พุทธศิลป์และสัญลักษณ์พระพุทธเจ้า -พุทธศาสนา ในอินเดีย ยุค พ.ศ. 300-500

ภาพดอกบัวบานและจำนวนเลขศักดิ์สิทธิ์ต่างๆ ล้อมด้วยสิงห์ ๘ ตัว ซึ่งเป็นตัวสัตว์สัญลักษณ์ประจำพระองค์อย่างหนึ่ง
(จากหินสลัก แบบภารหุต สมัยสุงคะ พ.ศ. ๓๐๐–๔๐๐)

จำนวนสิงห์ ๘ ตัว จะให้หมายถึงอริยมรรคมีองค์แปด, หรือจะให้หมายถึง มรรค ๔ ผล ๔ รวมเป็นแปดไปเสียเลย, หรือจะหมายถึงสิ่งใดอีกก็ย่อมแล้วแต่ความพอใจของผู้ดู เพราะไม่มีทางที่จะทราบได้โดยตรงเผง ถึงความคิดของศิลปินเหล่านั้นหรือของผู้จ้างหรือบันดาลให้ศิลปินเหล่านั้นทำมันขึ้นมา. เราอาจจะคิดเลยไปได้ว่า ทิศทั้ง ๘ ทิศ ถูกครอบงำแล้วโดยการเกิดของพระพุทธองค์ ดังนี้ก็ยิ่งรู้สึกชมเชยความคิดของศิลปินเหล่านั้นเพิ่มขึ้นอีกมากทีเดียว, และควรจะเอาอย่างวิธีการอันนี้กันบ้างเพื่อหยุดทำอะไรสืบ ๆ กันไปอย่างตามบุญตามกรรมนั้นเสียที,

บัวซึ่งเป็นตัวสัญลักษณ์โดยตรง มีกลีบ ๑๖ กลีบ, ๓๒ เส้นเกสร, ๘ จุดตุ่มเกสรตัวเมีย, และแถมมีเม็ดกลม ๆ ทำนองเม็ดลูกประคำ เป็นวงรอบดอกบัว ซ้อนกัน ๒ วง รวมกัน ๑๘ เม็ดพอดี. จำนวนเลข ๑๐๘ นี้ คงเป็นคติโบราณก่อนพุทธกาล, และถูกรับเข้ามาเป็นคติของพุทธบริษัทด้วยในภายหลัง และพยายามจะจัดอะไรให้มีจำนวน ๑๐๘ ขึ้นเป็นธรรมดา, ในลักษณะที่เป็นจำนวนศักดิ์สิทธิ์, เช่นมาล้อมรอบดอกบัวซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของพระโพธิสัตว์

ภาพกอบัว มีหงส์ ๒ ตัว, ขึ้นมาจากหม้อเต็มด้วยน้ำ แบบหม้อปูรณฆฏะ ซึ่งมีอยู่มากแบบด้วยกัน.
(จากหินสลัก แบบสาญจี สมัยสุงคะ พ.ศ. ๔๐๐–๕๐๐)

หม้อปูรณฆฏะในที่นี้ หมายถึงหม้อเต็มด้วยน้ำและมีดอกบัวหรือดอกบัวโผล่ขึ้นมาในลักษณะที่เบิกบาน; เป็นสัญลักษณ์แห่งการเกิด (Nativity) ของพระพุทธองค์ เป็นสัญลักษณ์แห่งการประสูติของพระองค์ ในระดับเดียวกันกับความที่ ต้นโพธิ์เป็นสัญลักษณ์ของการตรัสรู้, วงล้อเป็นสัญลักษณ์ของการแสดงธรรมจักร, และสถูปรูปเนินดินเป็นสัญลักษณ์ของการปรินิพพาน. และในบางกรณีในศิลปะตระกูลคันธาระ ได้ใช้ภาพหม้อนี้เป็นสัญลักษณ์ของพระพุทธองค์โดยตรงก็ยังมี.

ในภาพนี้ มีกอบัวขึ้นมาจากหม้อหรือไหหรือตุ่ม เป็นเครือเถาเลื้อยรอบดอกบัวบานที่เป็นประธานของเรื่องนี้อยู่ตรงกลาง ทำให้เรียกได้ว่า มีหม้อปูรณฆฏะนั้น เป็นสิ่งประกอบของดอกบัว. เครือเถานั้น ประกอบด้วยดอกบัวบานเต็มที่ ๘ ดอก ซึ่งเป็นจำนวนเลขศักดิ์สิทธิ์เช่นเดียวกับจำนวนสิงห์มีปีก ๘ ตัว ในภาพที่แล้วมา. มีดอกบัวตูม ๑ ดอก และใบบัว ๓ ใบ รวมอยู่ในส่วนนอกนี้.

ดอกบัวที่ใจกลาง มี ๑๒ กลีบ, ๓๖ เส้นเกสร, ส่วนที่ใจกลางจริง ๆ แทนที่จะมี ๗ จุดเหมือนภาพอื่นโดยมากกลับมีภาพสัญลักษณ์ที่สำคัญที่สุด คือภาพความหมุนอย่างรุนแรงที่เรียกกันทั่วไปว่า สวัสติกะ หมายถึงล้อแห่งธรรมจักรที่กำลังหมุนอย่างเต็มที่ เหมาะสมที่จะเป็นสัญลักษณ์แห่งการที่พระองค์ทรงอุบัติขึ้นในโลกนี้เป็นอย่างยิ่ง   (credit //www.siamsouth.com/smf/index.php?topic=13875.14)

เก่าที่สุดในประเทศไทย วัดปงยางคก จ.ลำปาง ย้อนยุคไปถึงสมัยพระแม่จามเทวี พ.ศ.1200 หม้อบูรณฆฎะ หรือปูรณกลศ ส่วนใหญ่พบตามวิหารล้านนาหมายถึง หม้อดอก ในภาษาล้านนา สื่อความหมายถึงหม้อที่มีน้ำเต็มเปี่ยม ใส่ดอกบัว ที่ใช้สักการบูชาองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า และเป็นหนึ่งในมงคล ๑๐๘ อย่างในรอยพระพุทธบาท ไม้เลื้อยนั้นหมายถึงความงอกงามของชีวิตและการสร้างสรรค์ //www.bloggang.com/viewdiary.php?id=tuk-tukatkorat&month=01-2013&date=07&group=24&gblog=150

อ่านเพิ่มเติม //welovemuseum.files.wordpress.com/2011/02/e0b8a8e0b8b4e0b8a5e0b89be0b8b0e0b8ade0b8b4e0b899e0b980e0b894e0b8b5e0b8a21.pdf





Create Date : 15 กุมภาพันธ์ 2556
Last Update : 15 กุมภาพันธ์ 2556 19:13:23 น.
Counter : 3685 Pageviews.

0 comments
ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
 *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

surya21
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 50 คน [?]



New Comments
กุมภาพันธ์ 2556

 
 
 
 
 
2
3
4
5
6
9
10
13
14
16
18
19
21
22
23
24
25
27
28
 
 
All Blog