รัฐโบราณและเมืองท่าค้าขายจากลมสินค้า-ลมเทพเจ้า (ตอนที่3)

แผนที่แสดงเส้นทางเดินเท้าข้ามมหาสมุทรภาคใต้ของประเทศไทย ในสมัยก่อนประวัติศาตร์และในสมัยเริ่มต้นประวัติศาสตร์ จากแหล่งโบราณคดีเขาศรีวิชัย ควนพุนพิน อำเภพุนพิน จังหวัดสุราษฎร์ธานี ทางชายฝั่งทะเลตะวันออก ล่องเรือไปตามลำแม่น้ำพุมดวงขึ้นไปยังต้นน้ำคลองสก เดินเท้าข้ามเขาสก ไปลงเรือที่คลองรมณีย์ล่องไปตามลำแม่น้ำตะกั่วป่า ลงไปยังแห่งโบราณคดีเขาพระหนอ บ้านทุ่งตึก อำเภอตะกั่วป่า จังหวัดพังงา ทางชายฝั่งทะเลตะวันตก บริเวณนี้พงศาวดารจีนระบุว่า ในสมัยพุทธศตวรรษที่ 7 เคยเป็นศูนย์กลางอำนาจของ”อาณาจักรจินหลิน” หรือ “อาณาจักรสุวรรณภูมิ”

//www.baanjomyut.com/library_2/as_lane_lyrics/19.html

              สมัยสามก๊ก “พระเจ้าซุนกวน” หรือ “พระเจ้าซุนเฉียน” แห่ง “อาณาจักรอู๋” ซึ่งตั้งตัวเป็นใหญ่และมีอำนาจอยู่บริเวณชายฝั่งทะเลทางภาคตะวันออกเฉียงใต้ของจีน พระองค์ทรงโปรดให้ “ราชทูตคังไถ่” กับ“อุปทูตจูยิง” เดินทางมาเจริญทางพระราชไมตรีกับราชสำนักฟูนันใน .. 788 ในสมัยนั้นราชสำนักเหลียงยังไม่รู้จัก “อาณาจักรพัน-พาน” คงทราบเรื่องราวจากบันทึกกราบทูลรายงานของ “ราชทูตคังไถ่” กล่าวถึงอาณาจักรที่เจริญรุ่งเรืองและเป็นคู่แข่งสำคัญของ “อาณาจักรฟูนัน” มีชื่อในภาษาจีนว่า “อาณาจักรจินหลิน” หรือ “อาณาจักรสุวรรณภูมิ” ซึ่งตั้งอยู่ห่างไกลจาก “อาณาจักรฟูนัน” ประมาณ 2000 ลี้ หรือในราว 1100 กิโลเมตร “พระเจ้าฟันจีมัน” มหาราชผู้ยิ่งใหญ่แห่งอาณาจักรฟูนัน ทรงต่อเรือรบขนาดใหญ่ เพื่อยกกองทัพไปปราบปรามผนวกเข้ารวมไว้ใน “อาณาจักรฟูนัน” แต่พระองค์ทรงประชวรและสวรรคตไปเสียก่อน เรื่องราวของ “อาณาจักรจินหลิน” หรือ “อาณาจักรสุวรรณภูมิ” จึงเงียบหายไป ราชสำนักจีนเพิ่งส่งทูตมาเจริญทางพระราชไมตรีกับ “อาณาจักรพันพาน” เมื่อราว .. 967...พลเมืองของประเทศพัน-พาน ส่วนมากอาศัยอยู่ตามริมแม่น้ำ มีวัดใหญ่ของพุทธศาสนาอยู่ 10 วัด ภิกษุและนางชีจำนวนมากต่างศึกษาหลักธรรมของพระพุทธเจ้า ภิกษุและนางชีกินอากรได้ทุกชนิด แต่ไม่ดื่มสุรา มีวัดอยู่แห่งหนึ่งที่ถือพระวินัยเคร่งครัดมาก ภิกษุและนางชีที่วัดนั้นไม่กินเนื้อสัตว์ (มังสวิรัติ) ชาวเมืองพัน-พาน เรียกภิกษุในพุธศาสนาว่า “ท่าน” ส่วนใหญ่ชอบอ่านนิยายเรื่องอสูรราช (รามเกียรติ์) ในประเทศนี้มีพราหมณ์จำนวนมากจากอินเดียเข้ามาแสวงหาความร่ำรวย ไม่ทำงานการอะไรนอกจากท่องคัมภีร์พระเวท และทำตัวให้เป็นที่โปรดปรานของพระเจ้าแผ่นดินโดยรับใช้อย่างใกล้ชิด ในสมัยยวนเซีย (พ.ศ.967-987) สมัยเสียวเซียน (พ.ศ.1000-1072) พระเจ้าแผ่นดินประเทศพัน-พาน ทรงโปรดให้ราชทูตคุมเครื่องราชบรรณาการมาถวายพระจักรพรรดิ ในปีที่ 1 และปีที่ 4 แห่งรัชกาลต้าตุง (พ.ศ.1070-1072) พระเจ้ากรุงพัน-พาน ทรงโปรดให้ราชฑูตนำพระทันตธาตุ 1 องค์ สถูประบายสี และของหอมนานาชนิด มาถวายพระจักรพรรดิ  ต่อมาอีก 6 ปี (.. 1078)  พระจ้ากรุงพัน-พาน ทรงโปรดให้ราชทูตนำพระธาตุหลายองค์ สถูปสีต่าง ใบ พระศรีมหาโพธิ์ ขนมหวาน และของหอม มาถวายพระจักรพรรดิ



Create Date : 08 มีนาคม 2556
Last Update : 8 มีนาคม 2556 16:11:17 น.
Counter : 2340 Pageviews.

0 comments
ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
 *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

surya21
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 50 คน [?]



New Comments
มีนาคม 2556

 
 
 
 
 
1
2
4
7
9
10
11
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
24
26
27
28
29
31
 
 
All Blog