin Air (1997-ไต่ฟ้ากระชากฝัน)

 

โดย: แค่เพียงรู้สึกสุขใจ 9 ธันวาคม 2550 2:41:12 น.  

 

ไปดูรักแห่งสยามมาแล้วค่ะ
หนังจบเที่ยงคืน
ไข้ขึ้นพอดี
กลับบ้านนอนซมเลย...


กลายเป็นหนัง รัก(ไข้)แห่งสยาม ไปเสียงั้น
เหอๆๆ

 

โดย: ม่วน. IP: 125.25.63.148 10 ธันวาคม 2550 9:41:11 น.  

 

คงไม่มีโอกาสได้ดูเรื่องนี้ เพราะเห็นวิจารณ์ไว้หลายเดือนแล้ว แต่อ่านบทวิจารณ์ประกอบกับภาพเด็ก ๆ ก้รู้สึกว่าน่าสงสาร ชีวิตครอบครัวที่ขาดพ่อหรือแม่หรือขาดทั้งพ่อและแม่ คิดว่าเป็นชีวิตที่ไม่อบอุ่นเท่าที่ควร แต่ในชีวิตจริง
เด็ก ๆ หลายคนที่มีชีวิตแบบนี้ ก็เป็นคนที่มีคุณภาพมากมายในสังคม ถ้าเขาได้อยู่กับพ่อหรือแม่ที่เข้มแข็งหรือมีคนใจดีที่เลี้ยงดูเขาอย่างอบอุ่น

 

โดย: yawaiam IP: 125.27.62.2 10 ธันวาคม 2550 21:06:09 น.  

 

อยากดูจัง

อยากดู Into the Wild ด้วย...อยากดูหนังใหม่ Emile Hirsch

 

โดย: renton_renton 11 ธันวาคม 2550 9:03:35 น.  

 

เด็กผู้ชาย เสื้อลายสก๊อต ในรูป เคยแสดงเรื่อง หน้ากาโซโล ใช่ป่าว ?

คาเค้าสวยมาก เราชอบ

 

โดย: ดาริกามณี 11 ธันวาคม 2550 12:23:49 น.  

 


ตอบ ม่วน.
ผมก็เพิ่งหายไข้
หนังเรื่องนี้ "แรง" จริงๆ

ตอบ yawaiam
ผมดูเรื่องนี้จากดีวีดีน่ะครับ

ตอบ เรนตัน
เคยดูหนังของ Emile Hirsch เรื่องเดียว คือ The Dangerous Lives of Altar Boys
จำไม่ได้ว่าคือคนไหน

ตอบ ดาริกามณี
ใช่แล้วครับ น้องคนนี้ชื่อ Adrian Alonso

 

โดย: แค่เพียงรู้สึกสุขใจ 11 ธันวาคม 2550 12:50:30 น.  

 

แวะมาอ่านคับ

 

โดย: เก่งกว่าผมตายไปหมดแล้ว 12 ธันวาคม 2550 9:42:08 น.  

 










แค่อยากดูทั้ง Al Otro Lado และ Into the Wild

 

โดย: เจ้าชายไร้เงา 13 ธันวาคม 2550 12:10:28 น.  

 

ชอบหนังสไตล์ตัดสลับครับ
วันก่อนเพิ่งสอย Amores perros มาว่าจะดูเย็นนี้

หนังพวกนี้ไม่ทราบเจ้าของบล็อคหามาจากไหนเหรอครับ ร้านที่ฟอร์จูนหรือเว็บพี่คนนั้นครับ

ปล. อยากดู into the wild เหมือนกันครับ อ่านreview เรื่องจริงใน filmax แล้วน้ำลายหกเลย

 

โดย: jonykeano 13 ธันวาคม 2550 13:22:48 น.  

 


ตอบ เก่งกว่าผมตายไปหมดแล้ว
เชิญครับ

ตอบ เจ้าชายไร้เงา
อย่าเพิ่งเศร้า
เรื่องหลังอาจจะเข้าไทยก็ได้ (มองในแง่ดีสุดๆ)

ตอบ jonykeano
พี่คนนั้นครับ

 

โดย: แค่เพียงรู้สึกสุขใจ 14 ธันวาคม 2550 5:04:54 น.  

 

ต้องหาหนังเรื่องนี้มาดูให้ได้ครับ

ผมคิดว่าคนเม็กซิกันและแถบๆนั้นมีหลายๆอย่างที่เหมือนคนไทยมากเลยครับ ผมได้ฟัง OST. BABEL บางเพลงฟังแล้วก็นึกถึงเพลงลูกทุ่งและเพลงพื้นบ้านของเรา เคยดูคอนเสิร์ตของวงเม็กซิกันก็เหมือนบรรยากาศคอนเสิร์ตลูกทุ่งตามต่างจังหวัดของเราครับ

 

โดย: wayakon 15 ธันวาคม 2550 11:28:30 น.  

 

โหวตให้ 3 คะแนนเต็มเปี่ยมค่าสาขาเกี่ยวกับสุขภาพเอ้ย..ไม่ใช่..ต้องสาขาภาพยนตร์เท่านั้นนั้นนั้นค่ะ

 

โดย: renton_renton 15 ธันวาคม 2550 16:30:34 น.  

 


ตอบ wayakon
ผมก็ว่าต่างจังหวัดเม็กซิโก คล้ายต่างจังหวัดบ้านเรา

ตอบ เรนตัน
โห เราได้คะแนนกับเค้าด้วย อิอิ
ขอบคุณครับ

 

โดย: แค่เพียงรู้สึกสุขใจ 16 ธันวาคม 2550 7:23:31 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 


แค่เพียงรู้สึกสุขใจ
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 6 คน [?]




บทวิจารณ์ภาพยนตร์รางวัลกองทุน
ม.ล.บุญเหลือ เทพยสุวรรณ ปี 2549

..............................








พญาอินทรี




ศราทร @ wordpress
Group Blog
 
<<
ธันวาคม 2550
 1
2345678
9101112131415
16171819202122
23242526272829
3031 
 
8 ธันวาคม 2550
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add แค่เพียงรู้สึกสุขใจ's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.