เมื่อพระพุทธองค์ผจญมารทั้งสี่คือใคร ?
  ในค่ำคืนแห่งการตรัสรู้ พระพุทธองค์นั่งอยู่ใต้ต้นไม้ เหล่ามารโหมยิงลูกธนูและแทงดาบเข้าใส่ ทว่าอาวุธเหล่านั้นกลับกลายเป็นดอกไม้ เรื่องเล่านี้หมายความว่าอย่างไร? สิ่งที่เราเห็นเป็นอุปสรรค แท้จริงแล้วไม่ใช่ศัตรู แต่เป็นมิตร สอนให้เรารู้ว่าเรายังติดข้องตรงไหน

ในแง่อุปสรรคระดับภายใน บางทีไม่ได้มีอะไรมาทำร้ายเราจริงนอกจากความสับสนของเราเอง ไม่ได้มีอุปสรรคที่จับต้องได้ แต่เราต้องการปกป้องตัวเองจากการถูกแตะต้อง บางทีศัตรูผู้เดียวที่เราไม่ชอบคือ "ความจริงที่เป็นอยู่ขณะนี้" ดังนั้นเราจึงหวังว่ามันจะหายไปเร็วๆ ในฐานะผู้ปฏิบัติธรรม ไม่มีอะไรจะหายไปจนกว่ามันจะสอนให้เรารู้และเข้าใจสิ่งที่จำเป็นต้องรู้ มันต้องการจะบอกว่าตรงไหนที่เราตัดขาดจากความเป็นจริง ถอยหนีแทนที่จะเปิดรับ ปิดตัวเองแทนที่จะลองมีประสบการณ์กับสิ่งที่กำลังเผชิญอยู่อย่างเต็มที่ โดยไม่ต้องพะวักพะวนหรือถอยกลับมาอยู่แต่ในโลกของตัวเอง

มารมีอยู่ 4 ตนในพุทธประวัติดังต่อไปนี้

1. เทวบุตรมาร มารตนนี้เกี่ยวข้องกับการแสวงหาความสุข ทำให้เราหลงติดอยู่กับการหลีกเลี่ยงความทุกข์ เราควรลองให้การแสวงหาความสุขเป็น -- โอกาสสังเกต -- ว่าเราทำอะไรเมื่อต้องเจอความทุกข์แทนที่จะวิ่งหนี -- การเปลี่ยนลูกธนูเป็นดอกไม้คือการเปิดหัวใจของเราและดูว่าเราพยายามหลีกหนีอย่างไร -- ด้วยความอ่อน โยนและแจ่มชัด เราจะมองเห็นว่าตัวเองอ่อนแอแค่ไหน และด้วยวิธีนี้จะทำให้เราค้นพบว่าสิ่งที่ดูน่าเกลียดนั้น แท้จริงแล้วเป็นต้นกำเนิดแห่งปัญญาญาณ

2. ขันธมาร คือการมีปฏิกิริยาตอบโต้เมื่อพรมใต้เท้าถูกดึงออกไป เราสูญเสียสิ่งดีๆและเรารีบสร้างตัวเราขึ้นมาใหม่ให้เหมือนเดิม ไม่เว้นแม้กระทั่งความโกรธ ความกลัว เรารีบกลับไปหาหลักยืนอันมั่นคงแห่งการมีตัวตน
อย่างเร็วที่สุด ตรุงปะ รินโปเช เรียกสิ่งนี้ว่า "ความอาลัยอาวรณ์ต่อวัฏสงสาร" แม้บางทีเราอาจรู้สึกว่ามันเป็นลูกธนู หากเราใช้มันเป็นโอกาสเพื่อเรียนรู้ว่า เราพยายามสร้างตัวตนขึ้นมาซ้ำแล้วซ้ำเล่าอย่างไร มันก็จะแปรเปลี่ยนเป็นดอกไม้ได้ในที่สุดเราสามารถยอมให้ตัวเองสนใจใคร่รู้หรือเปิดรับต่อสิ่งที่กำลังเกิดขึ้น ดีกว่ามัวดิ้นรนเพื่อให้ได้ความคิดที่เรามีต่อตัวเรากลับคืนมา --เราสามารถสัมผัสจิตแห่งการไม่รู้ ซึ่งคือจิตแห่งปัญญาญาณพื้นฐาน --

3. กิเลสมาร มีคุณลักษณะของอารมณ์ที่รุนแรง ความรู้สึกธรรมดาๆเกิดขึ้น แต่แทนที่จะปล่อยให้มันอยู่ที่นั่นเฉยๆเรากลับตื่นตระหนก แล้วเริ่มถักทอความคิดขึ้นมาจนเป็นเรื่องราวและก่ออารมณ์ใหญ่โต แทนที่จะแค่นั่งเฉยๆอยู่กับความรู้สึกไม่สบายใจในความเปิดกว้าง เรากลับพยายามเอาพัดลมมาเป่าไล่มันไป อารมณ์ยังคงลุกไหม้อยู่ เพราะเราไม่ยอมปล่อยวาง อารมณ์ถือเป็นส่วนหนึ่งของความดีงามพื้นฐานในการมีชีวิต แต่แทนที่จะปล่อยให้อารมณ์เป็นเช่นนั้น เรากลับนำมันมาใช้เพื่อให้ได้หลักยืนของเรากลับคืนมา เราใช้มันเพื่อปฏิเสธความจริงที่ว่า
 --จริงๆแล้วเราไม่รู้ว่าอะไรจะเกิดขึ้น-- เราใช้มันเพื่อหลอกตัวเอง พยายามทำให้ทุกอย่างมั่งคงปลอดภัย คาดเดาได้ ความจริงไม่จำเป็นต้องเห็นเป็นอุปสรรคหรือปัญหา หากสามารถมองเห็นความป่าเถื่อนของอารมณ์ เราจะเริ่มพัฒนาความอ่อนโยนและเป็นมิตรกับตัวเองและคนอื่นๆ เราเห็นว่าตนเองมีปฏิกิริยาเช่นไรเมื่อสิ่งทั้งหลายพังทลายลง ความรู้ตัวนี้เองจะแปรเปลี่ยนลูกธนูเป็นดอกไม้ สิ่งที่ดูน่าเกลียดน่ากลัวจะเป็นครูของเราได้อย่างแท้จริง

4. ยมมาร บางทีมารทั้งหลายอาจปรากฏขึ้นมาจากความกลัวตาย เมื่อพูดถึงชีวิตที่ดีจากแง่มุมของสังสารวัฏ เรามักหมายถึงว่าเราจัดการทุกอย่างได้ลงตัว เราคือคนที่รู้ว่าจะเปลี่ยนลูกธนูเป็นดอกไม้ได้อย่างไร เรารู้สึกดีกับตัวเองและคิดว่าทั้งหมดนั้นคือชีวิต เราคิดว่าหากเราภาวนามากพอ ออกกำลังกายสม่ำเสมอ กินอาหารดีเลิศ แล้วทุกอย่างจะเพอร์เฟค การแสวงหาความมั่นคง ยินดีในการเป็นที่ยอมรับ ความพอเพียง ความสะดวกสบายทั้งหมด

🌺-- แต่จากแง่มุมของผู้ตื่นรู้ เหล่านี้คือความตาย ---- สาระสำคัญของชีวิตคือ ชีวิตเป็นสิ่งท้าทาย --

บางทีหวานชื่นบางทีขม บางทีตึงเครียดบางทีผ่อนคลาย การพยายามทำให้ปัญหาลุล่วงและจัดการมันเข้าที่ทั้งหมด เหล่านี้คือความตายความต้องการเหนี่ยวรั้งสิ่งที่เธอมี และปรารถนาให้ประสบการณ์แต่ละครั้งเข้ามายืนยันความเป็นตัวเธอ แสดงความยินดีกับเธอ และทำให้เธอรู้สึกดีกับตัวเองยิ่งขึ้น เหล่านี้คือความตายดังนั้นแม้จะกล่าวว่า ยมมารคือความกลัวตาย แต่จริงๆแล้วอาจเรียกได้ว่า มันคือการ --กลัวการมีชีวิต --
การมีชีวิตเต็มเปี่ยม เต็มศักยภาพความเป็นมนุษย์และตื่นรู้อย่างสมบูรณ์ คือการถูกจับโยนออกจากรังอันสะดวกสบาย คือการอยู่ในดินแดนที่ไม่มีใครอาศัยอยู่ คือการมีประสบการณ์กับแต่ละขณะด้วยความรู้สึกสดและใหม่อย่างแท้จริง การมีชีวิตคือการตายครั้งแล้วครั้งเล่า นี่แหละคือชีวิตจากแง่มุมของการตื่นรู้

เราต้องการความสมบูรณ์แบบอย่างไร้ที่ติ ทว่าเรากลับมองเห็นแต่ความไม่สมบูรณ์แบบของตัวเองอยู่ตลอดเวลา ไม่มีที่ให้เราหนีพ้น ไม่มีทางออก นั่นคือ -- ชั่วขณะ -- ที่ลูกธนูแปรเป็นดอกไม้ เราอยู่กับส่ิงที่ตัวเองเห็น รู้สึกในสิ่งที่ตัวเองรู้สึก และจากตรงนั้นเราจะเริ่มสัมผัสได้กับจิตแห่งปัญญาญาณพื้นฐาน

มารทั้ง4 นำเราไปสู่การมีชีวิตที่ตื่นรู้ มีชีวิตชีวาด้วยการปล่อยวาง คือยอมตายในแต่ละขณะที่ปลายสุดของลมหายใจออก เมื่อตื่นขึ้น เราสามารถดำเนินชีวิตอย่างเต็มเปี่ยมได้โดยไม่ต้องมองหาความพึงพอใจและหลีกเลี่ยงความเจ็บปวด ทั้งยังไม่ต้องสร้างขึ้นมาใหม่เมื่อมันพังทลายลง

การพยายามวิ่งหนีจาก 🌺-- ชั่วขณะแห่งประสบการณ์ตรงหน้า -- ก็ไม่ต่างจากความปรารถนาความตายมากกว่าการมีชีวิต

หากเราสามารถมองไปยังลูกธนู และดูว่า 🌺ตนเองมีปฏิกิริยากับมันเช่นใด เราก็จะกลับคืนสู่จิตแห่งปัญญาญาณพื้นฐานได้เสมอ

จากหนังสือ เมื่อทุกอย่างพังทลาย เพม่า โชดรัน เขียน
วิจักขณ์ พานิช และ อัญชลี คุรุธัช แปล สำนักพิมพ์ ฟรีมายด์

ขอให้เพื่อนๆมีความสุขค่ะ

credit:ขวัญ เพียงหทัย facebook
ศุกร์ 10 กรกฎาคม 2558




Create Date : 06 สิงหาคม 2558
Last Update : 6 สิงหาคม 2558 14:37:56 น.
Counter : 1185 Pageviews.

1 comments
  
เข้าใจยากนิดหนึ่งค่ะ
โดย: tuk-tuk@korat วันที่: 6 สิงหาคม 2558 เวลา:14:42:34 น.
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

surya21
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 50 คน [?]



New Comments
สิงหาคม 2558

 
 
 
 
 
 
1
2
4
5
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
24
25
27
28
29
30
31
 
 
All Blog