เรื่องจริงหรือตำนาน พระยาโคตรตระบองยึดกรุงศรียโศธรปุระ...ฤาจะเป็นชุมชนจากเขาพระวิหาร จ.ศรีสะเกษ

               จากศิลาจารึก สดอก กอ๊ก ธม ใกล้อำเภอ อรัญญประเทศของไทย จารึกเป็นภาษาเขมรและสันสกฤตเล่าถึงวงศ์ตระกูลของพราหมณ์ที่มีอิทธิพลในราชสำนักขอมลำดับวงศ์ตระกูลติดต่อกันเป็นร้อยๆปี นับตั้งแต่เริ่มตั้งอาณาจักรกัมพูชาสมัยนครหลวงในรัชกาลชยวรรมันที่ 2 ราว พ.ศ. 1345 วงศ์วานแต่ละคนมีตำแหน่งเป็น พระราชครูอาจารย์โหมควบคุมพระกลาโหม เป็นขุนนางชั้นก้มรเตงอัญแทบทั้งนั้น ในศิลาจารึกนั้นปรากฏชัดว่ากษัตริย์สมัยนครหลวง ยกที่ดิน เมืองทั้งเมือง ให้เป็นสมบัติของขุนนางพราหมณ์นี้บ่อยๆพวกพราหมณ์ตระกูลนี้จึงมีผลประโยชน์มากมาย มีส่วยกินเป็นหลายๆเมืองมีทาสอยู่ในสังกัดบังคับบัญชาสำหรับทำการผลิตเป็นเรือนพัน เรือนหมื่น... ศ.หลุยส์ฟิโนต์ มีความเห็นว่าพวกชนชั้นปกครองของกัมพูชายุคนั้น เป็นพวกชนต่างถิ่นที่อพยพเข้ามาเสวยอำนาจ เช่นเป็นพวกพราหมณ์จากอินเดียบ้าง จากชวาบ้าง เป็นพวกชวาเองบ้าง ล้วนไม่ใช่ชาวพื้นเมือง พวกนี้มีวัฒนะธรรมสูง รุ่งโรจน์มากแต่เป็นเพียงชนส่วนน้อยนิด.......ชยวรรมันที่ 7 รับเอาพุทธศาสนาฝ่ายมหายานเข้ามาก็ด้วยวัตถุประสงค์ใหญ่ตรงที่จะทำลายอิทธิพลของพราหมณ์ผู้ครอบครองที่ดินข้าทาสและผลประโยชน์นี้น่าจะเป็นเหตุผลหนึ่ง...พระภิกษุของมหายานนั้นไม่มีครอบครัววงศ์ญาติที่จะครอบครองเป็นมรดกตกทอดเสวยผลประโยชน์เต็มอย่างพราหมณ์และ พระภิกษุเป็นเพียงนักบวช มิใช่ชนทั้งวรรณะเหมือนพรามณ์ ส่วยอากรที่อุทิศทวายบำรุงพระ ไม่มากมายเท่ากับที่ต้องอุทิศให้พราหมณ์ทั้งวรรณะ...ในพระสุตตปิฏก ล้วนยืนยันว่าพรามหมณ์ตระกูลต่างๆได้รับส่วยหมู่บ้าน เมื่องต่างๆเป็นผลประโยชน์ ร่ำรวยจนเรียกว่ พราหมณมหาศาล....หลังจากเปลี่ยนรัชกาลจากชยวรรมันที่7 อินทรวรรมันที่ 2 ได้ครองราชต่อมาอีกนานถึง 42 ปี คือระหว่าง พ.ศ. 1744-1786 ในสมัยนี้มีความขัดแย้งรุนแรงภายในอาณาจักรและเศรษฐกิจเสื่อมโทรม อาณาจักรสุโขทัยสลัดแอกจากขอมรวมทั้งจามปาเช่นเดียวกัน พอสิ้นอินทรวรรมันที่ 2 ชยวรรมันที่ 8 เป็นผู้นับภือศาสนาพราหมณ์ ชีวิตพระองค์ถูกห้อมล้อมด้วยพราหมณ์ ชายาชยวรรมันที่ 8 องค์หนึ่งคือพระนาง จักรวรรดิราชเทวีเป็นลูกสาวพราหมณ์ หฤษเกศ สมุหพระราชมณเทียร หรือขุนวัง ของชยวรรมันที่ 7นั่นเอง ชยวรมันที่ 8คือผลิตผลของพวกพราหมณ์ เทวาลัยและพุทธสถานที่รุ่งเรืองสมัยชยวรรมันที่ 7ถูกทำลายหรือดัดแปลงเป็นเทวาลัยทางศาสนาพราหมณ์กันทั่วทุกแห่งหมด...ความรุ่งเรืองของราชสำนักเขมรในทรรศนะประชาชน ก็คือภาระอันหนักอึ้งของประชาชน เขาต้องเสียส่วยอากร ต้องเสียแรงงานต้องถูกเกณฑ์สร้างมฤตกาลัยแห่งพระราชาผู้ทรงยศ เพื่อธำรงไว้ซึ่งพระยศ รับใช้และรักษาชนชั้นนักบวชที่ฟุ่มเฟือยโอ่อ่าและต้องคอยดูแลรับใช้เทวะที่แสนจะโหดร้ายทารุณ...มีคำกล่าวของนักประวัติศาตร์ว่าพุทธศานาที่เข้ามาสู่กัมพูชานั้นเป็นภัยต่อพวกราชสำนักพราหมณ์ร้ายแรงเสียยิ่งกว่าการรุกรานของไทยเสียอีก...สาเหตุแห่งความหายนะของกรุงศรียโศธรปุระนั้นอยู่ที่ความขัดแย้งภายในสังคมคือความขัดแย้งระหว่างทาสกับนาย ทาสและกษัตริย์ระหว่างศาสนาพุทธหินยานกับศาสนาพราหมณ์ กำลังสำคัญที่ทำลายราชสำนักของวงศวรรมันลงก็คือการลุกฮือขึ้นก่อจราจลของพวกทาส...จุดจบของราชวงศ์วรรมันของอาณาจักรกัมพูชายุคนครหลวงตามที่ปรากฏในพงศาวดารเขมรฉบับนักองค์นพรัตน์กล่าวว่าเมื่อพระเจ้าสังขจักรสวรรคตแล้วก็ถึงสมัยของพระมหาจักรพัตราธิราชผู้เป็นโอรสครองราชต่อมาอยู่นานก็สวรรคต พระราชบุตรของพระองค์ ฯได้สืบสันติวงศ์จึงเตรียมงานพระเมรุถวายเพลิงพระราชบิดาได้ออกหมายสั่งเกณฑ์หัวเมืองต่างๆส่งไม้และซุงเข้ามายังกรุงศรียโศธรปุระเพื่อปลูกสร้างพระเมรุมาศพวกเจ้าเมืองและกรมการก็เกณฑ์อาณาประชาราษฏร์ไปตัดไม้ซุงไม้เสาในป่า วันหนึ่งชายผู้รับเวรหุงต้มอาหารหากระจ่าตนข้าวไม่ได้ ก็ฉวยเอาไม้งิ้วดำที่ทิ้งอยู่ใกล้ๆมาคนหม้อข้าวข้าวเลยดำไปทั้งหม้อ พอข้าวสุกก็คดออกมากินกันก่อน อารามอร่อยกินจนเกื่อบหมดหม้อจึงต้องหุงขึ้นใหม่พอสุกแล้วก็เอาหม้อใส่สาแหรกและเหนี่ยวกิ่งไม้ลงมาจะแขวนหม้อแต่ปรากฏว่าต้นไม้เอนตามมือมา เห็นว่าต้นไม้ออ่นนักจึงเหนี่ยวกิ่งยางใหญ่ต้นยางก็เอนลู่ลงมา แล้วเอาหม้อข้าวแขวนไว้พวกตัดไม้กลับมาจะกินข้าว มองไม่เห็นหม้อข้าวหม้อแกง ถามดูก็ได้ความว่าแขวนอยู่บนยอดยาง แล้วชายผู้นั้นก็เหนี่ยวยอดยางหยิบหม้อข้าวหม้อแกงลงมาให้ พวกตัดไม้เลือกกินแต่ข้าวขาว ชายผู้นั้นกินแต่ข้าวดำหมดแต่ผู้เดียว พวกที่ตัดไม้ทั้งปวงเห็นชายผู้นั้นมีเรี่ยวแรงเกินมนุษย์ ก็อัศจรรย์ใจและเกรงกลัว แล้วจึงพูดกันขึ้นว่า ถ้ามีฤทธิ์ถึงเพียงนี้แล้วจะเป้นเจ้าแผ่นดินมิดีหรือ ขอแต่ให้พวกเราทุกคนใด้รับความสุขอย่าให้ทุกข์ลำบากก็แล้วกันชายผู้นั้นตอบว่า ถ้าต้องการเช่นนั้นก็ต้องยกทัพไป แล้วตัดไม้ทยุงทำเป็นตะบองใหญ่ จากนั้นก็ยกทัพกันไปยังนครหลวงคือกรุงศรียโศะรปุระ บุกเข้าตีได้เมือง พระราชบุตรที่เตรียมงานพระเมรุก็ตกใจจนทิวงศ์คต แต่ทว่าพระราชบุตรีซึ่งเป็นพี่น้องกับพระราชบุตรและมีสวามีเป็นเจ้านายเชื้อพระวงศ์ได้พาพระบรมวงศานุวงศ์หลบหนีไปอาศัยอยู่ตามป่าตามเขารอดไปได้ พระยาตะบองทยุงก็ได้เสวยราชเป็นกัตริย์เปลี่ยนวงศ์ใหม่ ทรงพระนามว่า พระโคดมเทวราชครอบครองเมืองเป็นสุขขีสืบมา การต่อสู้ระหว่างพลังเก่าและพลังใหม่ยังดำเนินการต่อมาอีก พงศาวดารเล่าต่อว่า พระราชบุตรีทีพาพรรคพวกหนีไปได้ในคราวที่พระยาตะบองลุกฮือขับไล่พวกนายทาสนั้น ยังคงมีชีวิตอยู่ พระยาแกรกติดตามจับพรรคพวกพี่น้องกัตริย์เก่ามาสังหารเสียอีกนับไม่ถ้วน แต่ก็ยังมีทารกลูกของนางราชบุตรีนั้นรอดตายไปได้และพยายามต่อสู้ช่วงชิงอำนาจคืน ต่อสู้กันอย่างยืดเยื้ทารุณในที่สุดก็ได้รับชัยชนะ ครองราชย์สืบวงศ์กษัตริย์ดั้งเดิม ทรงพระนามว่าพระเจ้าปักษีจำกรุง หรือเป็นเชื้อพระวงศ์กัตริย์วรรมันได้กลับคืนสู่อำนาจอีกครั้ง (ขอขอบคุณ ตำนานแห่งนครวัด โดย จิตร ภูมิศักดิ์ )





Create Date : 17 กุมภาพันธ์ 2556
Last Update : 17 กุมภาพันธ์ 2556 21:52:33 น.
Counter : 1830 Pageviews.

1 comments
  
เข้ามาค่อย ๆ อ่านค่ะ
โดย: tuk-tuk@korat วันที่: 19 กุมภาพันธ์ 2556 เวลา:16:00:05 น.
ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
 *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

surya21
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 50 คน [?]



New Comments
กุมภาพันธ์ 2556

 
 
 
 
 
2
3
4
5
6
9
10
13
14
16
18
19
21
22
23
24
25
27
28
 
 
All Blog