อาณาจักรโบราณ ฟูนัน-เจนละ-ศรีวิชัย
อาณาจักรฟูนัน อาณาจักรแห่งแรกในสุวรรณภูมิ
หลังจากอาณาจักรฟูนันล่มสลาย ดินแดนในคาบสมุทรอินโดจีนได้แตกแยกออกเป็นอาณาจักรต่างๆ ดังปรากฏรายชื่ออยู่ในจดหมายเหตุของหลวงจีนยาน-ฉ่างหรือพระถังซำจั๋ง เป็นต้นว่า อาณาจักรศรีเกษตร,อาณาจักรทวารวดี,อาณาจักรคามลังกา,อาณาจักรอีสานปุระ และอาณาจักรจามปา


อาณาจักรเจนละบก-เจนละน้ำ เกิดขึ้นหลังจากอาณาจักรฟูนัน
กรมศิลปกรได้เชิญศาสตราจารย์จอง บัวเซอร์ลิเย นักปราชญ์ทางโบราณคดีชาวฝรั่งเศสให้ช่วยศึกษาแหล่งอารยธรรมทวารวดีในแถบกลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาและทางภาคใต้ ท่านได้สรุปผลการศึกษาค้นคว้าไว้อย่างน่าสนใจ วัฒนธรรมอินเดียซึ่งมีอิทธิพลในสมัยนั้น หลั่งไหลเข้ามายังดินแดนอันกว้างขวาง ตั้งแต่แหลมมาลายูขึ้นไปถึงที่ราบสูงโคราช แต่พบหลักฐานหนาแน่นที่สุดในภาคกลางคือ เมืองนครปฐม,อู่ทอง(สุพรรณบุรี),ศรีมหาโพธิ์(ปราจีนบุรี) อันแสดงให้เห็นว่าหลังจาก “สุวรรณภูมิ” เสื่อมอิทธิพลทางการเมืองลง อาณาจักรฟูนันได้แผ่ขยายอำนาจเข้ามายังลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา หลังจากนั้นสุวรรณภูมิก็แผ่อิทธิพลกลับเข้าไปมีอำนาจในฟูนันอีกครั้งหนึ่ง ในที่สุดเมื่ออาณาจักรเจนละมีอำนาจขึ้น จึงโจมตีอาณาจักรฟูนันแตกสลายไประหว่า พ.ศ. 1100 ถึง พ.ศ. 1150

เมื่อการค้าระหว่างจีนและอินเดีย ขยายตัวขึ้นก็เกิด อาณาจักรศรีวิชัย
หลวงจีนอีกรูปหนึ่งมีชื่อว่า หลวงจีนอี้-จิง กล่าวถึง”นครโฟชิ” เริ่มต้นรุ่งเรืองมีอำนาจกลายเป็นศูนย์กลางทางการเมืองของ “ประเทศทั้ง 10 ในท้องทะเลใต้”

จดหมายเหตุของภิกษุนักจากริกจีน ผู้มีชื่อเสียงโด่งดังอีกรูปหนึ่งมีชื่อว่า

“หลวงจีนอี้-จิง” ซึ่งเคยเดินทางไปศึกษาพุทธศาสนาในประเทศอินเดียโดยทางเรือทั้งขาไปและขากลับผ่านทะเลจีนใต้ระหว่าง พ.ศ. 1214 ถึง พ.ศ. 1236 ท่านได้เดินทางไปยังแคว้นสมทัตหรือบังกลาเทศ เหมือนกับเมื่อครั้งหลวงจีนยวน-ฉ่าง หรือ พระถังซำจั๋งเคยไปเยือนเมื่อปลายพุทธศตวรรษที่ 11 ท่านจดบันทึกถึงดินแดนสุวรรณภูมิไว้ว่า

“ดินแดนทางตะวันออกของมหาวิทยาลัยนาลันทาไกลออกไป 500 โยชน์ เรียกว่า ปัจระประเทศฝ่ายตะวันออก ณ ที่สุดถึงเทือกภูเขาดำใหญ่ซึ่งอาจเป็นพรมแดนฝ่ายใต้ของตะรุฟัน(ประเทศทิเบต) กล่าวกันว่าเทือกเขานี้(ภูเขาหิมาลัย) อยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของมณฑลจก(มณฑลเสฉวน) เราอาจเดินทางไปถึงภูเขานี้ได้ในเวลากว่า 1 เดือน ทางใต้จากนี้ไป มีบ้านเมืองจดทะเลเรียกว่า ประเทศซิด-หลี-ซ่า-ต้า-ล้อ (อาณาจักรศรีเกษตร ตั้งอยู่ทางตอนเหนือของประเทศพม่า) ทางตะวันออกเฉียงใต้ของประเทศนี้เป็นประเทศหลั่ง-เจีย-สู(อาณาจักรคามลังกา) ต่อมาทางตะวันออกคือ ประเทศตู-โห-โป-ติ (อาณาจักรทวารวดี) ต่อไปทางตะวันออกในที่สุดถึงประเทศลิน-ยี่ (อาณาจักรจามปา ในประเทศเวียดนาม) พลเมืองของประเทศเหล่านี้นับถือพระรัตนตรัยอย่างดี...”

ข้อความในบันทึกของหลวงจีนอี้-จิงมีข้อสังเกตุที่แตกต่างไปจากจดหมายเหตุของหลวงจีนยวน-ฉ่างคือ อาณาจักรอีสานปุระได้ขาดหายไปโดยไม่มีผู้ใดทราบสาเหตุที่แน่ชัด นอกจากปรากฏข้อความในพงศาวดารจีนสมัยราชวงศ์ถังกล่าวไว้แต่เพียงว่า อาณาจักรอีสานปุระได้แตกแยกออกเป็น 2แคว้น เรียกว่า แคว้นเจนละน้ำ อันเป็นหลักฐานยืนยันว่า อาณาจักรกัมพูชาได้แตกสลายไปอย่างลึกลับโดยไม่ทราบต้นสายปลายเหตุเมื่อราวปลายพุทธศตวรรษที่ 11 ภายหลังจากประเทศจีนได้สถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตอย่างมั่นคงกับอาณาจักรตามพรลิงค์ เมื่อ พ.ศ. 1150 อาณาจักรจามปาถูกกองทัพจีนโจมตีและบังคับให้อยู่ภายใต้อำนาจทางการเมืองของประเทศจีน ส่วนอาณาจักรศรีเกษตรคงมีอำนาจอยู่เฉพาะในดินแดนทางภาคเหนือของประเทศพม่า พื้นที่ปากแม่น้ำอิรวดีตามชายฝั่งทะเลทางตอนใต้มีหลักฐานว่า ชนชาติมอญตั้งหลักแหล่งอาศัยอยู่ทั่วไป แต่ไม่ปรากฏร่องรอยอะไรที่แสดงให้เห็นว่าชนชาติมอญมีอิทธิพลทางการเมืองและการทหารในยุคแห่งความเปลี่ยนแปลงครั้งยิ่งใหญ่ ซึ่งเกิดขึ้นอย่างฉับพลันบนคาบสมุทรอินโดจีนประมาณ พ.ศ. 1181


อาณาจักร โจละ จากอินเดียเข้าโจมตีและยึดครองอาณาจักรศรีวิชัย อยู่ 20ปี
จักรวรรดิศรีวิชัยชาติมหาอำนาจการค้าทางทะเล ได้สถาปนากษัตริย์ราชวงศ์ไศเลนทรและวัฒนธรรมศรีวิชัยขึ้นบนเกาะสุมาตรา ชวา บอร์เนียว และมวลหมู่เกาะเครื่องเทศทั้งหลาย ไปทั่วภาคพื้นน่านน้ำทะเลใต้ สำเร็จลุล่วงไปตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 12 ดังปรากฏเรื่องราวอยู่ในศิลาจารึกตำนานพงศาวดารพื้นเมือง และจดหมายเหตุหลวงจีนอี้-จิง ตลอดจนสร้างเครือข่ายสายใยการค้าเชื่อมโยงสองฝั่งมหาสมุทร ตามนโยบายการแลกเปลี่ยนผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจการค้าทั้งในระบบประทศพันธมิตรและระบบเครือญาติ จดหมายเหตุจีนสมัยราชวงศ์ลุยซุงอธิบายให้ทราบถึงความเจริญรุ่งเรืองที่พัฒนาการก้าวหน้าอย่างรวดเร็วบน“เส้นทางสายไหมทางทะเล” ทั้งในด้านศิลปวิทยาการขั้นสูงในการเดินเรือ อัตราการเพิ่มขึ้นอย่างมารกมายของสินค้า ความซับซ้อนของระบบกลไกตลาดตลอดจนความคับคั่งบนเส้นทางคมนาคมสายนี้ ได้ชี้ให้เห็นถึงความสำคัญและบทบาทของประเทศทั้ง 10 แห่งทะเลใต้
( อ่านเพิ่มเติม
//blog.eduzones.com/tambralinga/5512)


รัฐเมืองท่าค้าขายในยุคโบราณ............ที่ติดต่อกับดินแดนในสุวรรณภูมิ





Create Date : 24 เมษายน 2556
Last Update : 1 พฤษภาคม 2556 19:59:28 น.
Counter : 11995 Pageviews.

1 comments
  
Thank you very much
โดย: Kai (nookookai8 ) วันที่: 27 เมษายน 2556 เวลา:9:57:25 น.
ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
 *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

surya21
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 50 คน [?]



New Comments
เมษายน 2556

 
1
2
3
5
6
7
8
10
12
13
14
15
19
20
21
22
25
26
27
28
29
30
 
 
All Blog