คัมภีร์อรรถศาสตร์-วรรณคดีพระเวท ปรัชญาการปกครองและการก่อตั้งรัฐ จากอินเดียสู่สุวรรณภูมิ (ตอนที่2)

ตามบันทึกจีนฟูนัน ค้าขายกับจีน และรับคัมภีร์ศักดิ์สิทธิจากอินเดีย ยุคนั้นปกครองโดยสตรีและถูกยึดอำนาจโดยพวกพราหมณ์จากโพ้นทะเลทีมีความรู้ในศาสตร์แห่งการปกครองเดินทางข้ามอ่าวไทยมายังปากแม่น้ำโขงและสู่อาณาจักรฟูนัน...ในหลักนิติศาสตร์สมัยพุทธกาล ความมั่งคั่งควรมาอย่างถูกต้อง ในพุทธชาดกมีพ่อค้าอยู่สองพวกคือเศรษฐีหรือพ่อค้าใหญ่ กับ พ่อค้าเร่ พุทธศาสนาให้บทบาทเศณษฐีในฐานะเป็นบุคคลสำคัญทางสังคม เศรษฐีนั้นใหญ่กว่าพ่อค้าเร่ เพราะมีคาราวานนับร้อยค้าขายข้ามประเทศ พระโพธิสัตว์เองก็กลับชาติมาเกิดแล้วเกิดอีกในระดับเศรษฐีนายทุนถึง67ครั้ง เกิดเป็นกษัตริย์รองลงมาทัดเทียมกับเกิดเป็นพราหมณ์ การที่ศาสนาพุทธและเชน ไร้พิธีกรรมที่ขูดรีดพ่อค้าวานิชระดับเศรษฐี เป็นเหตุให้ศาสนาพุทธเติบโตมาได้ กรณีที่เศรษฐกิจตกต่ำและไม่ได้รับการอุปถัมป์จากกษัตริย์ศาสนาพุทธก็ดูเหมือนจะออ่นแอไปด้วย ...การพบปะสังสรรค์ระหว่างชุมชนที่มีเส้นทางค้าขายติดต่อเพื่อแสวงหาสินค้าแปลกใหม่ระหว่างชุมชนต่างๆก่อให้เกิดพัฒนาการและการขยายตัวของรัฐขึ้นในอุษาคเนย์ ...อักษรของพวกติดทะเลเช่นพวกมอญนั้นใช้อักษรคฤนถ์ ส่วนพวกขอมนั้นใช้อักษรเทวนาครี ทั้งสองรากภาษานี้มาจากอินเดีย...บางตำนานบอกว่าในยุคพระเจ้าอโศกผู้ดุร้ายทำสงครามขยายดินแดนทำลายล้างเผ่าพันธ์ต่างๆ นั้นเป็นต้นเหตุที่ทำให้เกิดการอพยพครั้งใหญ่ รวมทั้งชนชั้นปกครองที่มีวิทยาการสูง...ในยุคนั้นแคว้นกลิงคะ หรือ โอริสสา ปัจจุบันถูกชนเผ่าอารยันรุกเข้ามา พระเจ้าอโศกเองมาตีเมื่อ พ.ศ 300 เศษ พวกกลิงคะแพ้พระเจ้าอโศกแห่งวงศ์เมารยะ จึงถอยร่นออกมาตั้งแผ่นดินใหม่ เมื่อพระเจ้าอโศกสวรรคตในปี พ.ศ 311นั้น อาณาจักรและราชวงศ์เมารยะถูกตัดแบ่งออกเป็นสองส่วนให้กับสองหลาน หลานองค์หนึ่งทีปกครองอาณาจักรของราชวงศ์เมารยะ ถูกพราหมณ์ประหารชีวิตและยึดอำนาจ เมื่อพราหมณ์ขึ้นครองอำนาจตั้งราชวงศ์ ศุงคะ และก่อสร้างปราสาทราชวังเป็นศูนย์กลางแห่งสวรรค์และเทพ อิทธิพลฮินดู น่าจะเขามาบริเวณฟูนันเป็นระลอกๆ ดัดแปลงเปลี่ยนไปตามการปะทะสังสรรค์ระหว่างการค้าขายและการคมนาคมที่เชื่อมโยงกันด้วยผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจ ที่ประชาชนมีความเชื่อมั่นและศรัทธาในพลังของเทพเจ้า ..... .......และพวกหลังน่าจะอยู่ในช่วง พระเจ้ากนิษฐะ ราว พ.ศ 593 กษัตริย์ราชวงศ์กุษาณะ คือ พวกอินเดีย ศากยะ สถาปนา เทวะราชา ขึ้นมาใหม่ ดังจะเห็นได้จาก เหรียญ วาสุเทพ ในยุคนั้นที่เหรียญด้านหนึ่งจารึกว่า พุทธ อีกด้านหนึ่ง จารึกว่า วาสุเทพ เริ่มมีการปั้นรูปพระพุทธเจ้าโดยช่างกรีก เพื่อเป็น พุทธราชา / ธรรมราชา ยุคนี้พุทธมหายานได้รับความนิยมมากได้รับความนิยมเหนือพวกพราหมณ์ การอพยพครั้งนี้เชื่อว่าไปจากพวกปาลวะ มาก่อตั้งอาณาจักรศรีวิชัย (ชยะ)มีเมืองท่าตะโกลา ในยุค พ.ศ 1100..... ส่วนพวกแรกเชื่อว่าเข้ามาตั้งอาณาจักรฟูนันราว พ.ศ 640-1090 ความเป็นมาของฟูนันนั้นน่าจะอยู่ร่วมสมัยกับมหาอาณาจักรทางอินเดียเหนือทีกำลังเฟื่องฟูด้วยอิทธิพลลูกผสมอินโดอารยัน และ เปอร์เซีย / อิหร่าน ที่นับถือเทพเจ้าสุริยะ มีการค้าขายเชื่อมโยง อาหรับและโรม ต่อมาภิกษุ อี้-จิง บันทึกไว้ซึ่งเข้ามาเมื่อฟูนันถูกทำลายโดยพวกเจนละ ในช่วง พ.ศ 1090-1342 หลักฐานเหล่านี้เดิมปรากฏในชาดกพุทธศานาและในมิลินทรปัญหา ทำให้ทราบว่าในยุคพระยามิลินทร์ พวกกรีกที่ครอบครองอินเดียเหนืออยู่ รู้จักสุวรรณภูมิแล้ว และมีชนชาติหลายชนชาติในแถบนี้มีการสังสรรค์กันอยู่ ปราสาทเขาพระวิหารและปราสาทวัดภู คือตัวอย่างของตำนานแห่งมนต์ไสยศาสตร์ที่ชนชั้นปกครองถอดรูปลักษณ์มาจากปราชญ์ในราชวงค์เมารยะ คัมภีร์อันศักดิ์สิทธิถูกนำมาประดิษฐ์สถานไว้สูงเทียมฟ้า และมีเพียงผู้ประกอบพิธีกรรมเท่านั้นที่สามารถติดต่อกับพระผู้เป็นเจ้า ทั้งๆที่เบื้องหลังนั้นชนชั้นปกครองเหล่านี้เข้ามาอ่านและใช้คัมภีร์อรรถศาตร์นี้เป็นคู่มือในการปกครองกำหราบชนชั้นล่าง ...ในยุคก่อนอโศกมหาราช ราชวงศ์เมารยะ กุชชยะ และ เป็น กุษณะ ถ่ายเลือดโดยระบบจัดตั้งของ เกาฏิลย์ / จาณักยะ สมุนคู่หูของพระเจ้าจันทรคุปต์ผู้

สถาปนาราชวงค์เมารยะ มีนกยูงเป็นสัญญลักษณ์ (สันณิษฐานว่า อเล็กซานเดอร์มหาราช เกาฏิลย์และจันทรคุปย์พบกันที่ตักศิลา ในยุคนั้น อเลกซานเดอร์ใช้วิธีกลื่นชาติโดยไม่ต้องรบคือการสมรสกับคนพื้นเมืองและบังคับให้ทหารเข้าไปสัมพันธ์กับคนพื้นเมืองเพื่อสร้างพันธุ์ลูกผสมใหม่ ในช่วงบุกอินเดียนั้นกองทัพประกอบด้วยพวกอิหร่าน อารยัน กว่า 70 เปอร์เซ็นต์ )จนกระทั่งถึง อโศกมหาราช ผู้ขยายทิศแดนออกไปทุกทิศ และยังไม่มีการสร้างสัญญลักษณ์พระพุทธเจ้าเป็นรูปวัตถุ แต่สร้างสัญญลักษณ์ไว้ 2 อย่างที่แพร่หลายไปทั่วทุกทิศคือ สัญญลักษณ์ กวาง สิงห์ และ กงล้อ ซึ่งเป็นสัญญลักษณ์ของชนชาติพระพุทธเจ้าหรือชนชาติศักกะ/ศากยะ การขุดค้นทางโบราณคดีทีโซเวียตยืนยันว่า ศากยวงค์เป็นหนึ่งใน บรรดาผู้คิดกงล้อโปร่ง เข้ามารุกรานเขตราบลุ่มแม่น้ำสินธุได้นั้น ก็กลายมาเป็นธรรมจักรในที่สุด....ต่อมาความคิดของผู้ครอบครองในอุษาคเนย์ที่เหนือกว่าคนพื้นเมืองเมื่อปกครองและสร้างอาณาจักรอันยิ่งใหญ่นั้นด้านหนึ่งเพื่อสถาปนารูปแบบการจัดการทางเศรษฐกิจ ซึ่งต้องใช้พลกำลังมหาศาลในการสร้างบ้านแปงเมือง อีกด้านหนึ่งนั้นก็เพื่ออาศัยฐานนี้ดำเนินการผลิตเพื่อค้าขายและสร้างความมั่งคั่ง ทั้งสองต่างพึ่งพิงกัน ด้วยระบบความคิดที่เป็นคู่ขนานความขัดแย้ง การระดมคนได้ต้องมีคุณธรรม ผู้ครองราชต้องมีคุณธรรม เทวราชาและธรรมราชาจึงเกิดขึ้น...อุษาคเนย์ / สุวรรณภูมิจึงเป็นดินแดนที่มีความรุ่งโรจน์มาแต่โบราณ โดยรับองค์ความรู้และอารยธรรมจากจีนและอินเดีย เข้ามาก่อตั้งรัฐและพัฒนาสังคมให้ก้าวหน้า( กลุ่มประเทศในอัฟริกาหลายประเทศปัจจุบันยังดำรงค์เผ่าพันธ์แบบคนป่าอยู่เพราะขาดการถ่ายถอดในด้านความรู้และอารยธรรมจากต่างชาติหรืออาจจะปิดกั้นตนเองจนล้าหลังมากระทั่งปัจจุบัน อาทิเช่นความรู้ใน การปลูกข้าว ตีเหล็ก ทอผ้า ฯลฯ ) จากข้อมูลทางประวัติศาสตร์ได้บ่งบอกว่าชนชาตินั้นเกิดขึ้น ดำรงอยู่อย่างอิสสระ การสร้างอคติธรรมด้วยอำนาจและอิทธิพลนั้นไม่สามารถอยู่ยืนยงได้ สันติภาพและความร่วมมือจากทั่วโลกเท่านั้นที่จะทำให้ทุกชนชาติอยู่อย่างสันติ เกิดพุทธิปัญญา ไม่เลือกอคติทางศาสนา เชื้อชาติและความยิ่งใหญ่


 อ่านเพิ่มเติม //www.bia.or.th/ebook/dalailama/historyofindia.pdf






Create Date : 11 เมษายน 2556
Last Update : 13 เมษายน 2556 20:45:54 น.
Counter : 3541 Pageviews.

1 comments
  
ฝาก blog ด้วยนะครับ
เพิ่งสร้าง แนะนำ ติชมกานได้
โดย: siamart วันที่: 16 เมษายน 2556 เวลา:15:32:39 น.
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

surya21
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 50 คน [?]



New Comments
เมษายน 2556

 
1
2
3
5
6
7
8
10
12
13
14
15
19
20
21
22
25
26
27
28
29
30
 
 
All Blog