พุทธศาสนา ในอินเดีย พ.ศ. 1100...การโต้วาทีประกาศสัจจะและพระธาตุเขี้ยวแก้ว (ตอน 4)

---เมื่อเสร็จการถวายเครื่องไทยทานแล้ว ท่านอาจารย์ก็ได้รับนิมนต์ให้ขึ้นนั่งที่ประดับประดาเป็นพิเศษสำหรับประธานที่ประชุมเพื่อเผยแพร่พุทธศาสน์มหายานและเพื่ออธิบายความหมายของคัมภีร์ของท่าน ท่านสมณวิทยาภทร พระนาลันทาองค์หนึ่งได้รับแต่งตั้งให้อ่านคัมภีร์นั้นให้ที่ประชุมฟัง ส่วนอีกฉบับหนึ่งเขียนข้อความอย่างเดียวกัน แขวนไว้ข้างนอกประตูที่ประชุมเพื่อให้มหาชนได้อ่านและประกาศว่า ถ้าหากเห็นคำใหนไม่มีเหตุผลและที่ชี้ให้เห็นว่าผิดได้แม้แต่คำหนึ่งในหนังสือนี้ผู้แต่งยอมถวายหัวเป็นการขอโทษ แต่จนกระทั่งค่ำก็ไม่มีใครกล้ายกขึ้นคัดค้าน โดยความดีพระทัยเป็นอย่างสูง พระเจ้าศีลาทิตย์ก็ทรงรับสั่งให้พักการประชุมแล้วเสด็จกลับไปยังวังของพระองค์ กษัตริย์อื่นๆ และพระภิกษุสงฆ์ทั้งหลายก็กลับไปยังที่ของตน ท่านอาจารย์พร้อมด้วยพระเจ้ากุมารก็กลับไปยังวัง

 

                ในตอนเช้าของวันรุ่งขึ้นก็ประชุมกันอีกและแห่พระพุทธรูปเหมือนกับวันก่อน ภายหลังต่อมาห้าวัน พวกหินยานและพวกเดียรถีย์เห็นว่า พระอาจารย์ทำลายลัทธิของตน ก็พยายามจะฆ่าท่านเสียด้วยความรู้สึกเกลียดชัง

 

                เมื่อได้ฟังกราบทูลการประทุษร้ายนี้ พระราชาจึงมีพระบรมราชโองการสั่งว่า “ตั้งแต่นานมาแล้ว นิกายทั้งหลายที่ขัดแย้งพยายามที่จะพรางสัจจะเพื่อซ่อนคำสั่งสอนที่แท้ เพื่อหลอกประชาชนให้หลงโง่ ถ้าไม่มีใครที่มีความฉลาดอัดสูงสุดใครจะชี้ความผิดจากสัจจะได้เล่า? ”  ท่านอาจารย์จีนผู้นี้เป็นผู้ที่มีอุปนิสัยดี ความรู้สึกซึ้งและรู้สัจจะลึก ท่านมาเที่ยวประเทศนี้เพื่อแก้ทรรศนะผิดๆ ทั้งหลายให้ถูกตลอดจนเผยแพร่มหาธรรมเพื่อให้สว่างแก่คนโง่ บัดนี้คนโง่ๆบางคนไม่แต่ไม่รู้สึกละอายตัวเองเท่านั้น ยังทำลายจิตใจของตนโดยทำในสิ่งที่ผิดกฎหมายถ้าสามารถอดทนต่อเรื่องนี้ได้แล้ว อะไรเล่าที่เป้นโทษที่ไม่อาจให้อภัยได้? ใครก็ตามในที่ประชุมนี้บังอาจทำอันตรายแก่ท่านอาจารย์จะต้องถูกตัดหัวและใครก็ตามที่ด่าว่าท่านจะต้องถูกตัดลิ้นแต่ผู้ที่ปราถนาจะป้องกันลัทธิของตนนั้นไม่ห้าม ให้ทำได้”

 

                ตั้งแต่นั้นมาเหล่าคนชั่วก็ถูกปราบ เป้นเวลาสิบแปดวันไม่มีใครอาจยกคำคัดค้านขึ้นโต้ได้ ในตอนเย็นนั้นเมื่อที่ประชุมจะแยกย้ายกันไป ท่านอาจารย์ก็สดุดีพุทธศาสน์มหายานต่อไป และยกย่องสรรเสริญพระพุทธคุณทำให้คนเป็นอันมากละจากสิ่งที่ผิดมายอมรับสิ่งที่ถูก และเปลี่ยนจากคำสั่งสอนหินยานมาถือมหายานพุทธศาสน์ ดังนั้นพระเจ้าศีลาทิตย์จึงทรงเคารพนับถือท่านมากขึ้นอีกและถวายท่านด้วยเหรียญทองคำหนึ่งหมื่นเหรียญ เงินสามหมื่น และผ้าไตรจีวรสักหลาดอย่างดีที่สุดหนึ่งร้อยไตร กษัตริย์ทั้งสิบแปดพระองค์ก็ถวายเพชรพลอยต่างๆ และของที่มีค่าต่างๆ อีกด้วย แต่ท่านอาจารย์ไม่ยอมรับของไทยทานเหล่านั้นเลย

พระราชาทรงสั่งให้เสนาบดีที่กำลังเฝ้าพระองค์อยู่ให้ตกแต่งช้างใหญ่ตัวหนึ่งด้วยม่านและพรมและนิมนต์ท่านอาจารย์ขึ้นขี่เดินผ่านฝูงชนไป แห่ห้อมล้อมและคุ้มกันด้วยเสนาบดีชั้นผู้ใหญ่ของพระองค์เพื่อประกาศว่าท่านได้สร้างทฤษฎีขึ้นโดยไม่มีใครแข่งได้ เป็นประเพณีของอัสดงคตประเทศที่ผู้ชนะในการโต้วาทีจะต้องได้รับเกียรติยศโดยวิธีนี้

 

                ท่านอาจารย์ปฏิเสธเกียรติยศอันนี้จึงไม่ยอมไป แต่พระราชาทรงรับสั่งว่า “นี่เป็นประเพณีโบราณ เราจะฝืนไม่ได้”

 

                แล้วก็เอาผ้าไตรจีวรของท่านอาจารย์ไปวางบนหลังช้าวแลให้คนประกาศต่อมหาชนว่า “อาจารย์จีนได้สร้างคำสอนทางพุทธศาสน์มหายาน และชี้ทรรศนะแตกต่างๆ ให้เห็นว่าผิดเป็นเวลาสิบแปดวันไม่มีใครกล้ายกคำคัดค้านขึ้นโต้วาที จึงขอให้ประชาชนทั้งหลายรับทราบความจริงไว้ด้วย

 

                ที่ประชุมก็มีความดีใจ และประชาชนต่างก็แย่งกันตั้งชื่อให้ท่านอาจารย์ พวกมหายานเรียกท่านว่า “มหายานเทวะ”(เทวะแห่งพุทธศาสน์มหายาน) ส่วนพวกหินยานตั้งตำแหน่งให้เป็น “โมกษเทวะ” (เทวะแห่งการช่วยให้หลุดพ้น) เมื่อคนทั้งหลายจุดธูปโปรดดอกไม้บูชาท่านแล้วต่างก็แยกย้ายกันไป ชื่อเสียงของท่านอาจารย์ก็แผ่ออกไปกว้างและไกล

 

                ทางทิศตะวันตกของวังชั่วคราวของพระราชา ในโบสถ์หลังหนึ่งซึ่งทรงสร้างโดยพระราชา มีพระทนต์ของพระพุทธองค์ยาวประมาณนิ้วครึ่งสีขาวเหลืองมักจะออกแสงบ่อยๆ ในสมัยแรกๆ ประชาชนเผ่ากฤตแห่งกัสมีรได้ทำลายพุทธศาสนาและขับไล่พระภิกษุสงฆ์ฝ่ายพุทธหนี มีพระภิกษุองค์หนึ่งเดินทางไกลมาจนถึงประเทศอินเดีย

 

                พระราชาแห่งหิมตลในตุขาร ทรงรู้สึกเคืองทีชนเผ่าทาสทำลายพุทธศาสนา พระองค์จึงปลอมตัวเป็นนายวานิชคุมกองทหารกล้าสามพัน นำเอาเพชรพลอยและรัตนชาติต่างๆ ไปด้วยเป็นอันมาก พระองค์จึงแสร้งถวายของเหล่านี้ต่อพระเจ้ากัสมีร  ผู้ที่เป็นคนมักได้ เมื่อทรงได้ยินดังนั้นพระราชาแห่งกัสมีรก็ทรงพอพระทัย ถึงส่งราชฑูตมาต้อนรับ

 

                พระราชาแห่งหิมตลเป็นวีรบุรุษและมีมรรยาทสง่างามเมื่อพระองค์เสด็จถึงบัลลังก็ก็ทรงเปลื้องการปลอมตัวออก และต่อว่าพระเจ้าแผ่นดินกฤตผู้ซึ่งหงายหลังตกลงบนพื้นด้วยความกลัวจนตัวสั่น พระราชาแห่งมหิมตลก็กลพระเศียรแล้วฆ่าเสีย

 

                พระองค์ทรงรับสั่งกับเหล่าเสนาบดีว่า “ข้าคือพระเจ้าแผ่นดินแห่งมหิตล เพราะพวกเจ้าเหล่าทาสทำลายพระพุทธศาสนาข้าจึงมานี่เพื่อลงโทษพวกเจ้า แต่เพราะว่าเป็นความผิดของคน คนเดียว ไม่ได้เกี่ยวกับพวกท่าน ดังนั้นจงสบายใจเสียเถอะพวกบุคคลผู้ยุยงพระราชาให้ทำกรรมชั่วเท่านั้นที่จะถูกเนรเทศไปประเทศอื่น

 

                เมื่อปราบคนชั่วแล้ว พระราชาแห่งหิมตลก็ทรงสร้งวัดขึ้นวัดหนึ่ง และนิมนต์พระภิกษุสงฆ์ต่างๆ กลับและถวายเครื่องไทยทานแล้ว พระองค์ก็เสด็จกลับประเทศของพระองค์

 

เมื่อได้ยินว่าประเทศของตนคืนเข้าสู่สันติแล้ว พระภิกษุองค์ที่หนีมาอินเดียก็ออกเดินทางกลับบ้าน ในระหว่างทางพบช้างโขลงหนึ่งรอ้งแผดเสียงและวิ่งตรงมาหาท่าน เมื่อเห็นช้างพระภิกษุองค์นั้นก็ปีนขึ้นไปซ่อนตัวอยู่บนต้นไม้ แต่ช้างก็เอางวงพ่นน้ำขึ้นไปบนต้นไม้และเอางาขุดราก สักครู่ใหญ่ๆ ต้นไม้ก็โค่นลง ช้างตัวหนึ่งก็เอางวงจับพระภิกษุองค์นั้นใส่บนหลังแล้วพาหนีไปในป่าใหญ่แห่งหนึ่ง ซึ่งมีช้างเจ็บตัวหนึ่งนอนอยู่บนพื้นมันเป็นเสี้ยนไม้ไผ่ปักอยู่ในแผลนั้น ท่านจึงดงเอาออกแล้วเช็ดเลือดและหนองแล้วฉีกผ้าคลุมของท่านออกชิ้นหนึ่งมัดแผลให้ช้างนั้นก็ค่อยๆหาย

 

                วันรุ่งขึ้นช้างก็แย่งกันไปเก็บผลไม้มาถวายพระภิกษุองค์นั้นและเมื่อท่านฉันผลไม้แล้ว ช้างตัวหนึ่งก็นำเอาหีบทองคำมาให้ช้างตัวที่เจ็บ แล้วช้างเจ็บนั้นก็ถวายหีบนั้นต่อพระภิกษุ เมื่อท่านรับหีบแล้วช้างก็พาท่านกลับมายังที่ที่มันพบท่านและวางท่านลงบนพื้นดิน มันไหว้ท่านแล้วก็หนีไป พระภิกษุเปิดหีบนั้นดูก็เห็นพระทนต์ของพระพุทธองค์อยู่ในนั้น ท่านจึงได้นำมาด้วยเพื่อสักการะบูชา

 

                พระเจ้าศีลาทิตย์ได้ทราบว่ามีพระทนต์พระพุทธเจ้าอยู่ในกัสมีร ก็เสด็จไปชายแดนของพระองค์ด้วยพระองค์เองเพื่อทรงทอดพระเนตรและนมัสการพระทนต์นั้น แต่ประชาชนใจแคบไม่ยอมเอาออกมาให้พระองค์ทอดพระเนตร มิหนำซ้ำยังซ่อนเสียอีกด้วย ด้วยความกลัวอิทธิพลของพระเจ้าศีลาทิตย์ กษัตริย์แห่งกัสมีรจึงขุดค้นหาทุกหนทุกแห่ง เมื่อพบแล้วก็นำมาให้พระเจ้าศีลาทิตย์ทอดพระเนตร เมื่อทรงทอดพระเนตรเห็นพระธาตุอันศักดิ์สิทธิ์ พระเจ้าศีลาสทิตย์ก็ทรงนับถืออย่างสูง และอาศัยอำนาจอันสูงของพระองค์ พระองค์ก็ยึดเอาและนำกลับมาไว้สักการะบูชา นี่แหละคือพระทนต์ที่องค์พระราชาทรงนำกลับมา

 

                เมื่อที่ประชุมแยกย้ายกันไปแล้ว พระราชาก็ทรงมอบพระพุทธรูปทองคำที่พระองค์ทรงสร้าง รวมทั้งผ้าไตรจีวรและเงินให้พระภิกษุสงฆ์ในโบสถ์นั้นรักษา

 

                เมื่อท่านอาจารย์ได้บอกลาพระภิกษุสงฆ์ผู้ทรงศีลแห่งวัดนาลันทาแล้ว ก็เก็บรวบรวมพระคัมภีร์ต่างๆ และพระพุทธรูป ท่านประสงค์ที่จะกราบทูลพระราชากลับบ้านในวันที่สิบเก้า เมื่อการประชุมเสร็จสิ้นแล้วพระราชาทรงรับสั่งว่า “เมื่อข้าฯขึ้นครองราชสมบัติเป็นเจ้าแห่งโลกได้กว่าสามสิบปีแล้ว ข้าฯจะไม่เพิ่มพูลและเหตุอันดีแต่ในอดีตจะไม่ดำเนินต่อไป ดังนั้นข้าฯจึงเก็บรวบรวมทรัพย์สมบัติและของมีค่า และได้ทำที่ประชุมใหญ่ระหว่างสองแม่น้ำในประเทศปรยาค และนิมนต์พระภิกษุสงฆ์ทั้งหลาย เชิญพราหมณ์คนจน และคนไร้ญาติ มารับทานอันไม่จำกัดของข้าฯเป็นเวลาเจ็ดสิบห้าวันทุกๆห้าปี ข้าฯได้ประพฤติและทำการประชุมเช่นนี้มาห้าครั้งแล้ว และบัดนี้ข้าฯก็กำลังจะไปประชุมครั้งที่หก ท่านอาจารย์ไม่ชอบที่จะไปร่วมประชุมบ้างหรือ? ”

 

                ท่านอาจารย์ทรงกราบทูลตอบว่า “เมื่อพระโพธิ์สัตว์บำเพ็ญญาณ ท่านพยายามที่จะปลูกฝังทั้งความผาสุกทางโลกและปัญญาทางจิต และเมื่อคนฉลาดได้รับผลไม้เขาก็จะไม่ลืมต้นไม้นั้นเลย ถ้าพระมหาบพิตรทรงมีพระราชหฤทัยกุศลบริจาคสมบัติของพระองค์แก่ประชาชน ทำไมอาตมาภาพจะพักให้ยืด เวลาการเดินทางออกไปอีกเล็กน้อยไม่ได้?  ขอได้ทรงโปรดพระราชทานราชานุมัติให้อาตมาภาพไปกับพระองค์ด้วย”                 พระราชาทรงพอพระทัยเป็นอย่างสูง

 

 

ขอขอบคุณ---- ประวัติพระถังซำจั๋ง แปลโดย รัตนบุรี  2505

 

               

 

 




Create Date : 25 มกราคม 2556
Last Update : 25 มกราคม 2556 15:24:42 น.
Counter : 2272 Pageviews.

0 comments
ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
 *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

surya21
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 50 คน [?]



New Comments
มกราคม 2556

 
 
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
14
15
16
17
20
21
22
23
24
26
27
28
30
31
 
 
All Blog