พระถังซัมจั๋ง...ผู้เปิดโลกพุทธมหายาน พุทธศตวรรษที่12

            พระถังซัมจั๋งเกิดที่เมืองเจียวจื้อ ในมณฑลเหอหนาน บิดาชื่อ ไหวย ชื่อเดิมของพระถังซัมจั๋งคือซานจั๋ง เมื่ออายุได้ ๑๓ ปี จึงบวชเป็นสามเณรที่เมืองลกเอี๋ยง สามเณรซานจั๋งมีสิติปัญญาที่เฉลียวฉลาดในการศึกษาพระธรรม ได้แสดงความเป็นอัจฉริยะภาพ เมื่อสามารถศึกษาทำความเข้าใจและอธิบายคัมภีร์มหายาน สัมปริคหะศาสตร์ รวมทั้งความหมายของนิพพานในคัมภีร์พุทธศาสนาอื่น ๆ จนหมดสิ้น เมื่ออายุครบ ๒๐ ปี จึงอุปสมบทเป็นพระภิกษุ ด้วยความสามารถและสติปัญญาในพุทธศาสนาและวิธีการแสดงธรรมเทศนาสั่งสอนที่เข้าใจง่าย จึงเป็นที่โปรดปรานของพระเจ้าถังไทจง  จักรพรรดิ์พระองค์ที่สองของราชวงศ์ถัง ( พ.ศ. ๑๑๗๐ – พ.ศ. ๑๑๙๓ )

             ในช่วงต้นพุทธศตวรรษที่ ๑๒  ( นอกจากชื่อพระถังซัมจั๋งแล้ว ยังมีชื่อเรียกในเอกสารต่าง ๆ  คือ  พระซานจั๋ง หลวงจีนสวานจั้ง  หลวงจีนเหี้ยนจัง  หลวงจีนยวนฉางหรือซวนชาง ( Yaun Chwang  ) หลวงจีนฮวนซัง ( Hsuan tsang  ) ซึ่งทั้งหมดก็คือชื่อของพระถังซัมจั๋งที่เรารู้จักกันดีนั่นเอง )  เรื่องราวของการเดินทางไกล จากซีอาน นครหลวงของราชวงศ์ถัง มาสู่ดินแดนแคว้นมคธราฐและพุทธสถานของพระพุทธองค์เป็นเวลายาวนานกว่า ๑๗ ปีถูกบันทึกไว้ใน ไซอิ๋วกี่ ที่แปลความหมายว่า “ บันทึกเกี่ยวกับประเทศฝ่ายตะวันตก”  

           พระถังซัมจั๋ เดินทางออกจากนครเชียงอาน ตรงกับแผ่นดินพระเจ้าถังไทจงมหาราช ศักราชเจ็งกวน ปีที่ 3 พ.ศ.1172 หรือ ค.ศ.629 เพื่อไปศึกษาและอัญเชิญพระธรรมคัมภีร์ ที่ขาดแคลนในเมืองจีนเวลานั้น พระเจ้าถังไทจงมหาราชพระองค์นี้ เป็นปฐมกษัตริย์จีน ที่ทรงทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา อย่างยิ่งใหญ่ที่สุด พระถังซัมจั๋งเดินทางออกจาก ด่านเง็กเม่งกวน ข้ามทะเลทรายมกฮ่อเอี๋ยง ผ่านเมืองอีอู๊ (ฮามิ-Hami อยู่ในมณฑลซินเกียง) ผ่านแคว้นเกาเชียง แล้วผ่านการาชาร์ แคว้นคุจะ ข้ามเทือกเขาเทียนซาน ผ่านทะเลสาปอิสสิกุล แล้วผ่านเข้าเตอรกีสถาน ผ่านแคว้นต่างๆ มีแคว้นสมารกันด์เป็นต้น เข้าอาฟกานิสถานสู่อินเดีย ท่องเที่ยวศึกษาพระธรรมวินัย และสักการะพระพุทธรูปปูชนียสถาน อยู่ในอินเดียจนถึง พ.ศ.1188 (ค.ศ.645) จึงกลับคืนนครเชียงอาน ท่านเดินทางกลับในเส้นทางเดิมบันทึกของพระถังซัมจั๋งมีชื่อว่า “ไต้ถังไซฮกกี่” แปลว่า บันทึกเรื่องประเทศตะวันตก สมัยมหาราชวงศ์ถัง ถือว่าเป็นหนังสือที่ทรงคุณค่าและดังที่สุด เพราะนอกจากจะเป็นจารึกประวัติศาสตร์แล้ว ในวงการวรรณกรรม และวงการบันเทิงจีน ได้นำเอาเรื่องพระถังซัมจั๋งผจญภัย มาสร้างเป็นงิ้วเล่นละครเรื่อง“ไซอิ๋ว” จนเป็นอมตะ ขนาดว่าคนไทยก็ยังรู้จักกันเป็นอย่างดี 

      .. ๑๑๐๐ พระเจ้าหรรษวรรธนะ (พระเจ้าศีลาทิตย์) ราชวงศ์วรรธนะ แห่งวรรณะแพศย์ ได้กำจัดอำนาจราชวงศ์คุปตะแห่งวรรณะพราหมณ์ลงได้ และขึ้นครองราชเป็นมหาราชที่ยิ่งใหญ่ ทรงเลื่อมใสในพุทธศาสนามหายาน ได้ทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา และอุปถัมภ์บำรุงมหาวิทยาลัยนาลันทาด้วย จนทำให้ชาวฮินดูขัดเคืองว่าบำรุงพุทธศาสนามากกว่าฮินดู จึงวางแผนปลงพระชนม์พระเจ้าหรรษะจนสำเร็จ ในยุคนี้ได้มีพระภิกษุชาวจีนท่านหนึ่งชื่อหลวงจีนเหี้ยนจังหรือยวนฉาง (พระถังซัมจั๋ง) ได้จาริกสู่ชมพูทวีป  นอกจากท่านมาศึกษาพระพุทธศาสนาและแปลพระไตรปิฎกเป็นภาษาจีนเพื่อนำไปยัง ประเทศจีนแล้ว ท่านยังได้เขียนจดหมายเหตุไว้เพื่อบันทึกเรื่องราวและสภาพของสังคมด้านพุทธศาสนาไว้มากมาย ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อการศึกษาพระพุทธศาสนาในภายหลัง




Create Date : 01 พฤศจิกายน 2555
Last Update : 1 พฤศจิกายน 2555 11:19:03 น.
Counter : 5415 Pageviews.

0 comments
ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
 *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

surya21
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 50 คน [?]



New Comments
พฤศจิกายน 2555

 
 
 
 
4
5
6
7
8
9
10
11
16
17
19
20
21
22
23
25
26
27
28
29
30
 
 
All Blog