Group Blog
 
<<
กุมภาพันธ์ 2561
 123
45678910
11121314151617
18192021222324
25262728 
 
22 กุมภาพันธ์ 2561
 
All Blogs
 

การเขียน content สู่การสร้างสรรค์อำนาจของวรรณกรรม




22 กุมภาพันธ์ 2561











ผมมีโอกาสไปอบรมที่สมาคมนักเขียนแห่งประเทศไทย ในหัวข้อ “การเขียน Content สู่การสร้างสรรค์อำนาจของวรรณกรรม” เมื่อวันที่ 27-28 มกราคม 2561 ที่ผ่านมา ผมจึงขอจับประเด็นสำคัญที่ได้รับจากการอบรมในครั้งนี้มาเขียนนำเสนอให้ท่านที่สนใจ เพื่อที่จะได้เป็นประโยชน์สำหรับทุกท่านด้วย

(รายละเอียดจากการอบรมในครั้งนี้ ผมจดเป็นบันทึกช่วยจำย่อ (จดเลคเชอร์) แล้วจึงนำมาเรียบเรียงใหม่ ดังนั้นถ้ามีรายละเอียดประการใดที่ผิดพลาด หรือคาดเคลื่อนไปจากความเป็นจริง ผมก็ต้องขออภัยมา ณ โอกาสนี้ด้วยครับ ขอบคุณมากครับ)

สำหรับหัวข้อในตอนนี้ชื่อว่า “การเขียน content สู่การสร้างสรรค์อำนาจของวรรณกรรม” บรรยายโดย “รศ.ดร. คุณหญิงวินิตา ดิถียนต์” (ว.วินิจฉัยกุล , แก้วเก้า) ศิลปินแห่งชาติสาขาวรรณศิลป์ ประจำปี พ.ศ.2537



-ถ้าพูดถึง content writing ก็คือการเขียนเนื้อหานั้นเอง ถ้าเป็นนิยายเนื้อเรื่องคืออย่างแรกที่ผู้เขียนจะนึกถึง คือต้องคิดว่าจะเขียนอะไรดี?

-เราต้องหา content ที่จะเขียนก่อน content อยู่รอบๆ ตัวเรา อยุ่ทุกหนทุกแห่ง ขึ้นอยู่กับความไวของนักเขียน ว่าจะจับจุดตรงไหนมาเขียนอย่างไร?

-ยกตัวอย่างเช่น เราอ่านข่าวดารา 2 คนที่รักกัน ทั้งคู่ตกลงกันแล้วว่าจะแต่งงานกัน แต่ก็ไปไม่รอด เตียงหักเสียก่อน จากข่าวนี้ content คือ 1. มองตามที่ข่าวบอกว่า คือเห็นอย่างที่นักข่าวเห็น , 2. คิดเห็นอย่างฝ่ายชาย คือในมุมมองของฝ่ายชาย , 3. มองในมุมมองของฝ่ายหญิงบ้าง ทั้ง 3 มุมมองนี้จะให้คอนเทนต์ที่แตกต่างกันออกไป

-ใครสามารถมองในมุมมองที่คนอื่นไม่เห็นหรือคนอื่นไม่รู้สึกได้ คนนั้นเป็นนักเขียน

-เพราะถ้าเห็นมุมมองเดียวกับผู้อ่านมันก็ธรรมดาเกินไป ต้องหามุมมองที่คนอ่านยังมองไม่เห็น

-สิ่งที่เห็นแตกต่างจากคนอื่นคือความคิดสร้างสรรค์

-การเขียนคือการสื่อสาร ดังนั้นงานที่เราเขียนต้องตอบโจทย์อะไรบางอย่างให้กับชีวิตของคนอ่านได้ เช่น เมื่อคนอ่านงานเขียนของเราแล้วเขาเข้าใจมุมมองของชีวิตมากขึ้น หรือเห็นว่าชีวิตก็เป็นเช่นนี้หล่ะ

-คนอยากจะเขียนมีเยอะมาก แต่คนที่รอดไปเป็นนักเขียนได้มีไม่มากนัก

-การเขียนต้องเขียนให้คนอื่นอ่านได้ด้วย ไม่ใช่แค่เขียนให้ตัวเองอ่าน การเขียนไม่ใช่แค่เขียนไดอารี่ ต้องเขียนเพื่อสื่อสารไปยังคนอ่าน ต้องเขียนในสิ่งที่เขาอยากอ่านด้วย ต้องให้คนอ่านได้อะไรบางอย่างจากงานเขียนของเราด้วย

-การเขียนไม่มีสูตรสำเร็จ เพราะรสนิยมของคนอ่านจะเปลี่ยนแปลงไปเรื่อยตามกาลเวลา และตามบริบททางสังคม


-ดังนั้นการเขียนของเราต้อง

1. ต้องรู้ให้ได้ว่าเขียนให้ใครอ่าน ต้องมีกลุ่มเป้าหมายที่ชัดเจนก่อน ต้องรู้ว่าคนอ่านคือใคร? ลูกค้าของเราคือใคร?

-ต้องรู้ให้ได้ว่า Content ของเราสนองความต้องการของคนอ่านกลุ่มไหน? คนในเมืองคนทำงานก็อ่านอย่างหนึ่ง พ่อค้าแม่ค้าก็อ่านอีกอย่างหนึ่ง อย่างเช่น การแสดงละครเวที กลุ่มเป้าหมายคือคนเมืองกลุ่มเล็กๆ ที่พอมีความรู้ มีกำลังทรัพย์ที่จะซื้อบัตรเข้าชม

2. ต้องใช้เทคโนโลยีให้เป็น ต้องรู้จักหาข้อมูลจากกูเกิ้ล ต้องใช้อีเมล์ใช้ฮอตเมล์ให้เป็น อีกทั้งควรจะมีความรู้ภาษาอังกฤษที่ดีในระดับหนึ่งด้วย จะได้อ่านเรื่องราวในอินเตอร์เน็ตได้ อย่าเปิดเน็ตเพื่อเล่นเกมอย่างเดียว

-นอกจากจะค้นหาข้อมูลทางอินเตอร์เน็ตแล้ว นักเขียนต้องรู้ให้ได้ด้วยว่าคนอ่านเขากำลังชอบอ่านแนวไหน? จะทำให้เราวางกรอบคนอ่านของเราได้

3. คลีเช่ Cliches คือสำนวนที่ใช้เบื่อๆ จนเฝือ ซ้ำซาก ต้องอย่าจำคลีเช่จากคนอื่นมาเขียน สิ่งนี้เป็นอะไรที่ยากมาก นักเขียนทุกคนต้องมีความคิดสร้างสรรค์ให้มาก

-การเขียนไม่ใช่แฟชั่น ไม่ต้องไปเขียนตามคนอื่น เราต้องเขียนในแนวที่แหวกจากของคนอื่น แต่แหวกแล้วต้องน่าอ่านด้วย งานเขียนของเราถึงจะโดดเด่นจากคนอื่น

-อย่างนิยายวาย เชื่อว่าอีกสักพักก็คงจะเบื่อกัน เพราะว่าตอนนี้มีออกมามากมายเหลือเกิน มันเริ่มซ้ำซากจำเจแล้ว อย่าไปเขียนตามคนอื่นเพราะรสนิยมการอ่านมันเปลี่ยนแปลงได้ตลอด

4. ต้องเชื่อมั่นใน content ที่คุณเขียน ต้องประทับใจในเรื่องที่คุณเขียน ถ้าเขียนไปแล้วก็ไม่ชอบคนอ่านก็จะไม่ชอบด้วย เพราะคนอ่านรับรู้ถึงอารมณ์ของผู้เขียนที่อยู่ระหว่างบรรทัดได้

-ถ้าตอนที่คุณเขียนคุณสนุก คนอ่านก็จะอ่านสนุกตามไปด้วย ถ้าคุณเขียนเรื่องผี คุณต้องกลัวผีที่อยู๋ในเรื่องนั้นคนอ่านถึงจะกลัวตามที่คุณเขียนด้วย

-ถ้าคุณไม่อยากจะเขียนเรื่องใด แต่จำเป็นต้องเขียนเรื่องนั้น เรื่องมันจะออกมาอย่างจืดชืดอ่านไม่สนุก ดังนั้นเวลาที่เขียนต้องดึงประเด็นที่ซาบซึ้งออกมาเขียนให้ได้

-ต้องมีความครีเอทีฟ มีความคิดของตัวเองตลอด ไม่ใช่ว่าลอกงานของคนอื่นมาทั้งดุนแล้วเอามาเขียนเป็นของเรา มันยังมีความแตกต่างกันระหว่างแรงบันดาลใจกับก๊อปปี้

-เวลาที่เขียนต้องพยายามใส่อะไรที่เป็นตัวตนของเราลงไปในงานเขียนด้วย การเป็นตัวของตัวเองจะช่วยสร้างเอกลักษณ์ให้แก่ตัวเองได้

-เป็นนักเขียนต้องขยันเขียน ถ้าไม่เขียนก็ต้องอ่าน ไม่ใช่เอาเวลาไปเล่นเกมอย่างเดียว

-ทุกอย่างในชีวิตเราหยิบเอามาเขียนได้หมด แต่เราต้องรู้ให้ได้ว่า บางอย่างหยิบมาเขียนก็ไม่น่าสนใจ บางอย่างหยิบมาเขียนแล้วน่าสนใจ เราต้องหยิบสิ่งที่นักอ่านอ่านแล้วตาลุกวาว , อ่านแล้วร้อง ..เฮ้ย สุดยอด , อ่านแล้วชอบเลย ฯลฯ

-ถ้าเขียนให้ตัวเองอ่านเองจะเขียนอย่างไรก็ได้ แต่เมื่อใดก็ตามที่มีคนที่สองเข้ามาอ่านด้วย ต้องคำนึงถึงว่ามันคือการสื่อสารแล้ว

-อย่าไปแคร์เรื่องที่เราลบทิ้ง เพราะการลบทิ้งคือการที่เราได้เรื่องที่ดีกว่า อย่างที่อาจินต์ ปัญจพรรค์บอกว่า ตระกร้าสร้างนักเขียน ดังนั้นอย่าไปกลัวที่เรื่องต้องถูกลบทิ้ง

-นักเขียนต้องเป็นคนที่มีสมาธิดี ดังนั้นควรหมั่นฝึกสมาธิไว้ด้วย ที่ผ่านมาอาจารย์วินิตาเคยเขียนนวนิยายพร้อมกันที่เดียว 5 เรื่อง ดังนั้นต้องมีสมาธิอย่างตั้งใจ ต้องทำพิมพ์เขียวของแต่ละเรื่องไว้ก่อนด้วย

-ประสบการณ์ชีวิตช่วยได้ในเรื่องความคิดสร้างสรรค์ แต่อย่างไรก็ตามเราควรจะฝึกคิดฝึกมองให้แตกต่างจากคนอื่นไว้ตลอด เช่นถ้าเข้ากลุ่มไลน์ มีสมาชิกในกลุ่ม 10 คน พอมีใครโพสเรื่องอะไรสักเรื่องมีคนเห็นด้วย 9 คนแล้ว เราต้องเป็นคนที่ 10 ที่เห็นต่างให้ได้ ต้องฝึกให้มองเห็นต่างจากอีก 9 คนให้ได้

-ถ้าเรายังเห็นเรื่องใดเหมือนคนอื่น คือยังไม่แตกต่างจากคนอื่น เราก็ต้องฝึกคิดให้แตกต่าง เราต้องฝึกให้มากขึ้น ของแบบนี้ฝึกกันได้

-ถ้าเขียนงานอยู่แล้วเกิดขี้เกียจขึ้นมา แสดงว่าสมองเราอาจจะล้าก็ได้ ถ้าเกิดสมองล้าให้ลุกไปทำอย่างอื่นก่อน

-ตรีม Theme คือแนวของเรื่อง เช่น จะเขียนแนวสุภาษิต ตรีมคือ ทำดีได้ดีทำชั่วได้ชั่ว ตรีมคือสิ่งที่จะนำเสนอให้แก่คนอ่าน

-ส่วน content คือเนื้อเรื่อง ต้องมีหัวมีหางด้วย อย่างเช่น “ออกจากบ้านนั่งรถเมล์” แค่นี้ยังไม่ใช่ content ยังไม่เป็นเนื้อเรื่องเพราะขาดหาง แต่ถ้า “ออกจากบ้านนั่งรถเมล์ไปโรงเรียน ไปหาเพื่อน” แบบนี้เป็นเริ่มเนื้อเรื่องแล้ว

-ส่วนคอนเซ็ป concept คือ คุณมีแนวคิดอะไรอยู่ในเรื่องของคุณ เช่นเขียนเรื่องการเมือง คอนเซ็ป concept คือต้องมีการเลือกตั้ง ดังนั้นจึงบอกได้ว่าคอนเซ็ป conceptทำให้เรื่องเรามีความชัดเจนขึ้น

-ส่วนพล็อตเรื่อง Plot คือการผูกเรื่อง คือมีตัวละครอย่างไร? มีฉากอย่งไร? มีการดำเนินเรื่องอย่างไร?

-ส่วนโครงเรื่องคือการวางเรื่องราวไว้อย่างคร่าวๆ

-ความน่าอ่านที่อยู่คงทนทุกยุคทุกสมัยคือเรื่องที่มีภาษาไพเราะ มีพรรณาโวหารที่ลึกซึ้ง มีประโยคที่มีความหมายดีๆ มีเนื้อเรื่องที่ดีน่าสนใจ

-ภาษาที่น่าอ่านคือภาษาที่ทำให้ผู้อ่านเห็นภาพ โดยลืมไปเลยว่ากำลังนั่งอ่านหนังสืออยู่

-ยุคนี้นักเขียนมีโอกาสดีกว่าสมัยก่อนเยอะ ในสมัยก่อนเหมือนต้องร่อนตะแกรงก่อน กว่าจะก้าวมาเป็นนักเขียนได้ ต้องผ่านหลายด่านมาก ทั้งบรรณาธิการ ทั้งนักเขียนดังที่ทางเล่มมีเรื่องลงอยู่ก่อนแล้ว พื้นที่นำเสนองานเขียนมีน้อยมาก

-ยุคปัจจุบันในโลกอินเตอร์เน็ต โลกออนไลน์ พื้นที่สำหรับงานเขียนมีเยอะมากมายมหาศาล แต่ไม่ใช่หมายความว่าอาชีพนักเขียนจะง่ายขึ้น คือโอกาสมากขึ้นก็จริง แต่ต้องแข่งขันกันมากขึ้น เดี๋ยวนี้ใครๆ ก็เป็นนักเขียนได้ คนอยากเขียนมีมากเป็นแสนคน แต่คนอ่านไม่ได้มากตามไปด้วย นักเขียนในยุคสมัยนี้จึงต้องทำงานหนักกว่านักเขียนในยุคก่อนมาก

-ปัจจุบันนี้ มือถือหรือสมาร์ทโฟน เป็นตัวกำหนดว่า เราอ่านอะไรไม่ได้มากเกินกว่าหนึ่งฝ่ามือเรา (มือถือปัจจุบันขนาดเท่าฝ่ามือ) เช่นข่าว เดี๋ยวนี้ข่าวที่เสนอในสื่อออนไลน์ต้องสั้น สมัยก่อนเราอ่านข่าวในหนังสือพิมพ์ยาวได้เป็นหน้าๆ อ่านหน้า 1 แล้วไปอ่านต่อหน้า 3 สุดท้ายพลิกไปอ่านต่อหน้า 16 แต่ปัจจุบันนี้คนเริ่มไม่อ่านอะไรที่ยาวๆ แล้ว ดังนั้นจึงเป็นหน้าที่ของนักเขียนที่จะทำให้เขาอ่านงานของเรา

-ปัจจุบันลูกสาวของอาจารย์วินิตาเป็นอาจารย์สอนอยู่คณะอักษรศาสตร์ จุฬา (ผมน่าจะฟังไม่ผิดนะ แต่ถ้าข้อมูลผิดก็ต้องขออภัยด้วยครับ) เป็นคนเขียนบทละครเรื่อง “แม่อายสะอื้น” ตอนสมัยที่เขายังเป็นเด็ก อาจารย์วินิตาเล่าเรื่องวรรณคดีให้ลูกฟังก่อนนอน เรื่อง โคบุตร , สิงหไกรภพ , เงาะป่า , นิทานชาคริต , หัวใจนักรบ ฯลฯ ซึ่งเด็กในยุคใหม่นี้แทบจะมไม่รู้จักวรรณคดีกันแล้ว

-จะเห็นว่างานเขียนของฝรั่งเขาเอาวรรณคดีมาเขียนแปลงใหม่ ทำเป็นเรื่องโน้นเรื่องนี้โดยอิงจากวรรณคดีฉบับดั้งเดิม ซึ่งการที่เขียนใหม่แบบนี้เองที่ทำให้วรรณคดีของเขาหลุดรอดเหลือมาจนถึงปัจจุบันได้ แต่เมืองไทยยังไม่มีใครทำแบบนี้เท่าไหร่เลย

-เวลาเขียนให้เราทำพิมพ์เขียวของเรื่องไว้ก่อน ตั้งแต่ต้นเรื่องจนจบเรื่องเลย ก่อนที่เราจะเขียนต้องนึกภาพให้เห็นเหมือนเราดูหนังเลย ต้องเห็นภาพเห็นรายละเอียดต่างๆ ก่อน ถึงจะเขียนเรื่องได้

-การเขียนนิยายแนวอิงประวัติศาสตร์มีแนวคิดคือ เราจะไปลบประวัติศาสตร์ทิ้งไม่ได้ แต่เราเขียนเพิ่มเติมเข้าไปได้ อย่งเช่นเรื่อง “รัตนโกสินทร์” มีการเพิ่มตัวละครเข้าไปในเรื่องเพื่อสร้างให้เกิดเรื่องราวขึ้น นวนิยายเรื่องนี้เป็นเรื่องต้นตระกูลวินิจฉัยกุล ที่อาจารย์วินิตาใช้เวลาสร้างเรื่องนี้นานถึง 10 ปี

-ในการเขียนสิ่งที่เราควรหลีกเลี่ยง ไม่ควรเข้าไปแตะคือเรื่อง ขาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ และเรื่องการเมืองก็ไม่ควรเข้าไปแตะมาก เพราะเป็นเรื่องละเอียดอ่อนในความรู้สึกของคนทั่วไป

-คำแนะนำสำหรับนักเขียนหน้าใหม่คือ อย่าไปเขียนอะไรที่มันยากจนเกินไป เขียนเรื่องที่ใกล้ตัว เรื่องที่เรารู้ดีที่สุด

-ในการจบเรื่อง เราต้องเก็บทุกอย่งที่เราสร้างเป็นปมทิ้งไว้ในเรื่องให้หมด คือต้องเฉลยทุกปมที่เราผูกไว้ทั้งหมดถึงจะเป็นการจบเรื่องที่สมบูรณ์แบบที่สุด









 

Create Date : 22 กุมภาพันธ์ 2561
12 comments
Last Update : 22 กุมภาพันธ์ 2561 21:53:57 น.
Counter : 744 Pageviews.

ผู้โหวตบล็อกนี้...
คุณInsignia_Museum, คุณkae+aoe, คุณtuk-tuk@korat, คุณJinnyTent, คุณTui Laksi, คุณtoor36, คุณSai Eeuu, คุณภาวิดา คนบ้านป่า, คุณRinsa Yoyolive

 

คุณกล่องสรุปเรื่องได้กระชับ อ่านสนุก เชื่อว่าเนื้อหาครบถ้วน ได้มาอ่านแบบนี้แล้ว ทำให้ลดการหาแนวทางการเขียนด้วยตัวเอง อ้อมไปอ้อมมา หรือเรียกว่าเข้าทางตรงการเป็นนักเขียนได้เลย
ขอบคุณสำหรับบทความดีๆ และมาแปะใจให้ด้วยครับ

 

โดย: Insignia_Museum 23 กุมภาพันธ์ 2561 8:35:04 น.  

 

บางเรื่องไม่ต้องเขียน แค่คุยกันก็จะมีเรื่องละค่ะ

 

โดย: tuk-tuk@korat 23 กุมภาพันธ์ 2561 9:09:24 น.  

 

แวะมาแปะหัวใจให้แล้วจ้า

 

โดย: หน่อยอิง 23 กุมภาพันธ์ 2561 10:26:42 น.  

 

แวะมาแปะหัวใจขอบคุณคุณกล่องค่า
ขำที่ไปเม้นส์ที่บ้าน อาไร ๆ เรายังไม่แก่
งอนเน้อ ขอบอก 5555

ล้อเล่นค่า ทำใจตั้งแต่ก้าวขึ้นเลขสี่แล้ว
และก็ทำใจเรื่องแก่มาหลายปี ใครจะแซวยังไง
ตอนนี้ก็ได้แต่ก้มหน้ารับชะตากรรม ก็มันแก่จริง ๆ นินะ อิอิ

เรื่องงานเขียนนี่ จินยอมแพ้แล้วค่ะ
ตะก่อนเคยมีความฝันอยากเป็นนักเขียน
ตอนนี้ ไฟมอดหมดแล้ว ได้แต่เขียนบล็อกโม้ไปแต่ละบล็อกก็พอแล้ว แฮร่

รู้สึกนักเขียนอยู่ยากขึ้นทุกวันนะคะ
นอกจากปรับตัวแล้ว ยังต้องมีอาชีพเสริมอีกด้วยค่ะ
อาศัยแต่งานเขียนอย่างเดียว ณ โลกที่เปลี่ยนไปในปัจจุบัน
ค่อนข้างเกิดยากเลยทีเดียว สำหรับนักเขียนใหม่

จินเองเป็นนักอ่าน เลือกอ่าน และเลือกนักเขียนที่ชอบ
บางคนอ่านไม่ถึงเล่มวาง บางคนอ่านเล่มแรกก็ตามติดเรื่อย
บางคนอ่านแล้ว รู้สึกเฉย ๆ ไม่คิดจะตามผลงานก็มี

ขนาดโลกเปลี่ยนไปแบบนี้
นักเขียนใหม่ ๆ ก็ยังเกิดขึ้นเรื่อย ๆ นะคะ

 

โดย: JinnyTent 23 กุมภาพันธ์ 2561 18:21:43 น.  

 

นึกขึ้นได้ว่าต้องมาบ้านคุณกล่องก็หมดตัวเสียแล้ว
แต่ก็มา อิอิ มาบอกงัยคะ พรุ่งนี้ค่อยมาใหม่ก็ได้นี่นา
พรุ่งนี้มาอ่านทั้งหมดตอนกลางวันด้วย หูตาไม่สู้ดีแล้ว

 

โดย: ภาวิดา (คนบ้านป่า ) 23 กุมภาพันธ์ 2561 22:02:17 น.  

 

มาเยี่ยมเยือนและอ่านสาระแนวคิด
การเขียนคอนเทนต์ให้วรรณกรรมดูดีมีสิ่งที่ชวนให้ผู้อ่านติดตาม
ได้รับอรรถรสของวรรณกรรมดีๆ...ขอบคุณคะคุณอาคุณกล่อง

แปะหัวใจไว้ให้ ด้วยนะคร้า

 

โดย: Tui Laksi 23 กุมภาพันธ์ 2561 22:37:52 น.  

 

รู้สึกว่าบทความของเรายังต้องปรับปรุงอีกมาก ถือว่าได้ความรู้ครับ อ่านแล้วทำให้รู้ว่าเรายังมีสิ่งที่ขาดอยู่ เรื่องเอาวรรณคดีมาเขียนแปลงใหม่ถ้าเป็นที่ไทยทำแบบนี้โดนประณามแน่นอนครับ หาว่าไม่เคารพผู้เขียนคนเก่า

 

โดย: คุณต่อ (toor36 ) 23 กุมภาพันธ์ 2561 23:43:43 น.  

 

แวะมาทักทายในวันหยุด พร้อมแปะหัวใจให้ด้วยจ้า

 

โดย: หน่อยอิง 24 กุมภาพันธ์ 2561 9:31:47 น.  

 

เท่ย์มากเลยค่ะ ที่อยู่ในสมาคมนี้ ถ้าเป็นเราคงปลื้มสุดๆ เลยค่ะ เพราะต้องเก่งมากจริงๆ

 

โดย: Sai Eeuu 24 กุมภาพันธ์ 2561 12:54:24 น.  

 

คุณสมบัติและคุณลักษณะของนักเขียนโดยเฉพาะนวนิยาย
มีมากจังนะคะ และเห็นด้วยว่าต้องมีจินตนาการล้ำกว่าคนอ่าน
ไม่งั้นคนอ่านจับไต๋ได้ตั้งแต่าออกสต๊าร์ตก็หมดกัน

มาส่งใจและกำลังใตค่ะ คุณกล่อง

 

โดย: ภาวิดา (คนบ้านป่า ) 24 กุมภาพันธ์ 2561 20:17:41 น.  

 

คุณได้ทำการแปะ ให้กับคุณ อาคุงกล่อง เรียบร้อยแล้วนะคะ

คุณเหลือ อีก 3 ดวง สำหรับวันนี้ค่ะ

 

โดย: หน่อยอิง 25 กุมภาพันธ์ 2561 6:44:47 น.  

 

รินรู้แค่ว่า ตลาดต้องการแบบไหน เราก็ต้องตามตลาดให้เจอ
ให้ทันเหตุการณ์ และกระชับไม่ยืดเยื้อมากค่ะ
คอนเท้นนั้นๆ ปังแน่นอน




บันทึกการโหวต Blog ในวันนี้

ผู้เขียน Blog หมวดเนื้อหา Blog ได้รับโหวต
Sweet_pills Travel Blog ดู Blog
ชมพร About Weblog ดู Blog
tuk-tuk@korat Travel Blog ดู Blog
ขุนเพชรขุนราม Topical Blog ดู Blog
Tui Laksi Travel Blog ดู Blog
Quel Klaibann Blog ดู Blog
toor36 Cartoon Blog ดู Blog
ข้ามขอบฟ้า Music Blog ดู Blog
เริงฤดีนะ Movie Blog ดู Blog
อาคุงกล่อง Literature Blog ดู Blog


 

โดย: Rinsa Yoyolive 25 กุมภาพันธ์ 2561 23:36:39 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 


อาคุงกล่อง
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 62 คน [?]




อาคุงกล่องเป็นชายไทยนิสัยดีมีความฝัน ผู้ผันตัวมาเป็นทาสวรรณกรรมอย่างแท้จริง ใช้ชื่อกำหนดตัวตนว่า “อาคุงกล่อง” เป็นนามปากกาสร้างสรรค์ผลงานในเชิงหัสนิยาย และงานเขียนในรูปแบบต่าง ๆ อาทิเช่น เรื่องสั้น นวนิยาย สารคดี ความเรียง บทกลอน ไดอารี่เพ้อเจ้อละเมอเพ้อฝันต่างๆ ฯลฯ

ปัจจุบัน “อาคุงกล่อง” เป็นนักอ่าน นักคิดและนักเขียน รวมทั้งเป็นนักจินตนาการออกมาเป็นตัวอักษรด้วย ผู้มีความฝันอันยิ่งใหญ่คือการเป็นนักเขียนมีคุณภาพที่สรรค์สร้างผลงานอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ คาดว่าในเวลาอันใกล้นี้นาม “อาคุงกล่อง” จะเกิดปรากฎชัดในโลกวรรณกรรม จนเป็นที่รู้จักกันอย่างกว้างขวางในหมู่หนอนนักอ่านทั่วไทย



"ในชีวิตจริงของคนเรา มีอะไรอีกมากมายที่จะต้องรับรู้และรับผิดชอบ ในแต่ละวันเรามีโอกาสที่จะหัวเราะได้สักกี่ครั้ง? แต่ถ้าเราได้มีโอกาสหัวเราะเสียบ้างเพื่อเป็นการผ่อนคลายหรือคลายเครียด ก็คงจะเป็นสิ่งที่ดีนะครับ"

ถ้าคุณเข้ามาในบล็อคของผมแล้ว คุณสามารถอมยิ้มหรือหัวเราะได้ ผมก็คงจะดีใจแล้วครับ (กรุณาช่วยทิ้งคอมเม้นท์วิจารณ์ไว้ให้ผมด้วยนะครับ จักขอบพระคุณมากเลยครับ)

akungklong@gmail.com
Friends' blogs
[Add อาคุงกล่อง's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.