สงครามระหว่างอาณาจักรกัมพูชาและอาณาจักรศรีวิชัยในพุทธศตวรรษที่14


...สมัยอันสับสนยุ่งเหยิงภายในจักรวรรดิศรีวิชัยยุคนั้นตำนานพงศาวดารลังกากล่าวว่า กองทัพกัมพูชาภายใต้การนำของ“เจ้าชายรุทธวรมัน” ราชโอรสของกษัตริย์กัมพูชา ไม่ทราบว่าเป็นพระองค์ใดได้ยกกองทัพเข้ามาโจมตีกรุงสุวรรณปุระ ฝ่ายเจ้าชายคุณาอรรณพและเจ้าชายศรีมาระได้คุมกองทัพออไปต่อต้านรบพุ่งเป็นตะลุ่มบอนเจ้าชายศรีมาระถูกอาวุธข้าศึกสิ้นพระชนม์ในสนามรบเจ้าชายคุณาอรรณพโจมตีกองทัพกัมพูชาแตกพ่ายและจับตัวเจ้าชายรุทธวรมันเอาไว้ได้ ควบคุมตัวไว้อย่างแน่นหนา เมื่อพระเจ้ากรุงกัมพูชาทราบว่าราชโอรสพลาดพลั้งถูกจับตัวเป็นเชลยศึก ก็รีบยกกองทัพใหญ่มาหมายจะบุกเข้าโจมตีให้แตกฉานเพื่อช่วยเหลือราชโอรสพระองค์ทรงขับช้างศึกเข้าทลายประตูเมืองอย่างกล้าหาญ แต่ ถูกทหารศรีวิชัยยิงด้วยธนูอาบยาพิษสิ้นพระชนม์ที่หน้าประตูเมืองนั้นกองทัพกัมพูชาเมื่อสูญเสียแม่ทัพใหญ่ต่างพากันหลบหนีเอาตัวรอดกองทัพศรีวิชัยติดตามโจมตีแตกพ่ายกลับไปพร้อมกับประทานเครื่องเพชรและทองคำมาประดับป้อมบนประตูเมืองเพื่อเป็นอนุสรณ์แห่งชัยชนะ ด้วยเหตุนี้ ประตูเมืองศรีวิชัยจึงได้รับการขนานนามว่าประตูป้อมเพชร

การรบพุ่งกับกองทัพกัมพูชาในครั้งนี้นักประวัติศาสตร์สันนิษฐานว่า เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นสมัยกลางพุทธศตวรรษที่ 14ในรัชกาลมหาราชโกณฑัญญะซึ่งจดหมายเหตุจีนกล่าวถึงเรื่องราวของประเทศสัน-โฟ-ชิในยุคนั้นว่า ประเทศนี้ได้ส่งคณะทูตไปยังราชสำนักจีนหลายครั้งแม้ว่าอาณาจักรชวาจะแยกตัวไปเป็นอิสระแต่อาณาจักรศรีวิชัยยังคงมีอำนาจควบคุมช่องแคบสุมาตรา ช่องแคบซุนดา และครอบครัวเส้นทางการค้าขายระหว่างประเทศจีนกับประเทศอินเดียไว้ได้ทั้งหมดพ่อค้าชาวอาหรับชื่อ“อาบู ซาอิด” ซึ่งเดินทางเข้ามาใน พ.ศ. 1459 ได้เล่าเรื่องซ้ำซากเรื่องการโยนแท่งทองคำลงไปในทะเลสาบมหาราชแห่งซาบากทรงปกครองกาละห์, ศรีบุซา และรามีอันเป็นเมืองศูนย์กลางการค้าสำคัญ 3แห่งที่ตั้งอยู่บนคาบสมุทรสยามและบนเกาะสุมาตรา

นายธรรมทาส พานิช มีความเห็นว่า “เจ้าชายรุทธวรมัน” หมายถึง“เจ้าชายรุทธวรมันที่ 2” ราชโอรส “เจ้าชายรุทธวรมัน ที่ 4” ซึ่งยกกองทัพเข้าแย่งชิงราชสมบัติจากพระเจ้าหรรษวรมันที่ 1ราชโอรสของพระเจ้ายโสวรมันที่ 1 กษัตริย์พระองค์นี้ครองราชย์อยู่ระหว่าง พ.ศ. 1468 ถึง พ.ศ. 1484 อาจหมายถึง “พระโคดม” ในตำนานพงศาวดารเขมรที่นำชาวพื้นเมืองก่อกบฏบุกโจมตีเผาผลาญพระนครวัดพินาศ เมื่อพ.ศ. 1468 พระเจ้าชัยวรมันที่ 4 อาจเกรงว่าอาณาจักรศรีวิชัยอาจยกกองทัพไปช่วยเหลือกอบกู้ราชบัลลังก์ให้กับราชวงศ์ไศเลนทรในอาณาจักรกัมพูชา จึงกรีธาทัพมาโจมตีกรุงศรีวิชัย แต่พ่ายแพ้ไปในที่สุด


นัก ประวัติศาสตร์สันนิษฐานว่ามหาราชแห่งศรีวิชัยอาจทรงกอบโกยความร่ำรวยจากบรรดาเรือสินค้าที่ผ่านไปมาระหว่างโลกตะวันออก กับโลกตะวันตกหรือเก็บภาษีจากผลิตผลพื้นเมืองนานาชนิดจำนวนมหาศาลจักรวรรดิของพระองค์เป็นที่รวมของบรรดาเมืองท่าเรือและศูนย์กลางตลาดการค้าสำคัญมากมาย จึงไม่จำเป็นจะต้องรบกวนประชาชนที่มีรายได้น้อยแต่กลับส่งเสริมความสุขของประชาชน ไม่บังคับแรงงานหรือลงโทษทางอาชญาอย่างรุนแรงแต่แสดงความกรุณาอย่างง่ายๆ ในแบลพระโพธิสัตว์อาจเป็นวิธีการหนึ่งที่ช่วยรักษาจักรวรรดิอันยิ่งใหญ่ไพศาลให้มั่นคงยั่งยืนอยู่เป็นเวลานาน แต่ในที่สุดอาณาจักรมะตะรามศัตรูสำคัญที่สุดของศรีวิชัยเริ่มแสดงบทบาทเกี่ยวข้องกับอำนาจทางทะเลคุกคามเขตอิทธิพลทางเศรษฐกิจของศรี วิชัยจดหมายเหตุจีนกล่าวว่า

“ใน พ.ศ. 1535 คณะทูตของประเทศเชอ-โพ (ชวา) คุมเครื่องราชบรรณาการไปยังราชสำนักจีนราชทูตรายงานว่า ประเทศของตนทำสงครามกับประเทศสัน-โฟ-ชิ”



อ่านเพิมเติม //blog.eduzones.com/tambralinga/5512





Create Date : 01 พฤษภาคม 2556
Last Update : 1 พฤษภาคม 2556 21:38:16 น.
Counter : 1854 Pageviews.

0 comments
ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
 *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

surya21
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 50 คน [?]



New Comments
พฤษภาคม 2556

 
 
 
2
4
5
6
7
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
27
28
30
31
 
 
All Blog