พุทธปรัชญาจากมหาวิทยาลัยนาลันทา อินเดีย สู่ มหาวิหารบรมพุทโธ อินโดเนเซีย (ตอนที่2 )

พระพุทธเจ้าตรัสรู้อะไร.....อริยสัจสี่และอริยมรรคแปด 

พระพุทธเจ้าตรัสเทศนาเรื่อง อริยสัจสี่ แก่ปัญจวัคคีย์ เมื่อพระพุทธองค์แสดงธรรมจบลง โกณฑัญญะ หัวหน้าปัญจวัคคีย์ก็เกิด “ดวงตาเห็นธรรม” คือ เข้าใจความจริงที่ว่า “สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีการเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งหมดย่อมดับไปเป็นธรรมดา”  

 

            พระพุทธองค์ได้ตรัสรู้ อริยสัจสี่ประการและทรงบรรลุ ญาณทั้ง 3 คือ

            1. สัจจญาณ (รู้สภาพแท้จริงของมัน) รู้ว่ามันคืออะไร

            2. กิจจญาณ (รู้ว่าพึงกระทำ) จะต้องทำอะไรกับมัน จะจัดการอย่างไร

                3. กตญาณ (รู้ว่าได้ทำแล้ว ได้ผลแล้ว) หลังจากทำแล้วเกิดผลอะไรตามมา

            สำหรับในอริยสัจสี่นี้มีขั้นตอนของญาณทั้ง 3 ดังนี้

            1. ทุกขสัจ ก็ทรงรู้ว่านี่คือทุกข์

            2. สมุทัยสัจ ก็ทรงรู้ว่า นี่คือเหตุแห่งทุกข์

            3. นิโรจสัจ ก็ทรงรู้ว่า นี่คือความดับทุกข์          

            4. มรรคสัจ ก็ทรงรู้ว่า ทางดับทุกข์ 

 

 

อริยมรรค มีองค์แปด คือ

1.สัมมาทิฐิ (เห็นชอบ)       

2. สัมมาสังกัปปะ (ดำริชอบ)

3.สัมมาวาจา (เจรจาชอบ)

4. สัมมากัมมันตะ (การงานชอบ)

5.สัมมาอาชีวะ (เลี้ยงชีพชอบ)

6.สัมมาวายามะ (เพียรชอบ)

7.สัมมาสติ (ระลึกชอบ)

8.สัมมาสมาธิ (ตั้งใจมั่นชอบ)  

 

    

lotuscamp.com

   

               วิสุทธิภูมิเป็นหลักการสำคัญของมหายาน โดยนับเป็นวิถีทางหนึ่งที่จะยังสรรพสัตว์ให้หลุดพ้นจากสังสารวัฏ ด้วยวิธีตั้งจิตประณิธานพึ่งอำนาจพุทธบารมีแห่งพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เพื่อไปอุบัติยังแดนพุทธเกษตรเหล่านั้น หากสรรพสัตว์มีศรัทธาเชื่อมั่นในพุทธบารมีย่อมสามารถไปอุบัติ ณ พุทธเกษตร เมื่อได้สดับธรรมะต่อเบื้องพระพักตร์ของพระพุทธเจ้า ณ ดินแดนนั้นแล้ว ย่อมบรรลุนิรวาณอันสงบ มหายานอธิบายว่าวิธีการหลุดพ้นจากสังสารวัฏเป็นได้ 2 กรณี คือพึ่งอำนาจตนเอง และพึ่งอำนาจผู้อื่น (คือพระพุทธเจ้าและพระโพธิสัตว์)

     

พระคาถาที่เป็นหัวใจพระพุทธศาสนา 

 

พระโกลิตตะปริพพาชก ซึ่งต่อมาก็คือพระโมคคัลลานะ หลังจากอุปสมบทได้ ๗ วัน ก็สำเร็จอรหัตตผล ส่วนอุปติสสะปริพพาชก หรือพระสารีบุตร บรรลุเป็นอรหันต์หลังจากอุปสมบทได้ ๑๕ วัน ส่วนบริวารทั้งหลายภายหลังก็ได้บรรลุเป็นอรหันต์จนหมดสิ้น

"เย ธมฺมา เหตุ ปัพฺพวา
เตสํ เหตุงฺ ตถาคโต
เตสญฺจะ โย นิโรโธ จะ
เอวํ วาที มหาสมฺโณ"

"ธรรมเหล่าใดเกิดแต่เหตุ
พระตถาคตเจ้าทรงแสดงเหตุแห่งธรรมเหล่านั้น
และความดับแห่งธรรมเหล่านั้น
พระมหาสมณะมีปกติ ทรงสั่งสอนอย่างนี้" 

 

โดยพระคาถานี้ ทำให้พระพุทธองค์ทรงได้สาวกองค์สำคัญ คือพระโมคคัลลานะและพระสารีบุตรมาเป็นอัครสาวกซ้ายขวา พุทธศาสนิกชนจึงนับถือกันเป็นพระคาถาวิเศษ ถือเป็นสัมฤทธิมนต์สำหรับเปลี่ยนแปลงความนับถือของผู้ที่ยังไม่เคยสดับรับฟังพระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธองค์ จึงนิยมจารึกไว้เพื่อประกาศพระพุทธศาสนาให้เผยแพร่ออกไป

   

               ราว พ.ศ 550 เกิดนิกายมหายาน (หลังจากหมดราชวงศ์ของพระเจ้าอโศกมหาราช... ศาสนาพรามณ์ได้แพร่ขยายกลับคืน มีการทำลายพระและวัดลงไปเป็นจำนวนมาก จนเกื่อบทำให้พุทธศาสนาสูญไปจากอินเดีย) มหายานยึดเอาองค์ความรู้ของพุทธศาสนาฝ่ายหินยานทีมีอยู่เดิมมาปรับปรุงเปลี่ยนแปลงให้เข้ากับความเชื่อและความศรัทธาของชาวอินเดียในยุคนั้นและแข่งขันกับศาสนาฮินดู จนได้รับความนิยมแพร่หลายออกไปทั่วทุกทิศในยุคนั้น... มหายานเชื่อใน “ตถาคตครรภ์” หรือพุทธภาวะว่าเป็นธาตุพื้นฐานของสิ่งมีชีวิตทั้งหมดแต่เนื่องจากถูกห่อหุ้มด้วยกิเลส จึงหลงผิดไม่เข้าใจในพุทธภาวะนี้     เมื่อตระหนักในพุทธภาวะและทำลายสังสารวัฏเสียได้ ภาวะนิพพานจึงบังเกิดขึ้น นิพพานกับสังสารวัฏจึงสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิด จนกล่าวได้ว่านิพพานพบได้ในสังสารวัฏนั่นเอง    สมดังที่ นาคารชุนกล่าวไว้ในมูลมาธยามการิกาของท่านดังนี้      สังสารวัฏไม่ใช่สิ่งอื่นใดที่อยู่นอกเหนือไปจากนิพพาน และนิพพานก็ไม่ใช่สิ่งอื่นใดที่อยู่นอกเหนือไปจากสังสารวัฏ    ฉะนั้น หากนิพพานคือความว่างเปล่า (non-emptiness) สังสารวัฏก็คือความเต็ม (emptiness) ความว่างเปล่าจะมีได้ก็เพราะมีความเต็มก่อนหากไม่มีความเต็มก่อน ภาวะว่างเปล่าจะมีได้อย่างไรความว่างเปล่าและความเต็มจึงอยู่ด้วยกัน เหมือนสองด้านของเหรียญเดียวกันมหายานเชื่อว่า อาศัยจริยธรรมเชิงบวกเช่นนี้ จะทำให้จิตใจเข้มแข็งจนสามารถต่อกรกับโลกได้อย่างมีประสิทธิภาพ (เปรียบเสมือนเหมือนดั่งดอกบัวที่สวยบริสุทธิ์ผุดผ่องย่อมบังเกิดจากโคลนตม อันเป็นของไม่บริสุทธิ์ นั่นเอง)

ยุคทองของพระพุทธศาสนาในอินเดีย 

 

           พ.ศ. ๘๐๐ เศษ  พระเจ้ากุมารคุปตะที่ ๑ (ศักราทิตยีราชา) มานาลันทาเห็นการศึกษาเจริญรุ่งเรือง จึงให้การอุปถัมภ์สร้างสังฆารามถวายสงฆ์ 

 

            พระเจ้าพุทธคุปตะ-พระเจ้าตถาคตคุปตะ-พระเจ้าพาลาทิตยะ และพระเจ้าวัชระ ต่างสร้างวัดถวายและให้ความอุปถัมภ์อย่างดี  

 

          พ.ศ. ๙๔๔-๙๕๓ หลวงจีนฟาเหียนมาแต่ไม่มีบันทึกอะไรมากนัก 

 

          พ.ศ. ๑๑๗๒-๑๑๘๗ พระถังซัมจั๋ง มาสืบพระศาสนาได้บันทึกไว้ว่า มหาวิทยาลัยนาลันทา มีนักศึกษา ๑๐,๐๐๐ ท่าน ครุ อาจารย์ ๑,๕๐๐ ท่าน วิชาการที่เล่าเรียนมี ๕ วิชา ๑) พุทธปรัชญา ๒) ตรรกวิทยา ๓) ไวยากรณ์ หรือ วรรณคดี ๔) ศาสนา ๕) แพทย์ศาสตร์ วิชาบังคับ คือ พระไตรปิฎกทั้งของเถรวาทและมหายาน 

 

          พ.ศ. ๑๒๒๓ หลวงจีนอี้จิง ได้มาศึกษาที่มหาวิทยาลัยนาลันทา

          ราชวงศ์ปาละปกครองชมพูทวีป ในปี พ.ศ. ๑๓๐๓-๑๖๘๕ ประมาณ ๔๐๐ ปี พระมหากษัตริย์ทุกพระองค์ ได้สร้างสังฆารามเพิ่มขึ้นและพัฒนาขยายสาขาของมหาวิทยาลัยเพิ่มอึก ๔ แห่ง คือ  

 

                   ๑)  มหาวิทยาลัยวิกรมศิลา               

                   ๒)  มหาวิทยาลัยโอทันตะบุรี

                   ๓)  มหาวิทยาลัยโสมปุระ                 

                   ๔)  มหาวิทยาลัยชากันททละ  

 

          พ.ศ. ๑๓๕๓-๑๓๙๓ สมัยพระเจ้าปาละ ได้มีกษัตริย์จากสุมาตรา (อาณาจักรศรีวิชัย )พระนามว่า พาลาปุตตเทวะ ส่งพระนักศึกษามาเรียน และขออนุญาตสร้างสังฆารามถวาย ๑ แห่ง เพื่อเป็นที่พัก 

 

  ยุคมืดของพระพุทธศาสนาในอินเดีย 

 

          พ.ศ. ๑๑๗๒ มุสลิมเติร์กรุกรานอินเดีย ขยายพื้นที่ยึดครองจากทางด้านทิศตะวันตก

           พ.ศ. ๑๗๖๖ มาถึงนาลันทา มีแม่ทัพใหญ่คือ ภัททียะ ขิลจิ มอบหมายลูกชายคือ อิคคิย ขิลจิ กรีฑาทัพมาทำลายมหาวิทยาลัยนาลันทา และเผาอาคาร, วิหาร, สถานที่, ตำรา บรรดาพระสงฆ์ถูกฆ่า ถูกทำร้าย บ้างก็หนีตาย เผาห้องสมุด ทำลายพระพุทธรูป เมือพวกเขาทำลายอย่างสาแก่ใจแล้ว จึงถอยทัพกลับไปที่ค่ายใหญ่.........ณ.บัดนี้พุทธศาสนาในอินเดีย ซึ่งเป็นพุทธภูมิ กำลังถูกฟื้นฟูขึ้นใหม่จากพุทธศาสนิกชนนานาชาติ รวมทั้งประเทศไทยที่กำลังจะกลายเป็นศูนย์กลางพุทธศาสนาแห่งโลก

 




Create Date : 23 เมษายน 2556
Last Update : 23 เมษายน 2556 16:58:09 น.
Counter : 2244 Pageviews.

0 comments
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

surya21
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 50 คน [?]



New Comments
เมษายน 2556

 
1
2
3
5
6
7
8
10
12
13
14
15
19
20
21
22
25
26
27
28
29
30
 
 
All Blog