นครตักศิลา-ตำนานพญานาค/งูใหญ่ อาศรมความรู้และกำเนิดพระพุทธรูป

เฮโรโดตุส (Herodotus) บิดาแห่งประวัติศาสตร์ ซึ่งกล่าวว่า อินเดีย เป็นดินแดนที่ตั้งอยู่สุดขอบโลกและเต็มไปด้วยความแปลกประหลาด แต่กระนั้นก็ร่ำรวยทองคำและส่งบรรณาการแก่จักรพรรดิเปอร์เซียมากกว่ามณฑลใด มุมมองดังกล่าวมีอิทธิพลต่อภาพลักษณ์ของอินเดียในสายตาชาวกรีกเป็นอย่างมาก ดังนั้นจึงไม่แปลกใจแต่อย่างใดที่หลังจากสามารถโค่นล้มจักรวรรดิเปอร์เซียล งได้เมื่อ 331 ปีก่อนคริสต์ศักราช พระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราชแห่งมาซีโดเนีย(Alexander the Great of Macedonia) จะทรงมุ่งหน้ามาทางตะวันออกสุดของจักรวรรดิฯเพื่อพิชิตดินแดนสุดขอบโลกอันมั่งคั่งอย่างอินเดีย


ตักศิลา มีผู้รู้อธิบายไว้แตกต่างกัน เซอร์จอห์น มาร์แชล (Sir John Mashall) ซึ่งเป็นนักโบราณคดีชาวอังกฤษ ที่มาขุดค้นพื้นที่บริเวณนี้ในปี 1913กล่าวว่า คำว่าตักศิลา ซึ่งมีรูปภาษาบาลีว่า ตกฺกสิลา(Takkasila) และรูปสันสกฤตว่า ตกฺษศิลา (तक्षशिला - Takshashila) มีคำแปลตรงตัวว่า หินตัด ดังนั้นจึงน่าจะหมายถึง เมืองหินตัดแต่อย่างไรก็ตาม ดร. อะหมัด ฮะซาน ดานี (Ahmad Hasan Dani) นักโบราณคดีชาวปากีสถานแย้งว่า คำทั้งสองสามารถแปลได้ว่า เนินเขาอันเป็นที่อยู่ของตักษะหรือตักกะซึ่งเป็นพญางูที่สำคัญในปกรณัมฮินดู ได้เช่นกันโดยโยงเข้ากับชื่อภาษาเปอร์เซียของเมืองนี้ว่า มาริกะลา (Marigala) ซึ่งหมายถึง ป้อมบนเนินเขาพญางู ซึ่งคำแปลนี้สอดคล้องกับเรื่องราวในมหากาพย์มหาภารตะที่กล่าวว่าพระเจ้าชนเมชัย (Janamejaya) พระปนัดดาของพระอรชุน(Arjuna) หนึ่งในวีรบุรุษห้าพี่น้องปาณฑพ (Pandavas) ในสงครามมหาภารตะ ได้จับพญางูตักษกะมาบูชายัญเพื่อล้างแค้นให้แก่ปาริกษิต(Parikshita) พระราชบิดา ที่ทรงต้องพิษของพญานาคจนสิ้นพระชนม์ และจากนั้นก็ได้เข้ายึดครองเมืองนี้โดยที่ไม่ได้เปลี่ยนแปลงชื่อแต่อย่างใด
























เป็นได้ว่า พญางูตักษกะที่อ้างถึงในมหาภารตะนั้น แท้จริงแล้วก็คือกษัตริย์ของชนเผ่าฏากะ (Taka) ซึ่งเป็นชนเผ่าบูชางูใหญ่ ที่อาศัยอยู่ในแถบรัฐปัญจาบของอินเดียและมณฑลปัญจาบของปากีสถานมาตั้งแต่สมัยโบราณ และการถูกจับบูชายัญดังกล่าวน่าจะหมายถึงการที่ชนเผ่านี้พ่ายแพ้และถูกกำจัดไปโดยนักรบชนเผ่าอินโด - อารยันที่ได้เริ่มถยอยอพยพจากเอเชียกลางเข้ามาในอนุทวีปตั้งแต่ช่วง2,000 ปีก่อนคริสต์ศักราช ดังนั้น ชนเผ่านี้จึงน่าจะเป็นผู้ริเริ่มสร้างเมืองนี้ขึ้นก่อนที่จะมีการสร้างเพิ่มเติมโดยชนกลุ่มอื่นในยุคต่อมา

ตักศิลายังเป็นเมืองที่เจริญเติบโตเป็นเมืองศูนย์กลางทางการค้าส่วนหนึ่งเนื่องจากตั้งอยู่ในชัยภูมิที่เหมาะสม กล่าวคือ ตั้งอยู่ในหุบเขาแม่น้ำฮาโรซึ่งมีลำธารที่เป็นสาขากระจายอยู่เป็นจำนวนมาก ทำให้พื้นที่มีความอุดมสมบูรณ์ ในขณะเดียวกันก็ตั้งอยู่ห่างจากแม่น้ำสินธุมากพอที่จะไม่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วมประจำปี ยิ่งไปกว่านั้น เมืองนี้ยังตั้งอยู่บนจุดตัดของเส้นทางการค้าสามเส้นได้แก่(1) เส้นทางด้านทิศเหนือ(อุตตราบถ) ซึ่งเชื่อมระหว่างแคว้นคันธาระ (Gandhara)กับแคว้นมคธ เส้นทางด้านทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ซึ่งเชื่อมระหว่างเอเชียตะวันตกกับอนุทวีปโดยผ่านแคว้นบัคเตรีย (Bactria) กปิศะ (Kapisha) ปุษกลาวตี (Pushkalavati) และ (3) เส้นทางด้านแม่น้ำสินธุ ซึ่งเชื่อมเอเชียกลางด้านตะวันออกและมลฑลซินเจียงของจีนเข้ากับอนุทวีปโดยผ่านทางช่องเขาคุนเจราบ(Khunjerab) เรื่อยลงมาทางหุบเขาศรีนคร (Srinagar Valley) ในแคชเมียร์ของอินเดีย มันเซห์รา (Mansehra) และหุบเขาหริปุระ(Haripur Valley) ในปากีสถาน






Create Date : 18 เมษายน 2556
Last Update : 18 เมษายน 2556 19:43:42 น.
Counter : 3144 Pageviews.

1 comments
  
โดย: tuk-tuk@korat วันที่: 19 เมษายน 2556 เวลา:16:19:50 น.
ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
 *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

surya21
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 50 คน [?]



New Comments
เมษายน 2556

 
1
2
3
5
6
7
8
10
12
13
14
15
19
20
21
22
25
26
27
28
29
30
 
 
All Blog