พระพุทธเจ้าค้นพบอะไรในจารึกธรรมจักรปฐมเจดีย์...มหาพุทธสถานบุโรบุโดร์ ชวา พ.ศ 1200

The Borobudur Templeมหาพุทธสถาน บุโรบุโดร์ สถาปัตยกรรมที่จำลองตำราพุทธศาสนาเล่มใหญ่ที่สุดในจักรวาล วงกลม 3 วงส่วนยอดนั้นอาจเป็นการหมุนของอริยสัจจ์ 3 รอบ ตามจารึก ธรรมจักร ปฐมเจดีย์ พุทธศตวรรษที่ 12

 วัฏฏสงสาร ของสามโลกได้แก่ สีแดง-กามโลก รูปโลก-สีน้ำตาลออ่น อรูปโลก-สีเหลือง ...วงกลมชั้นในสุดคือพระนิพพานอันเป็นความว่าง   มหาสถูปนี้ประกอบด้วย 10 ชั้นทีเป็นตัวแทนของการบำเพ็ญบารมี 10 ประการ ของการเป็นพระโพธิสัตว์และ มีพระพุทธรูปทั้งหมด 504 องค์

ถ้าวัฏฏสงสารคือความเต็ม พระนิพพานก็คือความว่าง...ขั้นตอนของการพัฒนาจิตมนุษย์ ตามแนวทางการบำเพ็ญบารมี10 หรือ ทศบารมี และการเจริญสติปัฐฐาน 4 และเจริญวิปัสสนากรรมฐาน จะทำให้ผูนั้นมีจิตยกระดับภูมิจาก กามธาตุ สู่ รูปธาตุและอรูปธาตุ ตามลำดับ และเลื่อนระดับจิตเข้าสู่พระนิพพาน ดังมหาสถูปส่วนยอดทีใหญ่ที่สุดโดยมีความว่างอยู่ภายในนั่นคือจิตเดียวอันบริสุทธ์ของพระอรหันต์ ผู้บรรลุแห่งพระนิพพาน ที่พระสมณะโคดม ค้นพบเมื่อ 2556 ปีมาแล้ว

File:Stupa Borobudur.jpg

ช่องสีเหลี่ยมในสถูปน่าจะหมายถึง อริยสัจจ์ 4 หรือการเจริญสติปัฐฐาน 4 ส่วนสถูปที่มีช่องรูปทรงขนมเปียกปูน น่าจะหมายถึง มรรค 8  (ขอขอบคุณภาพจาก วิกิพีเดีย )

จารึกธรรมจักร ๑ (นครปฐม) กำหนดอายุตามรูปแบบอักษรปัลลวะ อายุราวพุทธศตวรรษที่ ๑๒ ศ. ยอร์ช เซเดส์ได้เสนอความเห็นไว้ว่า “สิ่งแปลกประหลาดที่น่าสนใจที่สุดเกี่ยวกับธรรมจักรวงนี้ก็คือ มีจารึกภาษาบาลีสั้นๆ เป็นตอนๆ สลักอยู่ทางด้านหน้าด้านหนึ่ง ตัวอักษรที่ใช้นั้น มีลักษณะใกล้เคียงกันมากกับตัวอักษรที่ใช้ในจารึกอื่นๆ ของอาณาจักรทวารวดีคือ จารึกคาถา เย ธมฺมา ที่ค้นพบในบริเวณองค์พระปฐมเจดีย์  ... คาถาที่ปรากฏอยู่นี้ อาจเรียกอย่างง่ายๆ ว่า “คำพรรณนาถึงพระอริยสัจ ๔” โดยมีเนื้อหากล่าวเปรียบเทียบว่า จักร คือ พระธรรมของพระพุทธเจ้า ซึ่งแสดงถึง  อริยสัจจ์ ๔ คือ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค โดยหมุนวนครบ ๓ รอบ เป็นสัจจญาณ กิจจญาณ กตญาณ มีอาการ ๑๒ อย่าง คำพรรณนาเช่นนี้ ยังพบได้ใน จารึกเสาแปดเหลี่ยม (ซับจำปา) (หรือ ลบ. ๑๗) และ จารึกฐานรองพระธรรมจักร (สพ. ๑) แต่จะมีคำต่างกันเล็กน้อย คือ ในจารึกทั้ง ๒ ที่กล่าวข้างต้นจะใช้คำว่า “วตฺตํ” แต่ในขณะที่จารึกธรรมจักร ๑ (นครปฐม) นี้ จะใช้คำว่า “วฏฺฏํ” สำหรับคำจารึกนี้ ศ. ยอร์ช เซเดส์ ได้กล่าวเกี่ยวกับที่มาว่า “เราไม่สามารถที่จะค้นหาที่มาอย่างถูกต้อง ของคำพรรณนาถึงพระอริยสัจ ๔ ได้ เพราะเหตุว่าคำนี้มีกล่าวอยู่ทั่วไปในคัมภีร์ต่างๆ ทางพระพุทธศาสนา สำหรับการแสดงถึงญาณ ๓ ประการที่เกี่ยวกับพระอริยสัจ ๔ คือเกี่ยวกับกิจที่จะต้องกระทำ และกิจที่ได้ทำแล้วนั้น เราจะเห็นว่ามีอยู่ในหนังสือมหาวัคค์ แห่งพระวินัยปิฏก เช่นเดียวกับในหนังสือของพระอรรถกถาจารย์ คือ สมันตปาสาทิกา แต่จารึกบนกำนั้นได้ให้ความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับประโยชน์ ๔ อย่าง (อัตถ) แห่งความจริงของมรรค คือ การนำ เหตุ การเห็น และความสามารถ ข้อความนี้อาจจะมาจากคัมภีร์ ปฏิสัมภิทามัคค์ หรือ จากหนังสือวิสุทธิมัคค์ ของพระพุทธโฆส และจากหนังสืออธิบายของพระธัมมปาละ ทั้งสองเล่มนี้ แต่งขึ้นในราวพุทธศตวรรษที่ ๑๐

 http://www.sac.or.th

การออกจากวัฏจักรสามภพสู่ดินแดนสุขาวดี-พุทธภูมิ........ (ถ้าวัฏฏสงสารคือความเต็ม  พระนิพพานก็คือความว่าง )....วฎฎ แท้จริงแล้วในทางธรรมะ คือโลกทั้งสาม ได้แก่ กามโลก รูปโลก อรูปโลก ...โลกทั้งสามมีความเกี่ยวโยงกัน เรียกว่าเป็นสถานที่ท่องเที่ยวของสัตว์โลกทั้งหลาย อาจเรียกอีกคำหนึ่งว่า วัฎจักร คือ เป็นสถานวนเวียนขึ้นลงไปมาของสัตว์โลกทั้งหลาย ถึงบางภพจะมีความสุขอยู่บ้าง แต่ความสุขนั้นยังเป็นโลกีย์สุข คือ ความสุขที่เจือด้วยกิเลสตัณหาอยู่นั้นเอง หรือ ไปอยู่ใน รูปภพ อรูปภพ ที่มีอำนาจฌานยังไม่เสื่อม สามารถควบคุมกิเลสตัณหาได้ก็มีความสุขอยู่บ้าง แต่เมื่ออำนาจฌานเสื่อมไป ก็ต้องมาเกิดในกามโลกอีกเช่นเคย ...เมื่อปัญญามีความกล้าหาญแล้ว ศรัทธา สติ ความเพียร และ ความตั้งมั้นภายในใจก็มีความกล้าหาญกันทั้งหมด  ความรู้เห็นในสรรพสังขารทั้งหลายก็เป็นไปตามไตรลักษณ์ทั้งหมด จึงเป็นภาวมัยปัญญา  หรือ วิปัสสนาญาณ อันเป็นมรรคญาณที่จะประหารกิเลสให้หมดไปจากใจโดยตรง เป็นปัญญาที่ถอนรากถอนโคนวัฏจักร ให้หยุดหมุนเวียนอยู่ในภพทั้งสาม...เป็นปัญญาที่เปิดเผยความลับของโลกทั้งหลายโดยไม่มีสิ่งใดมาปิดบัง เป็นปัญญาที่ทวนกระแสโลก และทวนกระแสของกิเลสตัณหาทั้งหลาย เป็นปัญญาที่ตัดกระแสแห่ง  ราคะ โทสะ โมหะ ให้หมดไป เป็นปัญญาทีทำลายเหตุปัจจัยที่ทำลายเหตุปัจจัยในวิญญาณ เหตุปัจจัยในนามรูป เหตุปัจจัยในสฬายตนะ เหตุปัจจัยในผัสสะ เหตุปัจจัยในเวทนา เหตุปัจจัยของตัณหา เหตุปัจจัยของอุปทาน เหตุปัจจัยของภพ เหตุปัจจัยของชาติ ที่จะทำให้ไปเกิดในภพทั้งสาม เป็นปัญญาที่ทำลายตัวสมุหทัย คือ กามตัณหา ภวตัณหา และ วิภวตัณหา ให้หมดจากใจไปอย่างสิ้นเชิง จึงเป็น นิโรธ ที่ทำให้แจ้งแล้วในสรรพสังขารทั้งหลาย ใจไม่มีความเห็นผิดลุ่มหลงในภพทั้งสามอีกต่อไป         (ทีมา  อัตโนประวัติ พระอาจารย์ทูล ขิปปปญโญ )

 

การแสวงหาปัญญาและบารมี 10 ประการ

 

ความรู้ถ่ายทอดกันได้แต่ปัญญานั้นต้องแสวงหาด้วยตนเอง-คันทวยูหะเล่าถึงการเดินทางแสวงหา “ปัญญา” ของชายหนุ่มที่ชื่อสุธน ได้พบครูนานาชนิด ซึ่งคัมภีร์เรียกว่า “กัลยาณมิตร” ที่แนะให้สุธนเดินทางไปพบครูคนอื่นต่อไปเรื่อยๆ ในคัมภีร์ได้พบครูถึง 110 คน แต่โบโรบูดูร์นำเสนอไว้เพียง 45 ตอน ประกอบเป็นระเบียงภาพ 126 ระเบียง ที่เหลืออีก 334 ระเบียงภาพเล่าตอนที่สุธนได้พบพระเมตไตรยบนที่อยู่ของพระเมตไตรยแล้ว (ไม่ใช่บนสวรรค์ชั้นดุสิต แต่เป็นส่วนหนึ่งของพุทธเกษตรของพระมหาไวโรจนะ) และได้รับคำสอนทั้งจากพระโพธิสัตว์เมตไตรย และพระโพธิสัตว์สมันตภัทร องค์หลังนี้มีความสำคัญที่สุดในการทำให้สุธนบรรลุ “ปัญญา”

บารมีสิบประการ-โบโรบูดูร์ประกอบด้วยระเบียงคด 4 ชั้น (ไม่นับชั้นที่อยู่ใต้ดิน) ก่อนจะถึงลานเจดีย์สามชั้นบน หากผู้จาริกแสวงบุญ เดินประทักษิณศึกษาภาพสลักในระเบียงคดชั้นแรก ก็จะต้องเดินสี่รอบ ขึ้นไปชั้นที่สอง-สาม-สี่ ภาพสลักจะมีเพียงสองแถว คือด้านนอกและด้านใน แต่ละชั้นก็จะต้องเดินสองรอบ รวมทั้งหมดก่อนที่จะบรรลุลานเจดีย์ในชั้นที่ 5 ผู้จาริกแสวงบุญก็ต้องเดินประทักษิณ 10 รอบ

ทำไมถึงต้องเป็น 10 ก็เพราะ 10 คือบารมี 10 ประการที่บุคคลต้องสั่งสมก่อนจะตรัสเป็นพระโพธิสัตว์ได้ การศึกษาเรียนรู้หลักศาสนามหายานจากภาพสลักไปทีละขั้นถึง 10 รอบ คือการเปรียบกับการบำเพ็ญบารมีของพระโพธิสัตว์นั่นเอง

หลังจากนั้น ก็ได้บรรลุธรรมขั้นสูง ที่ทำให้โปร่งโล่งสบายและมีดวงตาเห็นธรรม อันเปรียบได้กับการขึ้นไปถึงลานเจดีย์ทั้งสามชั้น ไปจบลงที่ได้นมัสการพระสถูปใหญ่บนยอดซึ่งเปรียบเหมือนสุดยอดของอุดมคติในพุทธศาสนามหายาน คือได้บรรลุโพธิสัตวญาณ

อ่านเพิ่มเติม //www.sujitwongthes.com/outlineofthaihistory/2012/04/knowledge05042555/

 




Create Date : 12 มีนาคม 2556
Last Update : 15 กรกฎาคม 2556 15:31:45 น.
Counter : 2083 Pageviews.

0 comments
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

surya21
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 50 คน [?]



New Comments
มีนาคม 2556

 
 
 
 
 
1
2
4
7
9
10
11
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
24
26
27
28
29
31
 
 
All Blog