รู้สึกตัว ผ่อนคลาย เฉย ๆ สบาย ๆ **กรุณา .อย่า.ได้บริจาคเงินให้ blog ผม ทาง e-wallet ครับ** **ผมขอสงวนสิทธิการเป็นเจ้าบ้านของ blog ลบข้อเขียนใดๆ ก็ได้ใน blog นี้ตามที่ผมเห็นสมควร**
Group Blog
 
<<
สิงหาคม 2553
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
293031 
 
17 สิงหาคม 2553
 
All Blogs
 

ทุกข์ที่หยาบ ทุกข์ที่ละเอียด

ในอริยสัจจ์ข้อที่ 1 พระพุทธองค์ทรงสอนว่า ทุกข์ให้รู้
แล้วพระองค์ก็ทรงสรุปเป็นคำสอนง่าย ๆ ออกมาว่า
การยึดมั่นถือมั่นในขันธ์ 5 ว่าเป็นตัวเรา เป็นของเรา นั่นแหละคือทุกข์

นี่คือ ทฤษฏี ในอริยสัุจจ์

แต่ผมจะเีขียนในเรื่องการปฏิบัติเพื่อท่านมองตัวทฤษฏีที่พระพุทธองค์ทรงสอน

ในการปฏิบัติเพื่อให้เห็นทุกข์ได้นั้น นัำกปฏิบัติต้องเจริญสัมมาสติจนมีความตั้งมั่น
เป็นสัมมาสมาธิ นี่คือวิธีปฏิบัติ

ในระหว่างทีนักปฏิบัติฝึกฝน เริ่มจากการเป็นมือใหม่จนชำนาญ
นักปฏิบัติจะพบกับสภาวะแห่งทุกข์ที่เริ่มจากหยาบ ๆ ก่อน
เช่น อาการเ็็จ็บปวด เมื่อย ไม่สบายของร่างกาย ซึ่งเป็นอาการทุกข์ที่หยาบที่สุด
แล้ว นักภาวนาก็จะเห็นอาการจิตปรุงแต่งเช่นความโกรธ เห็นความคิดที่หยาบ ๆ
ได้ นี่คือ อาการทุกข์ที่ละเอียดขึ้นแต่ก็ยังหยาบอยู่
แล้วต่อมา นักภาวนาก็จะเริ่มเห็นจิต เห็นอาการของจิตทีละเอียดมากขึ้นไปอีก
เห็นอาการที่จิตที่เป็นทุกข์ และ จิตที่ไม่ทุกข์

ในความละเอียดแห่งทุกข์ที่นักปฏิบัติจะพบได้และละเอียดมาก ๆ ก็คือ
การที่จิตนั้นเปลี่ยนไปเปลี่ยนมาเพื่อทำงานตามหน้าที่ ระหว่าง

ตัวจิต + ความอยาก + ความคิด

นักภาวนาที่เดินทางมาถึงจุดนี้ จะพบอาการหนึ่งก็คือ อาการที่รู้แต่ไม่รู้อะไร
เืนื่องจากจิตตั้งมั่นนิ่งอยู่ที่ฐาน แต่จิตไม่แปรเปลี่ยนไปเป็นความคิด ความอยาก
นักภาวนาจะพบกับอาการที่แปลกประหลาด ที่เขายังรับรู้ได้ทุกสิ่งผ่านทางระบบ
ประสาทของร่างกาย แต่ไม่มีการแปลภาษาในสิ่งที่รู้ออกมา นักภาวนาเองจะพบว่า
ทุกครั้งที่มีการแปลภาษาในสิ่งทีรับรู้เข้ามา จะเกิด.ทุกข์.ขี้นมาทันที
ซึ่งถ้าในคนทั่ว ๆ ไปจะไม่สามารถรับรู้ได้เลยว่า นี่คือทุกข์

พระพุทธองค์ทรงบอกว่า อันว่า ตัณหาและทิฐิ คือ ตัวต้นเหตุแห่งทุกข์

เมื่อนักภาวนารู้ว่า นี่คือทุกข์ ก็จะทำการละทุกข์นั้นเสีย จิตที่มีสติมั่นคงก็ย้อนกลับไป
ตั้งมั่นอยู่ที่ฐานอีก ตัณหาและทิฐิ ก็จบการทำงานลง แล้วทุกข์ก็ดับลงไปทันที

การปฏิบัติในสติปัฏฐาน 4 ก็เพื่อให้นักภาวนาได้เห็นทุกข์ ที่เป็นตัณหาและทิฐิ
เมื่อเห็นแล้ว ก็ดับทุกข์นั่้นเสีย กลายเป็นสภาวะแห่งการไร้ตัณหาและทิฐิต่อไป
นี่คือมรรคในการปฏิบัติครับ

อนึ่งในสภาวะแห่งการไร้ตัณหาและทิฐิ นักภาวนาจะรู้สึกได้ถึงการไร้ตัวไร้ตนอีกด้วย

มีผู้กล่าวกับผมว่า ถ้าเพียงมีความรู้สึกตัวเ่่ท่านั้น ความไร้ตัวตนก็จะปรากฏขึ้น
ซึ่งเรื่องนี้ ถ้าจะมองให้ลึกลงไป การมีความรู้สึกตัวอยู่ก็จริง แต่ถ้านักภาวนาไม่ละเอียดพอ
เขาจะไม่เห็นตัณหาและทิฐิที่ยังทำงานอยู่ ซึ่งถ้ายังทำงานอยู่ สภาวะแห่งการไร้ตัวตนก็ยังมีอยู่
แต่ถ้าการทำงานของตัณหาและทิฐิดับลงไปเมื่อไร นั่นแหละ
สภาวะแห่งการไร้ตัวตนก็จะปรากฏออกมาเมื่อนั่นทันที

เรื่องอย่้างนี้ ได้เพียงชี้ให้เห็น แต่ถ้าละเอียดพอ ก็จะเห็นได้เองจากการภาวนา
แต่อย่าอยากเห็นครับ เพราะความอยากเป็นตัณหา ถ้าเกิดอยาก ก็จะไม่เห็น
แต่ถ้าภาวนาถึง ไม่ต้องอยาก ก็เห็นได้เอง

*************
เรื่องท้ายบท

1..ถ้าท่านเห็น ตัณหาและทิฐิ ได้ ท่านจะเข้าใจต่อไปได้อีกว่า
สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์ ล้วนเป็นสิ่งที่ออกมาจากตัวจิตทั้งสิ้น
เหมือนกับว่า จิตเป็นตัวสร้างขึ้นมา แต่ถ้าจิตตั้งมั่นอยู่ในฐาน จิตจะไม่สร้าง
สิ่งเหล่านี้ขึ้นมา ทำให้เกิดอาการรู้แต่ไม่รู้อะไร

2.สิ่งหนึ่งที่หลวงพ่อเทียน ท่านสอนลูกศิษย์ก็คือ ไม่ให้ใช้คำบริกรรม
เมื่อใช้คำบริกรรม ก็จะเกิดสัญญาขันธ์และสังขารขันธ์ขึ้นมา
ตัวจิตก็จะเกิดการทำงานขึ้นมา ถ้าท่านเห็นสภาวะแห่งการเห็นการเคลื่อน
ตัวของจิตได้ ท่านจะเห็นอาการนี้ได้เองครับ และท่านจะเข้าใจว่า
ทำไมหลวงพ่อเทียนจึงไม่ให้ลูกศิษย์บริกรรม







 

Create Date : 17 สิงหาคม 2553
6 comments
Last Update : 29 มกราคม 2555 16:03:08 น.
Counter : 1220 Pageviews.

 

สวัสดีครับ
ผมเป็นแค่อ่าน ยังไม่ได้เป็นนักภาวนาครับ
ชอบอ่านบทความธรรมะของทุกๆท่าน
ตั้งใจไว้ อนาคตนักภาวนา
ตอนนี้ผมอยู่แค่เสี้ยวของเศษผิวเปลือกธรรมะ

ขออนุญาตแอดเป็นเพื่อนด้วยครับ

 

โดย: เศษเสี้ยว 17 สิงหาคม 2553 8:44:49 น.  

 

เมื่อถึงจุดๆหนึ่งแล้ว ถึงจะไม่มีความรู้สึก
มันจะนิ่งๆ แบบไม่มีตัวตน
มันจะนิ่งๆ แบบไม่รู้สึกอะไรเลย
มันจะนิ่งๆ แบบไม่มีประสาทสัมผัส
และ เวลาผ่านไปเท่าไหร่ก็ไม่รู้....

ถ้ารู้สึกว่า นิ่ง แสดงว่า ไม่นิ่ง
ถ้ารู้สึกว่า ไม่มีตัวตน แสดงว่า ยังมีตัวตน
...

 

โดย: wbj 17 สิงหาคม 2553 8:54:25 น.  

 

อาจารย์ครับ
ฐานของจิตอยู่ที่ไหนครับ
อาการตั้งมั่นของจิตเป็นอย่างไรครับ
ปฏิบัติมาครึ่งปีแล้ว แต่ผมก็ยังไม่เข้าใจครับ

ขอบคุณครับ

 

โดย: Pisith IP: 115.67.173.76, 64.255.180.152 17 สิงหาคม 2553 8:55:02 น.  

 

ตอบคุณ pisith

อาการจิตตั้งมั่น คือ อาการที่จิตไม่วิ่งไปวิ่งมาตามอายตนะ (
ตา หู จมูก ลิ้น กาย จิตใจนึกคิดปรุงแต่ง)
เมื่อจิตไม่วิ่งไปวิ่งมา จิตจะตั้งมั่นอยู่ที่ฐานของจิตเอง
ซึ่งบางอาจารย์จะใช้คำว่า อยู่กับรู้บ้าง อยู่กับปัจจุบันบ้าง
ส่วน ฐานของจิตอยู่ที่ไหน อันนี้ตอบอยากครับ
มีอยู่ที่กำหนดแน่นอนไม่ได้ว่า อยู่ที่ไหน ขึ้นกับนักภาวนาแต่ละคน
และเมื่อภาวนาไป ตำแหน่งของจิต ก็จะเปลี่ยนไปด้วย ขึ้นกับกำลังสัมมาสมาธิในแต่ละระดับ กล่าวคือ เมื่อสัมมาสมาธิตั้งมั่นระดับหนึ่ง ก็จะอยู่ที่หนึ่ง พอตั้งมั่นมากขึ้น ก็จะอยู่อีกทีหนึ่ง คือ มันเปลี่ยนที่ได้นั่นเอง
แต่ขอให้มันเปลี่ยนเองเมื่อภาวนาไปถึงระดับ อย่าไปบังคับมันให้่เปลี่ยนตามความต้องการของใจเรานะครับ

แนะนำอ่านเพิ่มเพื่อความเ้ข้าใจ
https://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=namasikarn&month=07-2010&date=02&group=8&gblog=53

https://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=namasikarn&month=07-2010&date=04&group=8&gblog=55

 

โดย: นมสิการ 17 สิงหาคม 2553 10:08:29 น.  

 

ขอบคุณครับ

 

โดย: Pisith IP: 180.180.98.183 17 สิงหาคม 2553 22:56:44 น.  

 

ผมจำเป็นต้องปิดการเขียนของท่านผู้อ่าน เนื่องจากกฏหมายอินเตอร์เนท
ที่อาจมีสิ่งผิดกฏหมายใส่เข้ามาใน blog

ท่านที่จะสนทนา หรือ ถามคำถาม ขอให้ส่ง email ถึงผมได้ที่
asknamasikarn@gmail.com

หรือสำหรับสมาชิก pantip จะส่งมาทางหลังไมค์ก็ได้เช่นกัน

 

โดย: นมสิการ 29 มกราคม 2555 16:29:28 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะ VIP Friend
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 


นมสิการ
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 142 คน [?]




หลักปฏิบัติ ...รู้สึกตัว ผ่อนคลาย เฉย ๆ สบาย ๆ

มากกว่า 20 ปีที่ไปหลงทำสมถภาวนาแบบสมาธิแบบฤาษีโดยที่ไม่รู้จักกับคำว่า อะไรคือสัมมาสติ สัมมาสมาธิ ผลที่ได้คือความสงบขณะกำลังนั่งสมาธิจนตัวนิ่งแข็งเป็นก้อนหิน แต่ผลข้างเคียงตามมาก็คือการเป็นคนเจ้าโทสะอย่างรุนแรงขณะเวลาไม่ได้นั่งสมาธิ และ ที่อยู่ในชีวิตประจำวัน....

จนได้พบกัลยณมิตรแดนไกล ที่ได้ชักนำให้มารู้จักวิธีปฏิบัติแบบหลวงพ่อเทียน จนได้พบกับพระอาจารย์ในสายหลวงพ่อเทียน ที่ผมได้เรียนการปฏิบัติจากท่าน จนเข้าใจว่า สัมมาสติ สัมมาสมาธิ คืออะไร แล้วลงมือฝึกฝน การปฏิบัติก็รุดหน้าและได้ลิ้มรสสิ่งบริสุทธิในจิตใจอันเป็นผลจากการปฏิบัติด้วยเวลาเพียง 5 ปี

ธรรมปฏิบัติจากฆราวาสเขียนเป็นสิ่งที่ยอมรับได้ยากในสังคมไทย ผมรู้ได้จากที่เขียนใน blog ผมได้พบกับการก่อกวนใน blog การเขียนเหน็บแนม กระแหนะกระแหน ตำหนิการการปฏิบัติที่ผมเขียนใน blog ว่าผิดทาง เขียนแบบคาดเดาเอา ไม่รู้จริง ให้ผมหยุดเขียนแนวนี้ได้แล้ว และไปโมทนาสาธุแนะนำการปฏิบัติสมาธิแบบฤาษีให้กับผมอีกว่านี่คือทางที่ถูกต้อง ...

บทความใน blog จึงเกิดขึ้นมา เพื่อแบ่งปันประสบการณ์ในการภาวนา
แก่ผู้อื่นที่กำลังเดินทางในสายแห่งอริยมรรคนี้

เมื่อท่านได้เข้ามาอ่านข้อเขียนใน blog กรุณาอย่าได้เชื่อผมจนกว่า ท่านได้ทดลองปฏิบัติแล้วและพิสูจน์ด้วยตัวท่านเอง

**กรุณา .อย่า.ได้บริจาคเงินให้ blog ผมทาง e-wallet ครับ **

******
บทความต่าง ๆ ใน blog นี้
ขอสงวนสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537
ห้ามนำไปดัดแปลง ลอกเลียน หรือนำส่วนหนึ่งส่วนใดไปใช้โดยไม่ได้รับอนุญาต

****
New Comments
Friends' blogs
[Add นมสิการ's blog to your web]
Links
 
MY VIP Friend


 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.