ตำนาน พระยาโคตรตะบองและพระยาแกรก ในพงศาวดารเหนือ ราว พ.ศ.1700-1870


ตำนานเรื่องพระยาแกรก ในตำนานนิทานฝั่งไทยลาวมีสัญลักษณ์บุคคลสำคัญสองกลุ่มคือพระยาโคตรตะบอง กับ พระยาแกรก พระยาโคตรตะบองเป็นสัญญลักษณ์ของขอมผู้นับถือศาสนาพราหมณ์และพุทธมหายาน ที่มีมาก่อนตั้งแต่ราว พ.ศ. 1600 ( พราหมณ์หมายถึงชนวรรณะหนึ่งวรณะปัญญาชน มีอาชีพทางสมอง บางคนเท่านั้นที่บวชเป็นนักบวชแต่พวกลูกเมียญาติพี่น้องวงศ์วานของเขาอีกมากมายเป็นคนธรรมดาไม่ใช่นักบวชและได้ชื่อว่าเป็นวรรณะพราหมณ์ทั้งนั้นพวกนี้เขาทำมาหากิน มีไร่นาสาโทก็อาศัยพวกทาสทำการผลิตให้ ครอบครัวพราหมณ์จึงมีทาสเป็นกรรมสิทธิ์มากมาย...เมื่อกษัตริย์สร้างมฤตกเทวาลัยขึ้นแห่งหนึ่ง ก็จะตั้งให้พราหมณ์ครอบครัวหนึ่งเป็นผู้ดูแล ทำพิธีสังเวยพระเทวราชที่สถาปนาไว้ พราหมณ์นักบวชและครอบครัว วงศ์วานก็จะยกไปอยู่ที่เทวาลัยนั้นแล้วกษัตริย์ก็จะยกที่ดินโดยรอบเทวาลัยหรือที่ดินตำบลอื่นๆให้เป็นสมบัติของพระเทวราช ผู้คนในบริเวณนั้นต้องส่งส่วย ต้องทำไร่ไถนาต้องทำนมเนย หาเครื่องเทศ เครื่องบูชา ทอผ้า ตักน้ำ ตำข้าวให้แก่ครอบครัวพราหมณ์ผู้ทำพิธีบูชา จะหนีไปใหนก็ไม่ได้เพราะเป็นทาสที่ยกไว้ให้เป็นข้าพระ สลักรายชื่อไว้ครบครันในจารึกกรอบประตูเทวาลัยพวกพราหมณ์ทำหน้าที่ดูแลเทวาลัยสืบตระกูลต่อกันลงมาและแสวงหาผลประโยชน์จากทาสหรือข้าพระเหล่านั้นผลประโยชน์ของพราหมณืจึงมากเหลือเกิน) ...ตำนานเล่าว่าพระยาโคตรตะบองเป็นพระราชาครองสมบัติอยู่ ณ.เมืองแห่งหนึ่งที่วัดเดิมริมเกาะหนองโสน หมายถึงเมืองอโยธยาศรีรามเทพ ( ปัจจุบันคือ บริเวณฟากตะวันออกของอยุธยา) ซึ่งเป็นเมืองมีมาก่อนกรุงศรีอยุธยา…

พระยาแกรก อาจเป็นสัญลักษณ์ของผู้นับถือศาสนาพุทธเถรวาทจากลังกาที่แผ่เข้ามาใหม่แล้วปะทะขัดแย้งจนมีอำนาจเหนือพราหมณ์กับพุทธมหายานที่มีมาก่อน ตำนานเล่าว่าพระยาแกรกเป็นคนเข็ญใจ พิกลพิการ (สมณะหรือศากยะบุตรนั้นยากจน นุ่งหมจีวรเก่าๆ ไม่มีสมบัติสะสมมากมาย ทำมาหากินเองไม่ใด้ต้องบิณฑบาตรเลี้ยงชีพ )เดินไม่ได้ต้องถัดไปกับพื้น มีเสียงดังแกรกๆ ( ค่อยเผยแพร่และขยายตัวอย่างช้าๆ) เนื่องจากเมื่อเป็นทารกนั้นถูกไฟครอก แต่เป็นผู้มีบุญไม่ถึงตาย มีเทวดารักษาและมีสมณะเลี้ยงไว้ (พุทธศานาหินยานจากเมืองไทยได้ฟักตัวขึ้นและแพร่หลายทั่วไปในบรรดาประชาชนและในบรรดาชนชั้นสูงที่มีผลประโยชน์ทางที่ดินขัดแย้งกับพราหมณ์ พุทธศาสนาหินยานนี้ขัดแย้งกับพราหมณ์รุนแรงกว่ามหายานยิ่งนักเพราะมหายานยังพอประณีประนอมกับพราหมณ์ในเรื่องเทพเจ้า เรื่องไสยศาสตร์ เวทมนตร์และแม้แต่ภาษายังใช้ภาษาสักฤต อันเป็นภาษาเดียวกับที่พราหมณ์ใช้ พราหมณ์ยังมีบทบาทได้เป็นครูบาอาจารย์สอนศิลปวิทยาการด้านหนังสือและภาษาอยู่บ้างในราชสำนัก...แต่พุทธศาสนาหินยานใช้ภาษาบาลีอันเป็นภาษาใหม่ต่างจากภาษาสันสกฤต เป็นอันว่าพวกปัญญาชนกัมพูชาได้หย่าขาดจากภาษาสันสกฤตของพราหมณ์ และลัทธิธรรมเนียมของพราหมณ์โดยสิ้นเชิง พุทธศาสนามีลักษณะเป็นประชาธิปไตยไม่มีพิธีรีตองลึกลับสับสน เป็นปรัชญาทีมีศรัทธาในความมักน้อยซึ่งเข้าถึงจิตใจของสามัญชนผู้ยากจนทั่วไปขัดแย้งกับพรามณืทีมีพิธีเจ้ายศเจ้าอย่าง ทระนงโอ่อ่า ระดมแรงงานสร้างเทวาลัยเหมาะสำหรับสังคมทาส ) ตำนานเรื่องพระยาแกรกในพงศาวดารเหนือมีเนื้อความหลักตรงกันกับตำนานพระยาแกรกในราชพงศาวดารกรุงกัมพูชา( ตำนานพระยาตะบองทยุงและพระยาแกรก ในพงศาวดารเขมรอาจเป็นเรื่องหัวหน้าทาสที่ลุกฮือขึ้นโค่นล้มอำนาจกษัตริย์ในรัฐทาสลง ก่อน พ.ศ.1870โดยมีการแพร่ขยายของพุทธศาสนาจากลังกาทีมีความยืดหยุ่นและประชาธิปไตยมากขึ้นร่วมด้วย)





Create Date : 03 มีนาคม 2556
Last Update : 3 มีนาคม 2556 16:05:31 น.
Counter : 5524 Pageviews.

1 comments
  
พระยาโคตรตะบอง ชื่อเหมือนตำนานเมืองพิจิตรนะคะ
โดย: tuk-tuk@korat วันที่: 5 มีนาคม 2556 เวลา:14:56:47 น.
ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
 *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

surya21
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 50 คน [?]



New Comments
มีนาคม 2556

 
 
 
 
 
1
2
4
7
9
10
11
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
24
26
27
28
29
31
 
 
All Blog