การล่มสลายของอาณาจักรแห่งเทพเจ้าของนครวัดอันรุ่งเรือง.....จากมหาอุทกภัยน้ำท่วมใหญ่ราว พ.ศ.1870
 
         จากการพิสูจน์หลักฐานทางภูมิศาสตร์และโบราณคดี พบว่าการสร้างเทวสถานปราสาทหินอันมากมายของอาณาจักรนครวัดอันรุ่งเรืองที่เคยเชื่อว่ามีเทพเจ้าคอยปกปักษ์รักษาตลอดกาลนั้น ทรุดโทรมลงจากสาเหตุการตัดไม้เพื่อใช้ก่อสร้างเทวสถานปราสาทหินกันมากมายและบุกเบิกขยายพื้นที่ทำการเกษตรบนภูเขาเพื่อผลิตอาหารเลี้ยงเมืองใหญ่อันโอ่อ่าได้ทำลายสมดุลย์ของระบบนิเวศน์บนภูเขาพนมกุเลนที่เป็นป่าต้นน้ำลำธารอันศักดิ์สิทธิ์ส่งผลให้เกิดมหาอุทกภัยน้ำท่วมใหญ่ ทำลายระบบชลประทานที่ซับซ้อนและยิ่งใหญ่ในการผลิตลง ส่งผลให้เกิดภาวะอดยาก โรคระบาด ความขัดแย้งในสังคม ฯล ได้ทำลายความเชื่อและศรัทธาในเทพเจ้าต่างๆของพราหมณ์ว่าไม่สามารถปกปักษ์รักษาบ้านเมืองเอาไว้ได้ทำให้ประชาชนหันมานับถือพุทธศาสนาทีมีอิสระเสรีภาพที่ดีกว่าเดิม    (เทวสถานปราสาทหินทั้งหลายนั้นสร้างบนพื้นฐานความเชื่อและศรัทธาในเทพเจ้าทั้งหลายรวมทั้งการสร้างให้เป็นศูนย์กลางของโลก-จักรวาลหรือสัญญลักษณ์ของระบบสุริยะจักรวาล นั้นต้องใช้แรงงานทาสนับล้านคนและการเก็บภาษี-เกณฑ์แรงงานพลเมืองทียาวนาน สร้างความระทมทุกข์แก่ประชาชนส่วนใหญ่)
         ปราสาทนครวัดสร้างในระหว่างที่พระเจ้าศรีสูรยวรรมันที่ 2 ยังทรงพระชนม์ชีพอยู่เมื่อสร้างแล้วก็จำหลักรูปพระวิษณุมาประดิษฐานไว้ตรงปรางค์องค์กลาง ที่เอารูปพระวิษณุมาประดิษฐานก็เพราะทรงนับถือศาสนาพราหมณ์นิกาย วิษณุเวฏ ซึ่งถือว่าพระวิษณุเป็นเทพที่ยิ่งใหญ่กว่าเทพทั้งปวง รูปพระวิษณุนั้นสร้างขึ้นโดยให้มุ่งเป็นรูปแทนตัวของศรีสูรยวรรมันที่ 2 เพราะถือว่าพระองค์คือพระวิษณุอวตารลงมาปกครองโลก
รูปพระวิษณุเทพ หรือพระนารายณ์
พระวิษณุเทพ ปราสาทนครวัด
       พงศาวดารขอมเล่าเรื่องนี้ว่าเมื่อพระเจ้าปักษีจำกรุงทิวงศ์คตแล้ว อนุชาสามองค์ได้สืบต่อราชสมบัติกันต่อมา พอถึงองค์ที่สามก็เกิดขัดแย้งกับพราหมณ์ปุโรหิตอย่างขนาดหนัก ถึงกับปุโรหิตอพยพครอบครัวโคตรวงศ์หนีไปอยู่ต่างเมืองและกล่าวประณามว่ากษัตริย์ไม่ตั้งอยู่ในทศพิธราชธรรม ร่องรอยนี้ส่อให้เห็นความแตกแยกที่เกิดขึ้นในราชสำนัก ระหว่างกษัตริย์กับพราหมณ์ซึ่งเคยเป็นคู่คิดคู่หูกันในการอ้างอำนาจให้เห็นว่ากษัตริย์ในยุคนั้นคือเทพเจ้าอวตาร ทางฝ่ายพระยานาคต้นตระกูลของอาณาจักรกัมพูชาโกรธกริ้วที่กษัตริย์ไม่ตั้งอยู่ในทศพิธราชธรรมจึงพ่นน้ำออกท่วมเมืองศรียโศธรปุระ พวกเสนาประชาราษฏร์ต้องอาศัยลอยเรือไปพักตามภูเขาต่างๆ พวกไม่มีเรือก็จมน้ำตายเสียมากเหลือจะคณานับ (น่าจะเป็นดินโคลนถล่มร่วมด้วยเหมือนเหตุการณ์น้ำทว่มน้ำก้อ น้ำชุน เพชรบูรณ์)…เรื่องน้ำท่วมมีเค้าเรื่องจริงอยู่ เพราะในบริเวณวังในนครธมมีร่องรอยยกพื้นวังเดิมขึ้นสูงอีกเป็นศอกๆ ซึ่งเข้าใจว่าหนุนวังหนีน้ำ แต่น้ำท่วมใหญ่คราวนั้นน่าจะท่วมอยู่นาน พืชผลคงเสียหายมาก ผู้คนก็คงจะอดหยากล้มตายไปไม่น้อย บ้านเมืองเห็นจะทรุดโทรมไปมากทีเดียว พงศาวดารกล่าวว่าทางกรุงศรีอยุธยาของไทยจัดเรือสำเภาออกไปช่วยรับเอากษัตริย์และราชวงศ์กัมพูชามาประทับรอน้ำแห้งอยู่ที่อยุธยาจนกระทั่งกษัตริย์ทิวงศคตในอยุธยานั้นเอง และว่าในคราวนั้นเองที่ไทยขอพระแก้วมรกต ที่เขมรพาอพยพมาด้วยนั้นไว้สักการะบูชา ทางเขมรเห็นว่าไทยได้มีบุญคุณช่วยเหลือมาก จึงยินดีถวายพระแก้วมรกตให้ไว้ .เมืองไทย ...เมื่อน้ำลดลงแล้ว ราชวงค์เขมรก็กลับกันไปยังนครธม แต่บ้านเมืองร่วงโรยเสียหายแทบยับเยิน ผู้คนล้มตายแตกฉานหนีน้ำและพบความอดหยากไปจนเกื่อบหมด รวบรวมคนขึ้นได้ไม่มากมายเท่าใดนักก็ราชาภิเษกราชบุตรของกษัตริย์ที่มาทิวงคตในกรุงศรีอยุธยาเป็นกษัตริย์กัมพูชาต่อไป ซึ่งในรัชกาลนี้แหละที่เกิดรัฐประหารขึ้นและราชวงศ์วรรมันก็สูญเสียอำนาจไปโดยไม่มีวันได้กลับคืน...เรื่องไทยส่งเรือออกไปรับราชวงศ์กัมพูชามาประทับหนีน้ำอยู่ กรุงศรีอยุธยานี้ ไม่ปรากฏในพงศาวดารกรุงศรีอยุธยาแต่อย่างใด ในพงศาวดารกัมพูชาจดไว้ว่าพระเจ้าอาทิตยราช...อาจเป็นกษัตริย์ในแถบเมืองอู่ทอง หรือเมืองอโยธยาเดิม คงไม่ใช่พ่อขุนศรีอินทราทิตย์กษัตริย์ต้นวงศ์สุโขทัย (สัณนิษฐานว่าเหตุการน้ำท่วมใหญ่ครั้งนี้น่าจะเกิดหลังทูตจีน โจวต้ากวน ไปเยือนกัมพูชา เพราะถ้าเกิดก่อนนั้นคงต้องเล่าเอาไว้ในบันทึก )



Create Date : 20 กุมภาพันธ์ 2556
Last Update : 20 กุมภาพันธ์ 2556 11:28:02 น.
Counter : 3863 Pageviews.

0 comments
ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
 *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

surya21
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 50 คน [?]



New Comments
กุมภาพันธ์ 2556

 
 
 
 
 
2
3
4
5
6
9
10
13
14
16
18
19
21
22
23
24
25
27
28
 
 
All Blog