ตามรู้ ตามดู อย่างไร คือ ถูกต้องในการปฏิบัติ
เรื่องที่เขียนในบทนี้ เป็นสิ่งสำคัญเรื่องหนึ่ง ที่คนหลายคนที่อ่่านตำราในพระไตรปิฏก หรือ ฟังคำสอนของอาจารย์ทั้งหลาย แล้วเกิดการตีความเข้าใจผิด เมื่อเข้าใจผิด ก็ปฏิบัติผิด เมื่อปฏิบัติผิด ผลก็ไม่ตรง เรื่องนี้คือ เรื่อง ตามรู้ ตามดู หรือในพระไตรปิฏก ใช้คำว่า อนุปัสสี อนุปัสสนา ถ้าคนในยุคนี้ ถ้าพูดว่า .ตามรู้ ตามดู. ก็จะเข้าใจว่า เหมือนกับการที่ตำรวจวิ่งตามจับคนวิ่งราวกระเป๋า หรือ เหมือนกับ ผู้ชายตามจีบผู้หญิง หรือ ภรรยา เฝ้่าจับตาพฤติกรรมของสามีจอมเจ้าชู้ ในการปฏิบัติธรรม ไม่ใช่อย่างที่เข้าใจกันในแบบนั้นครับ ถ้าไปทำแบบนั้น ก็คือ การปฏิบัติที่ไม่ตรงแล้วครับ สำหรับท่านที่ฝึกตามรู้ ตามดู อย่างที่ผมเขียนไว้ข้างบนคือ เหมือนตำรวจวิ่งตามจับคนวิ่งราวกระเป๋าอยู่ละก็ ผมแนะนำให้ท่านอ่านต่อและพิจารณาเอาด้วยปัญญาของท่านเอง ในการปฏิบัติธรรมนั้น ขอให้ท่านเพียงมีความรู้สึกตัวที่เป็นธรรมชาติ แล้วสภาวธรรมจะปรากฏให้รับรู้ได้เอง นี่่ืคือการปฏิบัติ ที่ผมเขียน เน้นย้ำเสมอ ๆ ใน blog นี้ ผมจะยกตัวอย่างให้ดูเป็นรูปธรรม สมมุติว่า ท่านไปรับประทานอาหารเที่ยงในตลาดสด เป็น ส้มตำรสจัด ใส่พริก 10 เม็ด เมื่อคำแรกของสัมตำกระทบลิ้น ท่านก็สัมผัสได้ถึงรสที่แซบทรวงเผ็ดร้อนของพริก นี่คือการรู้ได้รับรู้สภาวะธรรมแล้วตามความเป็นจริงแแล้ว เมื่อส้มตำกระทบลิ้นเข้า โดยที่ท่านไม่ต้องไปทำอะไรเลย ต่อมาท่านก็ทานส้มตำด้วยความอร่อย ตอนนี้เกิดร้อนมาก เหงือแตกท่วมตัวแล้ว การรู้ว่าร้อนในกาย นี่คือ การรู้สภาวะธรรมตามความเป็นจริงแล้วเช่นกัน ทางร้านก็ำนำพัดลมมาให้แล้วเปิดพัดลม พอพัดลมที่ทางร้านเปิด พัดมากระทบตัว ท่านรู้สึกถึงมีการกระทบของลม การรู้ว่ามีลมมากระทบกาย นี่คือ การรู้สภาวะธรรมตามความเป็นจริงแล้วเช่นกัน พอท่านทานเสร็จ ท่านเรียกคนมาเก็บสตางค์ เขาเรียกเก็บ 100 บาท ท่านรู้สึกไม่พอใจ เพราะแพงไป ส้มตำอะไรจานละ 100 บาท การรู้สึกถึงความไม่พอใจที่เกิดขึ้นในจิตใจ นี่คือ การรู้สภาวะธรรมตามความป็นจริงแล้ว ท่านจะเห็นว่า จากตัวอย่างข้างต้น คือ การรู้ธรรมชาติล้วน ๆ ที่เกิดในตัวท่าน ในจิตใจของท่าน ไม่มีการตามรู้ ตามดู ที่เป็น .การจงใจ. ติดตามอะไรเลย เพียงแต่ว่า พอเกิดสภาวะธรรมแล้ว เพียงรู้ว่ามีสภาวะธรรมเกิดแล้วเท่านั้นก็ใช้ได้ทันที นี่คือการปฏิบัติจริง ๆ เป็นอย่างนี้ เมื่อสภาวะธรรมที่เกิดแล้ว เมื่อเพียงรู้ และไม่มี .การจงใจ.ติดตามอะไร ธรรมชาตินั้นก็จะผ่านพ้นไปอย่างรวดเร็วอีกเช่นกัน ทีนี้ท่านอาจจะสงสัยในใจว่า สิ่งที่ผมเขียนนี้ ผมเข้าใจผิดเองหรือเปล่า เพราะทั้งตำราในพระไตรปิฏก ก็ว่าตามรู้ ตามดู อาจารย์ที่สอนบางท่าน ก็สอนให้ตามรู้ ตามดู เรื่องมันเป็นอย่างนี้ครับ พระไตรปิฏก ไม่ผิดครับ แต่ผมจะชี้ให้ดูว่า ที่ไม่ผิดคืออย่างไร ตอนนี้ ผมขอให้ท่านลองหันหน้าไปทางขวา .อย่างช้า ๆ . แล้วหันกลับมาให้หน้าตรง .อย่างช้า ๆ .ให้ลองทำสัก 2-3 เที่ยว แล้วให้ท่านสังเกตตนเอง เมื่อท่านหันหน้าอย่างช้า ๆ ท่านจะรู้สึกได้ถึงมีการเคลื่อนไหวของใบหน้าอย่างเบา ๆ ตลอดเวลาที่ใบหน้ากำลังเคลื่อนหันอยู่ใช่ใหมครับ กล่าวคือ พอใบหน้าเริ่มขยับ ท่านก็รู้สึกได้ว่ามีการเคลื่อนไหวแล้ว ขณะที่ใบหน้า .กำลังเคลื่อน.อยู่อย่างข้า ๆ ท่านก็รู้สึกได้ตลอดอยู่ อันนี้เป็นการรู้ได้เอง ใช่่ใหมครับ รู้ที่ไม่ได้จงใจที่จะตามรู้ ความรู้สึกที่รู้ได้นี้ จะคล้าย ๆ กับว่า จิตเขากำลังติดตามการเคลื่อนของใบหน้าอยู่ อาการที่จิตเขารู้ได้เองเช่นนี้ โดยติดตามตลอดที่ท่านกำลังหันหน้า อย่างช้า ๆ นี้แหละครับ .ที่จิตเขา ตามรู้ ตามดูุ ของเขาเอง. อันเป็นการทำงาน ที่เป็นธรรมชาติของจิตเองทั้งสิ้น โดยทีีท่าน .ไม่ได้จงใจที่จะตามรู้ ตามดู อะไรเลย. กล่าวโดยสรุป ก็คือ คำสอนว่า ให้ตามรู้ ตามดู นี้ ในการปฏิบัติ ไม่ใช่เป็นการจงใจไปตามรู้ตามดูุอะไรเลย ขอให้นักภาวนาเพียงรู้สึกตัว อยู่เท่านั้น แล้วจิตเขาจะดำเนินการตามรู้ ตามดู ของเขาเอง อันเป็นธรรมชาติ ของตัวจิตเองทั้งสิ้น ผมขอเขียนย้ำหัวใจหลักแห่งการปฏิบัติอีกครั้งว่า การปฏิบัตินั้น ขอให้ฝึกฝนให้รู้สึกตัวได้ต่อเนื่องเท่านั้นเอง ไม่ต้องไปทำอะไรมากกว่านี้ ให้เพียงรู้สึกตัว รู้สึกตัว รู้สึกตัว ...เท่านั้น แล้วขบวนการอื่น ๆ จะเดินตามของมันเอง อย่างเป็นธรรมชาติ โดยทีท่านไม่ต้องไปทำอะไรเลยทั้งสิ้น นอกจากให้รู้สึกตัวที่เป็น ธรรมชาติอยู่เท่าันั้น เพียงแต่ว่า การฝึกฝนให้รู้สึกตัวได้บ่่อย ๆ เนื่อง ๆ ท่านต้องเลือกสิ่งทีท่านถนัดเท่านั้น อะไรก็ได้ ที่ท่านถนัดแล้วฝึกให้มาก ๆ ยิ่งฝึกมาก ยิ่งรู้สึกตัวที่เป็นธรรมชาติมากเท่าใด ท่านก็ยิ่งเจริญในทางธรรมยิ่งขึ้นเท่านั้นครับ หลักการง่ายครับ การฝึก ท่านเลือกเอง หาแบบง่าย ๆ สบาย ๆ ไม่ลำบากกาย ไม่ลำบากใจ แล้ัวทำความเข้าใจในการฝึกว่า ฝึกอย่างไร เพื่ออะไร แล้วให้มีความเพียร ฝึกมาก ๆ ฝึกมาก ๆ ท่านหลุดจากบ่วงมารได้แน่ครับ *** เรื่องท้ายบท เรื่องที่ 1 ..ถ้าท่านเป็นนักอาณาปานสติ มีคำสอนอาณาปานสติ 16 ขั้น ในขั้นแรก ๆ นั้น ตำราสอนให้ตามลมเข้าออก อย่า่งนี้คือ การตามรู้ ตามดู ใช่หรือไม่ อันนี้ ผมตอบว่า ใช่ครับ แล้วท่านอาจสงสัยว่า ถ้าผมว่าไม่่ถูกต้อง ทำไม ตำราจึงบอกให้ตามลมละ เรื่องนี้ เป็นอย่างนี้ครับ ถ้าคนใหม่ ๆ ถ้าสติอ่อนมาก ๆ การรับรู้ลมหายใจเป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ครับ เพราะลมหายใจ เป็นสิ่งละเอียดและเบามาก คนสติอ่อนจะรับรู้ลมหายใจไม่ได้เลย การฝึกให้ตามลมในระยะแรกนี้ คือ การฝึกเพื่อเพิ่มกำลังให้แก่สติก่อน เมื่อสติมีกำลังเพิ่ม พอที่จะรับรู้ลมหายใจได้แล้ว ก็ไม่ต้องไปตามลมแบบนั้นอีก ซึ่งท่านจะเห็นได้เองว่า ในขั้นต่อ ๆ ไปของอาณาปานสตินั้น จะไม่มีการให้ตามลม เมื่อผมฝึกใหม่ ๆ ในอดีต ผมก็ลองใช้ลมหายใจ ผมฝึกไม่สำเร็จครับ เพราะผมจับลมไม่ได้ เพราะสติยังอ่อนมากนั่นเอง ผมก็เลยเลิกใช้ลมหายใจไป แต่ไปใช้วิธีอื่นฝึกสติ แต่ตอนนี้ สติผมแข็งแกร่งมาก เรื่องรู้ลมนี่เป็นสิ่งที่ง่ายดาย สำหรับผมไปแล้ว ผมจึุงไม่แนะนำคนใหม่ ๆ ให้เริ่มจากลมหายใจด้วยเหตุนี้ ***** เรื่องที่ 2... ถ้าท่านฝึกเคลื่อนมือแบบหลวงพ่อเทียน ในการฝึกนั้น ท่านอย่าได้ไปตามการเคลื่อนของมือเด็ดขาด ขอให้ท่านเคลื่อนมือแบบสบาย ๆ ช้า ๆ เนิบ ๆ พร้อมด้วยความรู้สึกตัวเท่านั้น ท่านจะสามารถรับรู้อาการเคลื่อนไหวขณะที่มือกำลังเคลื่อนได้เอง โดยทีท่านไม่ต้องไป ตามรู้ ตามดู มือที่กำลังเคลือนเลย ****
Create Date : 02 สิงหาคม 2553
Last Update : 29 มกราคม 2555 16:04:56 น.
5 comments
Counter : 1928 Pageviews.
โดย: นมสิการ วันที่: 2 สิงหาคม 2553 เวลา:8:35:16 น.
โดย: palmgang (palmgang ) วันที่: 2 สิงหาคม 2553 เวลา:8:53:40 น.
โดย: kaoim วันที่: 2 สิงหาคม 2553 เวลา:10:19:55 น.
โดย: darliedoll วันที่: 2 สิงหาคม 2553 เวลา:11:48:30 น.
โดย: นมสิการ วันที่: 29 มกราคม 2555 เวลา:16:33:09 น.
Location :
[ดู Profile ทั้งหมด]
ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember ผู้ติดตามบล็อก : 142 คน [? ]
หลักปฏิบัติ ...รู้สึกตัว ผ่อนคลาย เฉย ๆ สบาย ๆ มากกว่า 20 ปีที่ไปหลงทำสมถภาวนาแบบสมาธิแบบฤาษีโดยที่ไม่รู้จักกับคำว่า อะไรคือสัมมาสติ สัมมาสมาธิ ผลที่ได้คือความสงบขณะกำลังนั่งสมาธิจนตัวนิ่งแข็งเป็นก้อนหิน แต่ผลข้างเคียงตามมาก็คือการเป็นคนเจ้าโทสะอย่างรุนแรงขณะเวลาไม่ได้นั่งสมาธิ และ ที่อยู่ในชีวิตประจำวัน.... จนได้พบกัลยณมิตรแดนไกล ที่ได้ชักนำให้มารู้จักวิธีปฏิบัติแบบหลวงพ่อเทียน จนได้พบกับพระอาจารย์ในสายหลวงพ่อเทียน ที่ผมได้เรียนการปฏิบัติจากท่าน จนเข้าใจว่า สัมมาสติ สัมมาสมาธิ คืออะไร แล้วลงมือฝึกฝน การปฏิบัติก็รุดหน้าและได้ลิ้มรสสิ่งบริสุทธิในจิตใจอันเป็นผลจากการปฏิบัติด้วยเวลาเพียง 5 ปี ธรรมปฏิบัติจากฆราวาสเขียนเป็นสิ่งที่ยอมรับได้ยากในสังคมไทย ผมรู้ได้จากที่เขียนใน blog ผมได้พบกับการก่อกวนใน blog การเขียนเหน็บแนม กระแหนะกระแหน ตำหนิการการปฏิบัติที่ผมเขียนใน blog ว่าผิดทาง เขียนแบบคาดเดาเอา ไม่รู้จริง ให้ผมหยุดเขียนแนวนี้ได้แล้ว และไปโมทนาสาธุแนะนำการปฏิบัติสมาธิแบบฤาษีให้กับผมอีกว่านี่คือทางที่ถูกต้อง ... บทความใน blog จึงเกิดขึ้นมา เพื่อแบ่งปันประสบการณ์ในการภาวนา แก่ผู้อื่นที่กำลังเดินทางในสายแห่งอริยมรรคนี้ เมื่อท่านได้เข้ามาอ่านข้อเขียนใน blog กรุณาอย่าได้เชื่อผมจนกว่า ท่านได้ทดลองปฏิบัติแล้วและพิสูจน์ด้วยตัวท่านเอง **กรุณา .อย่า.ได้บริจาคเงินให้ blog ผมทาง e-wallet ครับ ** ****** บทความต่าง ๆ ใน blog นี้ ขอสงวนสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 ห้ามนำไปดัดแปลง ลอกเลียน หรือนำส่วนหนึ่งส่วนใดไปใช้โดยไม่ได้รับอนุญาต ****
ผมมีแนะนำไว้ที่ ข้อ 2 ใน blog
https://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=namasikarn&month=08-2010&date=02&group=8&gblog=80