บันทึก การเผยแพร่พุทธศาสนาในสุวรรณภูมิ และสุวรรณทวีป (ตอน2)
 
          ปลายพุทธศตวรรษที่ ๑๒ นั้นในขณะที่ พระภิกษุฟาเหียน หรือ พระถังซัมจั่งจากจีนได้ออกเดินทางเพื่อรวบรวมคัมภีร์พุทธศาสนาที่อยู่ในอินเดีย (.. ๑๑๗๒ -๑๑๘๘) นั้นได้มีพระธรรมปาละ จากดินแดนราชวงศ์ปัลลวะแห่งอินเดียได้ นำคณะสงฆ์เดินทางมาเผยแพร่พุทธศาสนาไปทั่วทะเลจีนตอนใต้ จีนเรียกว่า กิมกังกี่ มีบันทึกพระธรรมปาละนี้ได้เดินทางไปจีน เมื่อ ..๑๒๘๔ และ .. ๑๒๘๙ รวมสองครั้ง ซึ่งเชื่อว่าพระธรรมปาละรูปนี้น่าจะมรณภาพทางดินแดนทางเหนือ  ต่อมาจากที่ราชวงศ์ปัลลวะกำลังจะเสื่อมลงนั้น ได้มีพระวัชรโพธิ์ เป็นหัวหน้า ได้นำคณะสงฆ์เดินทางจากอินเดียใต้เข้ามาวางรากฐานทางพระพุทธศาสนาในดินแดนสุวรณภูมิและดินแดนสุวรรณทวีป ตั้งแต่ ๑๒๖๐-๑๒๘๔ แล้วคณะสงฆ์กลุ่มนี้จึงได้เดินทางไปเผยแพร่พุทธศาสนาในจีนต่อไป ในครั้งนั้น พระวัชรโพธิ ได้อัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุมาประดิษฐานไว้ที่พระธาตุดอยตุง ในสมัยจามเทวีวงศ์ รัชกาลที่ ภายหลังจากที่วัชรโพธิได้เดินทางจากจารีตไปจีนแล้วประมาณ ๑๐ ปี จึงได้มีพระภิกษุรูปหนึ่ง จีนเรียกว่า กิมเกียวก๊ก เป็นอดีตราชวงศ์ของชาวสยาม ได้เดินทางจาริกตามไปจีน และสร้างตำนานพนะกษิติครรภ หรือที่จีนเรียกหลวงจีนตี้จัง ไว้ที่ภูเขาเกาฮั่วซัว มีสาระเนื้อหาเช่นเดียวกับกับเรื่องของพระมาลัย ที่แต่งตั้งขึ้นในไทย
credit //board.palungjit.com
 
          หลวงจีนที่เดินทางไปศึกษาพุทธศานาที่อินเดียและมีชื่อเสียงในบันทึกประวัติศาสตร์ได้แก่   1.หลวงจีนฟาเหียน (Fa-hsien)    2.หลวงจีนเหี้ยนจัง หรือยวนฉางหรือถังซำจั๋ง (Hsuan-tsang) และ 3.หลวงจีนอี้จิง (I-ching)

ท่านแรกคือหลวงจีนฟาเหียน ท่านจาริกออกจากจีนในปี ..๓๙๙ อยู่ในอินเดียเป็นเวลา ปี (..๔๐๕-๔๑๑) ในรัชสมัยของพระเจ้าจันทรคุปต์ที่ (หรือในชื่อพระเจ้าวิกรมาทิตย์ แห่งราชวงศ์คุปตะ) ในการเดินทางไปอินเดีย ท่านหลวงจีนฟาเหียนจาริกไปทางบก ส่วนในการเดินทางกลับท่านเดินทางกลับโดยทางเรือ ท่านแวะศึกษาหาความรู้และคัมภีร์ที่เกาะลังกาเป็นเวลา ปี แล้วออกเดินทางกลับสู่แผ่นดินจีน แต่ระหว่างทางเรือโดยสารถูกพายุพัดพาจนไปถึงชายฝั่งของเกาะแห่งหนึ่ง สันนิษฐานกันว่าน่าจะเป็นเกาะชวา จากนั้นท่านได้เดินทางต่อจนไปถึงมาตุภูมิ รวมเวลาที่อยู่ในทะเลกว่า ๒๐๐ วัน

 
ท่านที่สองคือท่านพระถังซำจั๋งหรือหลวงจีนเหี้ยนจัง ท่านออกจากเสฉวนในปี ..๖๒๙ มาถึงอินเดีย-ชมพูทวีปในปี ..๖๓๓ และกลับสู่แผ่นดินจีนที่เมืองเชียงอาน (หรือฉางอัน)ในปี ..๖๔๕ การเดินทางของท่านมีแต่ทางบกทั้งตอนไปและตอนกลับ
ท่านทีสามคือ หลวงจีนอี้จิง ลงเรือออกจากกวางตุ้งในปี ..๖๗๑ ใช้เวลาไม่ถึง ๒๐ วันก็มาถึงเมืองหลวงของอาณาจักรศรีวิชัยที่ปาเลมบัง ในเกาะสุมาตรา แล้วพำนักอยู่ระยะหนึ่ง ก่อนเดินทางต่อสู่ชมพูทวีป เพื่อไปยังศูนย์การศึกษานานาชาติ มหาวิทยาลัย นาลันทา !  หลวงจีนอี้จิงแวะพักที่ ศรีวิชัย ครั้งหลัง นานถึง ปี คือระหว่างปี ..๖๘๙-๖๙๕ ตามบันทึกของท่านแสดงว่า เวลานั้นพระพุทธศาสนาเจริญมากในศรีวิชัย จนอาณาจักรนั้นเป็นศูนย์กลางแห่งหนึ่งในการศึกษาพระพุทธศาสนา ซึ่งท่านได้เขียนชื่นชมไว้ว่า ผู้จะเล่าเรียนพระพุทธศาสนาให้ได้ผลดี ควรมาเริ่มศึกษาที่นั่น และมหาราชาแห่งศรีวิชัยก็อุปถัมภ์บำรุงตลอดจนอำนวยความสะดวกในการเดินทางแก่ท่านเป็นอย่างดี
//socialitywisdom.blogspot.com/2007



Create Date : 15 กุมภาพันธ์ 2556
Last Update : 15 กุมภาพันธ์ 2556 12:01:24 น.
Counter : 5220 Pageviews.

0 comments
ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
 *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

surya21
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 50 คน [?]



New Comments
กุมภาพันธ์ 2556

 
 
 
 
 
2
3
4
5
6
9
10
13
14
16
18
19
21
22
23
24
25
27
28
 
 
All Blog