อลองพญา ปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์คองบอง พระโพธิสัตว์ในนามนักรบบุกทำลายอาณาจักรกรุงศรีอยุธยา ?

แรงผลักดันทางจิตวิทยาทั้งหลายที่คอยกำกับความคิดเราอยู่ลับๆในการตัดสินใจ มนุษย์ทุกคนล้วนถูกครอบงำด้วยแรงผลักดันเหล่านี้เหมือนกันหมด ไม่ว่าจะเป็นเกษตรกร นักบิน ผบ.ทบ ผู้จัดการใหญ่ของบริษัทชั้นนำ หรือประธานาธิปดี... อองไชยะในนามอลองพญาก็ทรงมีความเชื่อเช่นนั้นอยู่แล้ว พระองค์จึงตั้งปณิธานว่าจะลงมือกระทำทุกวิถีทางที่จะนำพาประชากรไปสู่ความอุดมสมบูรณ์ตามอุดมการณ์ที่วาดฝัน แน่นอน หนีไม่พ้นสงคราม การแผ่แสนยานุภาพไปยังอาณาจักรใกล้เคียงคือภารกิจหลัก และเป็นบทพิสูจน์ถึงความยิ่งใหญ่ของกษัตริย์ "ต่อไปคือก้าวที่สาม" อลองพญาผินพระพักตร์ไปยังทิศตะวันออก "เราจะไปเหยียบแผ่นดินโยเดีย ทุกคนก็รู้ว่าแผ่นดินนั้นสว่างไสวไปด้วยทองคำ" ..."ในวันที่ ๑๕ เมษายน พ.ศ.๒๓๐๓ อลองพญากรีฑาทัพเข้าสู่กรุงศรีอยุธยา วางแผนการรบด้วยวิธีการบุกเข้าไปยึดพระอารามต่าง ๆ เป็นฐานที่มั่น ประกอบด้วย วัดราชพลี วัดกษัตราธิราช วัดหัสดาดาวและวัดหน้าพระเมรุ เพราะหลงคิดว่าตัวเองเป็นผู้มีบุญบารมีเทียบเท่าพระโพธิสัตว์"...ความเดิมก่อนที่พระเจ้าอลองพญาจะขึ้นมาเป็นใหญ่ ชนชาติพม่ากำลังจะสิ้นชาติอยู่รอมร่อแล้ว อาณาจักรของชาวพม่าโดนมอญตีแตกหมด แม้แต่เชื้อสายสุดท้ายของราชวงศ์ตองอูทายาทบุเรงนองก็พ่ายแพ้จนใกล้จะสิ้นสภาพอยู่แล้ว นายพรานแห่งบ้านมุตโชโบได้รวบรวมคนพม่าทำการต่อต้านมอญ สามารถรวบรวมผู้คนจัดตั้งเป็นกองทัพเข้าต่อสู้กับอาณาจักรมอญ และในที่สุดกองทัพพม่ากู้ชาติก็เอาชนะอาณาจักรมอญได้สำเร็จ จากที่มอญกำลังจะเป็นใหญ่ในแผ่นดินพม่าทั้งหมด กลายเป็นมอญถูกทำลายจนไม่เหลืออาณาจักร กลายเป็นฝ่ายสิ้นชาติแทน ชาวมอญกลายเป็นชนกลุ่มน้อยที่ถูกพม่าปกครองจวบจนปัจจุบันนี้...นายพรานได้สถาปนาราชวงศ์คองบอง ตั้งตนขึ้นเป็นปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์คองบอง มีนามว่าพระเจ้าอลองพญา ราชวงศ์อลองพญา(คองบอง) มีกษัตริย์ทั้งหมด 11 พระองค์ ระยะเวลาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2295 จนถึงปี พ.ศ. 2428 เปลี่ยนเมืองหลวงหลายครั้ง ได้แก่ ชเวโบ อังวะ อมระปุระ มัณฑะเลย์ ด้วยความเข้มแข็งเก่งฉกาจ พระเจ้าอลองพญาได้กรีฑาทัพบุกอาณาจักรอยุธยา อ้างสาเหตุว่าเนื่องจากทางอยุธยาได้ให้การสนับสนุนมอญที่ลี้ภัยสงครามเข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภาร ตรงกับรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าเอกทัศ และไม่พอใจที่ไทยยึดเรือสินค้าที่จะเดินทางมาค้าขายกับพม่าที่เมืองมะริด โดยเดินทัพเข้ามาทางด่านสิงขร ทางจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ แต่ไม่ประสบความสำเร็จและสิ้นพระชนม์หลังจากการทำสงครามครั้งนั้น ประวัติศาสตร์ไทยจารึกว่าโดนปืนใหญ่ที่ยิงตรงวัดหน้าพระเมรุ ปืนใหญ่แตกระเบิดเข้าใส่ ตายระหว่างการเดินทัพกลับพม่า...สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชก็ทรงกอบกู้เอกราช สถาปนาเมืองหลวงขึ้นมาใหม่ที่กรุงธนบุรี พระเจ้ามังระจึงทรงส่งแม่ทัพคนใหม่มา คือ อะแซหวุ่นกี้ นำทัพใหญ่เข้ามาปราบปรามฝ่ายธนบุรีในปี พ.ศ. 2318 อะแซหวุ่นกี้สามารถตีหัวเมืองพิษณุโลกแตก และกำลังจะยกทัพลงมาตามลำน้ำเจ้าพระยา แต่ต้องยกทัพกลับเนื่องจากการสิ้นพระชนม์ของพระเจ้ามังระ ในปี พ.ศ. 2319 จากนั้นก็เกิดการแย่งชิงราชสมบัติกันเองราว 4 - 5 ปี ก่อนที่จะกลับมามีความมั่นคงขึ้นอีกครั้งในรัชสมัยของพระเจ้าปดุง พระองค์ทรงยกทัพเข้าตีดินแดนยะไข่ ได้สำเร็จ ซึ่งไม่เคย
มีกษัตริย์พม่าพระองค์ใดทำได้มาก่อน ทำให้พระองค์เกิดความฮึกเหิม ยกกองทัพใหญ่มาถึง 9 ทัพ 5 เส้นทาง ที่เรียกว่า สงครามเก้าทัพ ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช แต่ไม่ประสบความสำเร็จสงครามระหว่างไทยกับพม่าสิ้นสุดลงเมื่อพม่าตกเป็นเมืองขึ้นของอังกฤษในปี พ.ศ. 2428 ในรัชสมัยพระเจ้าสีป่อ ซึ่งเป็นกษัตริย์องค์สุดท้ายของพม่า...กฏแห่งกรรมจึงเข้าซ้ำเติมพม่าอย่างยาวนานจนถึงปัจจุบัน

อ่านพิ่มติม //www.oknation.net/blog/print.php?id=257788


สามมหาราชของพม่าถือว่าเป็นกษัตริย์พม่าที่ยิ่งใหญ่ที่สุด 1 ใน 3 พระองค์ (ประกอบด้วย 1. พระเจ้าอโนรธามังช่อ ปฐมกษัตริย์ราชวงศ์พุกาม 2. พระเจ้าบุเรงนอง ฉายา "พระเจ้าชนะสิบทิศ" ราชวงศ์ตองอู 3. พระเจ้าอลองพญา ปฐมกษัตริย์ราชวงศ์อลองพญา...พระเจ้าอลองพญา (อังกฤษ: Alaungpaya พระนามของพระองค์ออกสำเนียงเป็นภาษาพม่าว่า "อลองเมงตะยาจี" หรือ "อลองพะ" มีความหมายว่า "พระโพธิสัตว์"; สิงหาคม ค.ศ. 1714 — 11 พฤษภาคม ค.ศ. 1760) เป็นพระมหากษัตริย์พม่าะหว่างวันที่ 21 มีนาคม ค.ศ. 1752 ถึง 11 พฤษภาคม ค.ศ. 1760 รวมได้ 8 ปี 51 วัน เป็นปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์คองบอง ซึ่งเป็นราชวงศ์สุดท้ายของพม่า พระองค์กำหนดเป็นสามัญชน โดยเป็นผู้นำหมู่บ้านแถบพม่าตอนบน สามารถรวบรวมบ้านเมืองให้เป็นปึกแผ่น ปราบปรามมณีปุระ กอบกู้ล้านนาคืนจากอยุธยา และขับชาวอังกฤษและฝรั่งเศสซึ่งให้การสนับสนุนราชอาณาจักรหงสาวดีฟื้นฟูของชาวมอญ พระองค์ทรงก่อตั้งเมืองย่างกุ้งในปี ค.ศ. 1755 สวรรคตจากพระอาการประชวรระหว่างการรุกรานอาณาจักรอยุธยา

          อาณาจักรกรุงศรีอยุธยาราว ค.ศ 1773   ในแผ่นดินสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ  ราชวงศ์บ้านพลูหลวง  แห่งกรุงศรีอยุธยา    บ้านเมืองสงบสุขร่มเย็น   ด้วยเหตุที่ว่างเว้นการศึกกับพม่ามาช้านาน   . . . นานาประเทศที่ใกล้เคียงก็กำลังเสื่อมทรามทรุดโทรมอยู่ตามกัน    ดังเช่น   กรุงกัมพูชา  ก็ต้องยอมขึ้นไทย  โดยไม่ต้องรบพุ่งปราบปรามประการใด      เมืองลังกา  ก็หมดสิ้นสมณวงศ์ต้องมาขอพระสงฆ์ไทยไปให้อุปสมบท    แม้พม่า  ก็ต้องหันมาของ้อให้ไทยช่วยสงเคราะห์  เพราะเกิดจลาจลขึ้นในบ้านเมือง       ด้วยเหตุดังนี้    เมื่อในแผ่นดินพระเจ้าบรมโกศจึงปรากฏเกียรติยศกรุงศรีอยุธยา ว่ารุ่งเรืองกว่าประเทศอื่นที่ใกล้เคียงโดยรอบ    แต่ที่แท้จริงนั้น  เป็นเวลาเมืองไทยกำลังทรุดโทรม  หาเหมือนแต่ก่อนไม่ . . .ประวัติศาสตร์นั้นอ่านแล้วสนุกบางครั้งก็เดินซ้ำรอยเดิม?




Create Date : 17 เมษายน 2557
Last Update : 18 เมษายน 2557 12:01:46 น.
Counter : 5223 Pageviews.

1 comments
  
โดย: tuk-tuk@korat วันที่: 18 เมษายน 2557 เวลา:12:56:50 น.
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

surya21
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 50 คน [?]



New Comments
เมษายน 2557

 
 
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
18
19
20
21
22
24
25
26
27
28
29
30
 
 
All Blog