รู้สึกตัว ผ่อนคลาย เฉย ๆ สบาย ๆ **กรุณา .อย่า.ได้บริจาคเงินให้ blog ผม ทาง e-wallet ครับ** **ผมขอสงวนสิทธิการเป็นเจ้าบ้านของ blog ลบข้อเขียนใดๆ ก็ได้ใน blog นี้ตามที่ผมเห็นสมควร**
Group Blog
 
<<
สิงหาคม 2553
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
293031 
 
11 สิงหาคม 2553
 
All Blogs
 

รู้หยาบพาให้รู้สึกตัวได้ดี

การฝึกฝนเพื่อการพ้นทุกข์นั้น จากประสบการณ์ส่วนตัวที่ผ่านมา
ความรู้สึกตัว และ ความไวในการรับรู้ความรู้สึก
นั้น คือ กุญแจหลัก
ที่จะไขไปสู่จุดหมายปลายทางได้

ความรู้สึกตัว คือ กุญแจดอกแรกที่ต้องมีก่อน ถ้าไม่มีความรู้สึกตัว การเห็นความรู้สึกที่ละเีอียดของสภาวะธรรมจะมีไม่ได้เลย

ความรู้สึกตัวของคนทั่ว ๆ ไป มักจะเป็นแบบไม่ต่อเนื่อง คือ มีความรู้สึกตัว แล้วก็ขาดลงไปนาน ๆ แล้วก็กลับมีอีก เป็นอย่างนี้สลับไปเรื่อย ๆ ส่วนสาเหตุก็จะมาจาก จิตไหลออก ไปตามอำนาจของตัณหา ที่พาจิตหลงไปกับวิญญาณ6

จากประสบการณ์ การฝึกฝนเพื่อให้คงความรู้สึกตัวที่ต่อเนื่อง จะได้ผลดีโดยการรับรู้การสัมผัส
ที่หยาบ ๆ ในการรับรู้จากระบบประสาทของคนเรา ที่หยาบที่สุดก็คือ การรับรู้การสัมผัสทางกาย
ตัวอย่างเช่น การกระโดดโลดเต้นขณะออกกำลังกาย การเดิน การขัดถูผิวหนัง การจับ
สิ่งของที่หยาบ ๆ เช่นก้อนหินทีไม่เรียบ การใส่รองเ้ท้าแบบมีปุ่มนวดแล้วเดิน เป็นต้น
เมื่อมีการสัมผัสที่หยาบ ๆ แบบนี้ ก็จะเป็นการกระตุ้นให้เกิดความรู้สึกตัวตามมา

เมื่อฝึกรับรู้ความรู้สึกที่หยาบ ๆ บ่อย ๆ ความรู้สึกตัวก็จะเกิดได้บ่อยจนเป็นความเคยชิน
ที่จะรู้สึกตัวอยู่บ่อย ๆ

ด้วยเหตุผลนี้ ใน blog ของผมนี้ จึงสนับสนุนท่านให้ฝึกกายานุปัสสนาอยู่เสมอ
โดยเฉพาะท่านมือใหม่ทั้งหลาย ท่านจะเริ่มต้นได้ดีทีมีฐานที่มั่นคง ไม่ง่อนแง่น

เมื่อความรู้สึกตัวได้เกิดขึ้น การรับรู้การสัมผัสก็จะมีการพัฒนาขึ้นเองทีละนิด นักภาวนา
จะค่อยๆ มีความสามารถที่จะรับรู้สภาวะธรรมที่ค่อย ๆ ละเอียดขึ้นได้เอง
ซึ่งสภาวะธรรมที่ละเอียดมาก ๆ ก็จะเป็นสภาวะธรรมที่เกิดขึ้นในจิตใจ


ถ้าความรู้สึกตัวไม่แน่นพอ เมื่อเกิดสภาวะธรรมในจิตใจ การปรุงแต่งที่เกิดขึ้นในจิตใจ
มันจะเร็วมาก และอวิชชาที่คลุมจิตจะปล่อยโมหะออกมา ทำให้จิตที่รู้สึกตัวเกิดการเผลอขึ้นมา
ทันที ทำให้คนใหม่ ๆ ไม่อาจเห็นสภาวะธรรมทางจิตใจได้ เพราะโมหะเข้าครอบงำไปแล้ว

คำกล่าวของครูบาอาจารย์ที่ว่า การดูจิตเป็นหนทางทีั่ลัดสั้น ผมก็เห็นด้วย
แต่ครูบาอาจารย์ท่านกล่าวไว้แบบละไว้ในฐานที่เข้าใจว่า ต้องมีรากฐานของความรู้สึกตัว
ที่แน่นอยู่แล้ว ถ้าใครไม่เข้าใจในสิ่งที่ละไว้ ก็อาจเข้าใจผิด ไปดูจิตดูใจโดยที่ไม่มีฐาน
ของความรู้สึกตัวอยู่ ซึ่งเป็นการปฏิบัติที่ลัดขั้นตอนแล้วท่านจะไม่ได้ผลแห่งการปฏิับัติ

ในชีวิตจริงของคน จะมีการสัมผัสทางกายมากมายตั้งแต่ตื่นนอน
การอาบน้ำ แปรงฟัน ใส่เสื้อผ้า รับประทานอาหาร ขึ้นรถเมล์ ขับรถ เดินไปทำงาน
พิมพ์คอมพิวเตอร์ ใช้โทรศัพย์ ซักผ้า ถูบ้าน ทำอาหาร ทำความสะอาดบ้าน และอื่น ๆอีกสารพัด
นี่คือบทเรียนการสัมผัสที่เกิดขึ้นให้ท่านได้ฝึกฝนทั้งนั้น
เพียงเริ่มขึ้นให้มีเชื้อแห่งความรู้สึกตัวได้บ้าง แล้วก็อาศัยสื่อเหล่านี้ในชีิวิตประจำวัน
ฝึกฝนไปด้วย ก็จะเป็นการฝึกนอกรูปแบบที่ดีเ่ช่นกัน

*****
เรื่องท้ายบท

1. สำหรับคนสูงวัย คนเป็นอัมพฤต อัมพาต
การนวดตนเองโดยใช้มือ นวดไปที่ร่างกาย เช่นแขนขา ฝ่ามือ ฝ่าเท้า
นิ้วมือ นิ้วเท้า ในขณะที่นวดจะรู้สึกถึงการนวดนี้ได้
นอกจากได้ประโยชน์ต่อร่างกาย แล้วโดยเฉพาะผู้สูงวัย คนเป็นอัมพฤต
อัมพาตบางส่วน ยังเป็นการฝึก กายานุปัสสนาสติปัฏฐานไปด้วยในขณะเดียวกัน

วิธีการก็เป็นธรรมชาติ ใจไม่ต้องคิดอะไร ไม่ต้องวิตกกังวลอะไร
ใช้มือบีบนวดไปอย่างสบาย ๆ เท่านั้น ก็เป็นการฝึกฝนแล้ว
ขณะดูโทรทัศน์ก็นวดได้ นอนเล่นอยู่ก็นวดได้

นวดบ่อย ๆ ได้ทั้งกายได้ทั้งจิตใจ

********************

2. ท่านที่อ่านเรื่อง ความรู้สึกตัว คือ ปัญญา แล้วยังมองภาพไม่ออกในการปฏิบัติ ผมจะเขียนเรื่องนี้เป็นการอุปมาให้ท่่านเห็นภาพให้ชัดขึ้นเกี่ยวกับการปฏิบัติ

ท่่านเคยไปเที่ยงต่างถิ่นหรือต่างประเทศโดยรถทัวร์ไหมครับ อาจไปเองหรือไปกับบริษัททัวร์ก็ได้

คนที่ขึ้นรถทัวร์แล้ว ในระหว่างที่รถวิ่งไปยังไม่ถึงจุดหมายที่จะจอดรถ
คนในรถจะมีพฤติกรรมอยู่ 3 อย่างด้วยกัน คือ
A..หลับ
B..คุย
C..นั่งเงียบ ๆ ดูวิวข้างทางไปเรื่อย ๆ

พฤติกรรมทั้ง 3 อย่างก็เหมือนกับการปฏิบัติธรรม

A..หลับ
ถ้าท่านนั่งหลับ ท่านจะไม่ได้ยินอะไรเลย ไม่เห็นอะไรเลย รถไปถึงไหนแล้วก็ไม่รู้
ข้างทางเป็นอย่างไรก็ไม่รู้ ซึ่งจะเหมือนกับคนที่ขาดความรู้สึกตัว จิตถูกโมหะครอบงำ
ที่ไม่รู้สภาวะธรรมที่เิกิดขึ้นรอบ ๆ ตัว

ถ้าสมมุิติว่า ในรถคันนั้น มีคนบ้ากำลังเอามีดไล่แทงผู้โดยสารในรถอยู่ คนที่นั่งหลับ
ก็ไม่อาจจะป้องกันตัวเองได้ เพราะไม่รู้เหตุการณ์นั้นเอง

B..คุย
การคุยยังดีกว่าการหลับ เพราะยังมีความรู้สึกตัวอยู่บ้าง ยังรู้อะไรอยู่บ้าง
แต่ก็สนใจแต่การคุย ทำ้ให้ประัสิทธิการรับรู้เรื่องรอบ ๆ ตัวลดน้อยลงไป
การคุย นี้เปรียบได้กับคนที่มีนิวรณ์ครอบงำอยู่ จิตถึงติดอยู่กับนิวรณ์

C..นั่งเงียบ ๆ ดูวิวข้่างทางไปเรื่อย ๆ
การดูวิวข้างทางไปเรื่อย ๆ นี้จะเหมือนกับวิปัสสนา ที่ผู้ปฏิบัตินั่งดูสภาวะธรรมไปเรื่อยๆ
ไม่ต้องทำอะไร เพียงดูอย่างเดียว
เพราะในขณะที่รถวิ่งไป การดู ก็จะเห็นคน สัตว์ ชีวิตชาวบ้าน กิจกรรมต่าง ๆ
ของชาวบ้าน อาจเห็นตนต่อยกัน อาจเห็นตำรวจวิ่งไล่จับคนร้าย และอื่น ๆ
แต่เนื่องจากตัวท่านอยู่ในรถ จึังทำอะไรไม่ได้ เพียงแต่เห็น และการเห็นนี้
ก็เร็วมาก เพราะรถวิ่งไปเรือย ๆ ไม่หยุดนั้นเอง

การเห็นสภาวะธรรมของวิปัสสนา จะเหมือนอย่างนี้มาก
ตาเห็น หูได้ยิน จมูกได้กลิ่น ลิ้นได้รส กายได้สัมผัส ใจรู้นึกคิด
ถ้าไม่มีการยึดติดกับสิ่้งใด สิ่งนั้นพอผ่านเข้ามาก็จะจบทันทีเช่นกัน
เหมือนท่านเห็นภาพชาวนาที่กำลังไถนา พอรถผ่านไป ภาพอื่นก็จะเข้ามา
แทนที่ภาพชาวนานั้นทันที

ท่่านจะเห็นว่า ขบวนการปฏิบัติธรรมนั้นไม่ยุ่งยาก
เพียงท่านหมั่นรู้สึกตัวอยู่เป็นนิจเท่านั้น ไม่ต้องไปทำอะไร
ไม่ต้องไปยุ่งกับสิ่งใด ไม่ต้องไปคิดอะไรเลย เพียงรับรู้
แล้วปล่อยสิ่งทีรับรู้นั้นผ่านไป ก็เท่านั้นเอง

แต่ที่เป็นปัญหาของนัำกภาวนา ก็คือ การยึดติด(ตัณหา)
พอท่านเห็นอะไร ได้ยินอะไร ก็อดไม่ได้ ต้องนำสิ่งที่เห็น
สิ่งที่ได้ยิน มาครุ่นคิดคำนึงถึงอยู่ นี่คืออาการพอใจ ไม่พอใจ
แห่งจิตใจนั้นเอง ซึ่งนักภาวนาที่เข้าใจ ก็ให้ละการกระทำ
เหล่านี้เสีย แล้วขบวนการแห่งวิปัสสนาก็จะเดินของมันไปเอง

***************

3.ทุกข์ของนัำกภาวนาคือความอยากที่ต้องการรู้ธรรมยิ่ง ๆ ขึ้นไป
ก่อนคนที่จะมาภาวนา ทุกข์อย่างนี้ไม่เคยเกิดเลย พอมาภาวนาเท่านั้น ก็เกิดขึ้น

ความแตกต่างของนักภาวนาที่รู้ธรรมอันยิ่ง กับนักภาวนาที่เพิ่งเริ่มต้นก็คือ
นักภาวนาทีรู้ธรรมอันยิ่ง จะไม่เข้าไปในความคิดที่เกิดขึ้น ทำให้นักภาวนาที่รู้ธรรมอันยิ่ง
คงความรู้สึกตัวที่ต่อเนื่อง ไม่เกิดความหลง

แต่นัำกภาวนาที่เพิ่งเริ่มต้น มักเข้าไปในความคิด แล้วก็เกิดเผลอสติขึ้นมา

เพียงท่านรู้สึกตัวอย่างต่อเนื่อง ไม่ต้องไปสนใจเลยว่า จะรู้ธรรมมากขึ้นหรือไม่
ท่านก็ไม่ทุกข์แล้ว แล้วความไม่ทุกข์ที่ประกอบด้วยความรู้สึกตัวนี่แหละ
จะทำให้ท่านเห็นธรรมอันยิ่งขึ้นไปเรื่อย ๆ


Free TextEditor




 

Create Date : 11 สิงหาคม 2553
10 comments
Last Update : 29 มกราคม 2555 16:03:56 น.
Counter : 1162 Pageviews.

 

อืม....ครับ
"อบอุ่นรัก ใดเล่า เท่าอกแม่
รักแน่แท้ แม่ให้ ด้วยใจมั่น
ใครรักเรา เท่าไร ไม่มีวัน
จะเทียบทัน รักแท้ แม่ให้เรา"

 

โดย: panwat 11 สิงหาคม 2553 11:43:18 น.  

 

เขียนได้ดีมากครับ

การรับรู้การสัมผัสทางกาย
ตัวอย่างเช่น การกระโดดโลดเต้นขณะออกกำลังกาย การเดิน การขัดถูผิวหนัง การจับ
สิ่งของที่หยาบ ๆ เช่นก้อนหินทีไม่เรียบ การใส่รองเ้ท้าแบบมีปุ่มนวดแล้วเดิน เป็นต้น

เสนอความเห็นว่า
การเปลี่ยนอิริยาบถ
จะเป็นการ
clear ความคิดที่ฟุ้งซ่านให้ว่างได้ชั่วขณะแว๊บนึง

ถ้าไม่เคยฝึกสมาธิ จะปักสติลงได้ แต่ก็ไม่ทัน
จะเห็นความว่างนั้น ก็ไหลไปกับความคิดอื่นต่อ
(ความคิดอื่นที่เร็วมากจะมามั่วต่อ)
จึงไม่เริ่มเห็นความว่างจากความคิดซะที

แต่

หากเคยฝึกสมาธิมาก่อนจะปักสติได้นานขึ้น
แล้วเห็นความว่างชั่วขณะได้นานขึ้น เหมือนกับ
มีช่องว่างนานขึ้นที่จะเห็นได้ง่ายขึ้น

จึงเป็นที่มาของคน มักจะงงๆ ว่าฝึกยังไงกันเนี่ย
ฝึกแล้วจะเห็นอะไรเนี่ย เพราะคนไม่เคยได้พบ
กับช่องว่างดังกล่าว จะโดน ความคิดที่เร็วมาก กลบ
ก่อนที่ จะจับได้ทัน

 

โดย: being IP: 58.9.77.125 11 สิงหาคม 2553 15:39:08 น.  

 

ขอบคุณที่ให้สิ่งที่ดีๆมาตลอด
อนุโมทนาสาธุ สาธุ
ขอให้ก้าวหน้าในธรรมยิ่งๆขึ้นค่ะ

 

โดย: เพื่อนธรรม IP: 118.173.85.224 11 สิงหาคม 2553 17:06:00 น.  

 

ในนักภาวนามือใหม่ ถ้าสัมมาสติไม่ตั้งมั่น
พอความคิดเกิด ก็จะหลงเข้าไปในความคิดทันที
แล้วทุกข์ก็จะตามมาหาเขาเพราะการหลงเข้าไปในความคิดนั้น

แต่ถ้าไม่มีความคิดอยู่ นักภาวนามือใหม่ ก็ย่อมรู้ว่า
ไม่มีความคิด แต่เขาจะไม่เห็นสิ่งที่ไม่มีนั้น

การเห็นความคิด การเห็นว่าไม่มีความคิด
มาจากสัมมาสติที่ตั้งมั่นทั้งนั้น การหมั่นฝึกฝน
ที่หยาบ ๆ ทางกายนี่แหละ ช่วยให้นำพาได้ถึงอย่างแน่นอน

ถ้าปฏิบัติถูกต้องและมีความเพียรอย่างต่อเนื่อง

 

โดย: นมสิการ 11 สิงหาคม 2553 18:21:41 น.  

 

ถูกใจจริง ๆ ครับ ได้กำลังใจอีกเยอะครับ ขออนุญาตเรียกอาจารย์ได้ไหมครับ ขอถามอาจารย์ต่อดังนี้ครับ
1 ขณะที่เรานั่งอ่าน เน็ต เราเอามือถูกันไปอ่านไปได้ไหมครับ
2 ขณะที่เดินหรือวิ่ง เราจะรู้สึกตัวหรือไม่ไม่ต้องใส่ใจ ไม่ต้องไปดักรอมันใช่ไหมครับ
3 อาบน้ำ แปรงฟัน ทานอาหารฯลฯ เราไม่ต้องไปหาความรู้สึกตัว ปล่อยให้มันมาเอง มันไม่มา(หลง หรือไม่รู้จักความรุ้สึกตัว)ก็ช่างมัน ใช่ไหมครับ (มันไม่ชัดเหมือนการลูบสัมผัส)
ขอบพระคุณมากครับ
ที่ทั้งชี้แนะและให้กำลังใจ
ที่สำคัญ อ่านแล้วเข้าใจง่ายขึ้นครับ

 

โดย: คนใหม่ IP: 222.123.30.14 11 สิงหาคม 2553 21:00:40 น.  

 

ตอบคุณคนใหม่
1 ขณะที่เรานั่งอ่าน เน็ต เราเอามือถูกันไปอ่านไปได้ไหมครับ
>>> ได้ครับ หรือ จะถูขาก็ได้ หรือ จะขยับมือแบบเด็กที่สอนเขา
ที่เรียกว่า จับปูดำ ขยำปูนา ก็ได้ครับ

2 ขณะที่เดินหรือวิ่ง เราจะรู้สึกตัวหรือไม่ไม่ต้องใส่ใจ ไม่ต้องไปดักรอมันใช่ไหมครับ
>> การวิ่งนี่ให้รู้สึกตัวไปด้วยครับ และจะรู้สึกที่แรงมากภายในร่างกาย
เพราะมีการสั่นสะเทือนไปทั้งร่างกาย และเท้า
เวลาคุณนั่งรถอยู่ แล้วรถวิ่งไปบนถนนที่ขรุขระ รถจะสั่น คนนั่งรถจะสั่น
ด้วย คล้าย ๆ อย่างนั้น แต่แรงกว่ามาก และ รู้สึกถึงได้ดี
สมัยที่ผมเริ่มฝึกใหม่ ๆ ผมก็รู้ความรู้สึกจากการวิ่งนี้แหละครับ
เป็นการรับรู้ความรู้สึกภายในร่างกายที่ดีมาก ๆ ทีเดียว
พวกแอร์โรบิคก็ได้ครับ รู้สึกถึงการสั่น การเคลื่อนไหวร่างกาย ได้ดีเช่นกัน
พวกหนังจีน วัดเส้าหลิน ที่ฝึกอาวุธ นี่ก็เคลื่อนไหว รู้สึกได้
การเคลื่อน การไหว การหยุด เป็นการฝึกอาวุทและกายานุปัสสานาที่ดีมากทีเดียว

3 อาบน้ำ แปรงฟัน ทานอาหารฯลฯ เราไม่ต้องไปหาความรู้สึกตัว ปล่อยให้มันมาเอง มันไม่มา(หลง หรือไม่รู้จักความรุ้สึกตัว)ก็ช่างมัน ใช่ไหมครับ (มันไม่ชัดเหมือนการลูบสัมผัส)
>> ขณะอาบน้ำ ถ้าคุณรู้สึกตัวอยู่ เวลาคุณถูร่างกาย ก็จะรู้สึก
เวลาน้ำโดนตัว ก็จะรู้สึก จมูกก็ได้กลิ่นสบู่
ขณะแปรงฟัน ถ้าคุณรู้สึกตัว จะรู้สึกได้ถึงรสยาสีฟัน รู้สึกได้ถึงแปรงทีสัมผัสกับฟัน เหงือก เวลาอมน้ำ กลั็วปาก ก็จะูรู้สึกถึงน้ำที่มันสัมผัสภายในปากได้ดี เช่นเดียวกับการรับประทานอาหาร
เวลาเคี้ยว ปากก็จะขยับไปมา ก็รูุ้สึกถึงการขยับไปมาได้ เวลาออกแรกขบกัดอาหาร ก็จะรู้สึกถึงได้ถึงการออกแรงขบกัดอาการ
อาหารเข้าปาก ก็รู้รส แต่ไม่สนใจว่านี่รสชื่ออะไร ไม่ต้องไปสนใจว่า
นี่เปรียว นี่หวาน นี่เค็ม เพียงแต่รู้ว่ามีรสเกิดขึ้นก็พอ

พอมองภาพออกนะครับว่า การรู้ความรู้สึกในชีิวิตประจำวันนี้ ดูอย่างไร

 

โดย: นมสิการ 11 สิงหาคม 2553 23:06:45 น.  

 

ขอบพระคุณมากครับ
จะพยายามต่อไปhttps://www.bloggang.com/emo/emo15.gif

 

โดย: คนใหม่ IP: 117.47.41.38 12 สิงหาคม 2553 12:40:18 น.  

 

ขอเรียนถามอาจารย์ดังนี้ครับ
1 ผมลองวิ่งเหยาะ ๆ โดยใช้ปลายเท้าลงพื้น รู้สึกว่าร่างกายมันจะส้่นโยกขึ้นลง คล้ายคนขี่ม้า คล้ายรถสั่นเวลาวิ่งบนคลื่นจริง ๆ ให้ความรุ้สึกได้ดีจริง ๆ ครับ คราวนี้ มันมีแต่ความคิดกับความรู้สึกตัวที่จะเล่นเก้าอี้ดนตรีกันใช้ไหมครับ แต่ก็ยังดูความคิดไม่ท้นอยู่ดี ใช่ไหมครับ
ขอบคุณมากครับ

 

โดย: คนใหม่ IP: 222.123.68.213 12 สิงหาคม 2553 21:09:25 น.  

 

เมื่อคุณคนใหม่รู้สึกถึงอาการสั่้นโยกโคลงเป็นแล้วในขณะวิ่ง นี่ก็คือการปฏิบัติแล้ว ส่วนเรื่องความคิดนั้น อย่าเพิ่งสนใจว่าทันหรือไม่ทัน
มันเกิดก็ช่างมัน ไม่ต้องไปใส่ใจมัน เพียงรู้ว่ามันเกิดก็พอแล้ว พอรู้ว่ามันเกิดขึ้น แต่ให้หยุดมันเสีย อย่าให้มันคิดต่อไปอีก
แล้วก็มารู้สึกที่มันโยกโคลงขณะวิ่งต่อไปอีก แล้วความคิดมันจะก็เำกิดอีก
ก็ทำเหมือนเดิมอีก คือ มันเกิดก็เพียงรู้ แล้วหยุดมัน
อย่าให้มันคิดต่อไป ให้ฝึกอย่างนี้ไปเรื่อย ๆ แต่อย่่าอารมณ์เสีย
กับความคิดที่มันเกิด ความคิดมันเกิดนะดีมากครับ เพราะจะทำให้เราฝึกฝนการเห้นความคิดได้ทันต่อไปในอนาคต ยิ่งเกิดมาก เราก็หยุดมันบ่อย นี่เท่ากับเราได้ฝึกมากครัี้งด้วยกัน
เข้าใจนะครับ วิธีจัดการกับความคิด
ผมเสริมให้นิดครับ ปัญญานั้นจะมากับความคิดครับ มันยิ่งคิด
เราฝึกหยุดความคิดบ่อย ๆ ก็จริง แต่ถ้าความคิดที่เป็นปัญญามา เราก็จะรู้ปัญญานี้ได้เหมือนกัน ไม่ต้องไปกังวลว่า การหยุดความคิด จะไม่เกิดปัญญาครับ

 

โดย: นมสิการ 12 สิงหาคม 2553 21:31:08 น.  

 

ผมจำเป็นต้องปิดการเขียนของท่านผู้อ่าน เนื่องจากกฏหมายอินเตอร์เนท
ที่อาจมีสิ่งผิดกฏหมายใส่เข้ามาใน blog

ท่านที่จะสนทนา หรือ ถามคำถาม ขอให้ส่ง email ถึงผมได้ที่
asknamasikarn@gmail.com

หรือสำหรับสมาชิก pantip จะส่งมาทางหลังไมค์ก็ได้เช่นกัน

 

โดย: นมสิการ 29 มกราคม 2555 16:30:45 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะ VIP Friend
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 


นมสิการ
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 142 คน [?]




หลักปฏิบัติ ...รู้สึกตัว ผ่อนคลาย เฉย ๆ สบาย ๆ

มากกว่า 20 ปีที่ไปหลงทำสมถภาวนาแบบสมาธิแบบฤาษีโดยที่ไม่รู้จักกับคำว่า อะไรคือสัมมาสติ สัมมาสมาธิ ผลที่ได้คือความสงบขณะกำลังนั่งสมาธิจนตัวนิ่งแข็งเป็นก้อนหิน แต่ผลข้างเคียงตามมาก็คือการเป็นคนเจ้าโทสะอย่างรุนแรงขณะเวลาไม่ได้นั่งสมาธิ และ ที่อยู่ในชีวิตประจำวัน....

จนได้พบกัลยณมิตรแดนไกล ที่ได้ชักนำให้มารู้จักวิธีปฏิบัติแบบหลวงพ่อเทียน จนได้พบกับพระอาจารย์ในสายหลวงพ่อเทียน ที่ผมได้เรียนการปฏิบัติจากท่าน จนเข้าใจว่า สัมมาสติ สัมมาสมาธิ คืออะไร แล้วลงมือฝึกฝน การปฏิบัติก็รุดหน้าและได้ลิ้มรสสิ่งบริสุทธิในจิตใจอันเป็นผลจากการปฏิบัติด้วยเวลาเพียง 5 ปี

ธรรมปฏิบัติจากฆราวาสเขียนเป็นสิ่งที่ยอมรับได้ยากในสังคมไทย ผมรู้ได้จากที่เขียนใน blog ผมได้พบกับการก่อกวนใน blog การเขียนเหน็บแนม กระแหนะกระแหน ตำหนิการการปฏิบัติที่ผมเขียนใน blog ว่าผิดทาง เขียนแบบคาดเดาเอา ไม่รู้จริง ให้ผมหยุดเขียนแนวนี้ได้แล้ว และไปโมทนาสาธุแนะนำการปฏิบัติสมาธิแบบฤาษีให้กับผมอีกว่านี่คือทางที่ถูกต้อง ...

บทความใน blog จึงเกิดขึ้นมา เพื่อแบ่งปันประสบการณ์ในการภาวนา
แก่ผู้อื่นที่กำลังเดินทางในสายแห่งอริยมรรคนี้

เมื่อท่านได้เข้ามาอ่านข้อเขียนใน blog กรุณาอย่าได้เชื่อผมจนกว่า ท่านได้ทดลองปฏิบัติแล้วและพิสูจน์ด้วยตัวท่านเอง

**กรุณา .อย่า.ได้บริจาคเงินให้ blog ผมทาง e-wallet ครับ **

******
บทความต่าง ๆ ใน blog นี้
ขอสงวนสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537
ห้ามนำไปดัดแปลง ลอกเลียน หรือนำส่วนหนึ่งส่วนใดไปใช้โดยไม่ได้รับอนุญาต

****
New Comments
Friends' blogs
[Add นมสิการ's blog to your web]
Links
 
MY VIP Friend


 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.