บันทึกเศรษฐกิจและการค้ารุ่งเรืองของสหพันธรัฐศรีวิชัย (ตอนที่2)

สมัยทองอันรุ่งเรืองของสหพันธรัฐศรีวิชัยที่แผ่ขยายอำนาจไปทั่วดินแดนหมู่เกาะทะเลใต้ เข้าควบคุมเส้นทางการค้านานาชาติหรือเส้นทางสายไหมทางทะเล สาย การคมนาคมสำคัญเปรียบดังเส้นเลือดใหญ่ทางเศรษฐกิจการค้าของโลกยุคนั้นไว้ได้อย่างเด็ดขาดแต่เพียงผู้เดียวพร้อมกับแผ่ขยายเครือข่ายสายใยเชื่อมโยงกับประเทศเมืองท่าเรือสำคัญในแถบประเทศอินเดีย เป็นต้นว่า อาณาจักรปัลลวะ,อาณาจักรปาณฑยะ,อาณาจักรสิงหล ชาติมหาอำนาจที่นับถือศาสนาพุทธ ทางทิศตะวันตกด้วยเหตุนี้จักรวรรดิศรีวิชัยจึงได้ชื่อว่า ชาติมหาอำนาจการค้าทางทะเลที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในดินแดนเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ไม่มีคู่แข่งใดเก่งกล้าท้าทายอำนาจทางนาวิกานุภาพกองทัพเรือศรีวิชัย นักเดินเรือชาวอาหรับชื่อ“อิบู ฮอร์ดาชบีห์” ได้เดินทางเข้ามาใน พ.ศ. 1392 ต่อมานักเดินเรือชาวอาหรับอีกผู้หนึ่งชื่อ“สุไลมาน”เดินเรือเข้ามาใน พ.ศ. 1394เขียนถึงเรื่องราวเกี่ยวกับพระราชาเขมรผู้โง่เขลาพระองค์หนึ่ง กล่าววาจาท้าทายดูหมิ่นพระราชอำนาจของมหาราชผู้ยิ่งใหญ่แห่งซาบาก ในที่สุดพระราชาเขมรผู้โง่เขลาพระองค์นั้นประสบชะตากรรมอย่างไร เขาได้เขียนขึ้นคล้ายกับเรื่องราวในเทพนิยายอาหรับราตรี

ศาสตราจารย์ดี.จี.อี. ฮอลล์ กล่าวไว้ในหนังสือประวัติศาสตร์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ว่าด้วยอาณาจักรจามปาระบุว่าในรัชกาล“พระเจ้าอินทรวรมันที่2” ซึ่งครองราชสมบัติอยู่ระหว่าง พ.ศ. 1397 ถึง พ.ศ. 1436พระองค์ทรงเปลี่ยนไปนับถือศาสนาพุทธนิกายมหายาน และสร้างศาสนสถานไว้เป็นอันมาก ศิลาจารึกของพระองค์เล่าอย่างละเอียดถึงการอุทิศที่ดินและสิ่งของถวายพระวิหารต่อมาในรัชกาล“พระเจ้าชัยสิงหวรมันที่ 1 ” มีหลักฐานว่าอาณาจักรจามปาสร้างสัมพันธ์ภาพกับจักรวรรดิศรีวิชัยอย่างใกล้ชิด เชื้อราชวงศ์กษัตริย์จามปาได้เดินทางไปจาริกแสวงบุญยังมหาสถูปบรมพุทโธบนเกาะชวา ด้วยเหตุนี้อิทธิพลของศิลปะศรีวิชัยจึงเข้าไปผสมผสานเจือปนอยู่ในศิลปะจามอย่างเห็นได้ชัด มิใช่ศิลปะจามเข้ามามีอิทธิพลอยู่ในศิลปะศรีวิชัยดังที่นักประวัติศาสตร์บางท่านเคยเสนอความเห็นเกี่ยวกับศิลปะทางภาคใต้

นักเดินเรือชาวอาหรับชื่อ“อิบู ฮอร์ดาชบีห์” ซึ่งเดินทางเข้ามาในจักรวรรดิศรีวิชัยระหว่าง พ.ศ. 1389 ถึง พ.ศ. 1392เขียนถึงความมีอำนาจยิ่งใหญ่และร่ำรวยของมหาราชแห่งซาบากในสมัยนั้นไว้ว่า

“มหาราช แห่งซาบากเป็นเจ้าของหมู่เกาะทั้งมวลในทะเลจีนใต้ มีอาณาเขตกว้างใหญ่ไพศาลมากดินแดนเหล่านี้มีพระราชาเป็นผู้ปกครองแต่ขึ้นอยู่กับมหาราชอาณาจักรของท่านมหาราชมีพลเมืองและทหารมากมายเหลือจะพรรณาถ้าหากเราจะเดินเรือให้เร็วที่สุด ไปให้ทั่วทุกเกาะที่มีพลเมืองอยู่แล้วแม้เดินทางอยู่ถึง 2 ปี ก็ยังไม่ทั่วดินแดนสินค้าสำคัญในเขตของมหาราชมีเครื่องหอมสารพัดอย่าง เช่น พิมเสน กานพลู ไม้หอมจันทน์ อบเชย ฝาง และของอื่น....”

นักเดินเรือชาวอาหรับอีกผู้หนึ่งชื่อ “สุไลมาน” ได้เดินทางเข้ามายังจักรวรรดิศรีวิชัยเมื่อ พ.ศ. 1395 เขียนบันทึกไว้ว่า

“มหาราชทรงควบคุมการค้าการบูรที่เบรุสในสุมาตราทรงปกครองกาลัชบาร์ (เมืองเคดาห์ ในรัฐไทรบุรี ประเทศมาเลเซีย)ในตอนเหนือและร่ำรวยที่สุด พระองค์ทรงโยนก้อนทองคำลงในอ่าวเล็ก ๆใกล้กับพระราชวังแล้วตรัสว่า “จงดูสมบัติของข้า” พระราชาทรงทำเช่นนี้เป็นกิจวัตรราวกับว่าพระองค์เป็นหนี้แก่มหาสมุทรอย่างมากมายเช่นเดียวกับเจ้าเมืองเวนิสเคยแต่งงานกับพระสมุทร แต่ถึงอย่างนั้น มหาราชแห่งซาบากก็มีอำนาจทางทะเลยิ่งกว่าเวนิสมากมาย เพราะ ประเทศซาบากตั้งอยู่บนเส้นทาง 3 สายที่จะไปสู่ตะวันออก คือ ช่องแคบมะละกา ช่องแคบซุนดา(ในทะเลชวา)และทางบกผ่านคอคอดกระ มหาราชแห่งซาบากสามารถเรียกเก็บภาษีผ่านทางจากพ่อค้าได้โดยไม่ต้องเกรงกลัวการแก้แค้นจากผู้ใดตราบเท่าที่ชวายังเป็นมิตรกันอยู่ จามปากับกัมพูชาไม่มีส่วนเกี่ยวข้องทางทะเลดูเหมือนว่าพระองค์มิได้ส่งคณะทูตเชิญเครื่องราชบรรณาการไปยังประเทศจีนเลย....”

นักเดินเรือชาวอาหรับชื่อ“อิบ อัล ฟาดีห์” ได้เดินทางเข้ามายัง “ประเทศซาบาก”เมื่อ พ.ศ. 1445 จดบันทึกเรื่องราวของ สหพันธรัฐศรีวิชัยสมัยนั้นไว้ว่า

“ซาบาจและกาลัชบาร์ (เคดาห์)เป็นอาณาจักรเดียวกัน เบรุส(บนเกาะสุมาตรา) ก็รวมอยู่ในอาณาจักรนี้ด้วย เป็นศูนย์กลางการค้าการบูร กานพลู ไม้จันทน์ ลูกจันนกแก้วของประเทศนี้สามารถพูดภาษาอาหรับ เปอร์เซีย อินเดีย และ กรีก ได้..”

นักเดินเรือชาวอาหรับอีกผู้หนึ่งชื่อ“อิบน์ โรเตห์”เดินทางเข้ามาในดินแดนสหพันธรัฐศรีวิชัย เมื่อ พ.ศ. 1446เขาได้กล่าวเปรียบเทียบความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจของมหาราชแห่งซาบาจกับพระราชาในประเทศอินเดียไว้ว่า “ในบรรดาประมุขของประเทศอินเดียทุกพระองค์ ไม่มีใครร่ำรวยหรือมีอำนาจ หรือมีรายได้มากกว่ามหาราชแห่งซาบาก”

ศาสตราจารย์เอส. ประนะวิธานได้ศึกษาค้นคว้าความสัมพันธ์ระหว่างสหพันธรัฐศรีลังกาในสมัยต้นพุทธศตวรรษ ที่ 16อธิบายให้ทราบว่า พระเจ้าสมรวิชโยตุงคะเทวะนอกจากได้ทำสงครามปลดปล่อยอาณาจักรสิงหล ให้พ้นจากการยึดครองของอาณาจักรโจละแล้วพระองค์ยังสนับสนุนให้“พระเจ้าวิชัยพาหุ”หรือ“พระเจ้ามหินทะที่ 6” เสด็จขึ้นครองราชสมบัติประเทศศรีลังกาและประทานราชธิดาของพระองค์ ทรงพระนามว่า “เจ้าหญิงจันทราวดี”อภิเษกสมรสกับพระเจ้ามหินทะที่ 6 อีกด้วย ดังนั้นประเทศศรีลังกาจึงเป็นเมืองราชบุตรเขยของกษัตริย์ศรีวิชัยทำนองเดียวกับอาณาจักรโจละ หรือประเทศจู-เหลียนซึ่งมีพระเจ้ากุโลตุงคะเทวะเป็นราชาปกครองเจ้าชายพระองค์นี้เป็นราชนัดดาของพระเจ้าสมรวิชโยตุงคะเทวะ

จดหมายเหตุของมาร์โคโปโล ที่เขียนขึ้นในปลายพุทธศตวรรษที่ 18บอกให้เราทราบว่าสินค้าที่ชาวอาหรับถือว่าเป็นความลับขั้นสุดยอดในทางการค้าสามารถปกความลับไว้อย่างมิดชิดตลอดมาได้ถูกเปิดเผยขึ้นเมื่อมาร์โคโปโลเดินทางไปถึงเกาะสุมาตราพบว่าผลิตภัณฑ์พื้นเมืองนานาชนิด เช่น กำยาน การบูร ไม้จันทร์ ไม้มะเกลือ ไม้ฝางไม้กฤษณา พริกไทย กระวาน เครื่องเทศ สมุนไพร งาช้าง นอแรด กระดองเต่า พลอย อำพันหินสีมีค่า ดีบุก เหล็ก ตะกั่ว เงิน ทองคำ ไข่มุก หินปะการัง หมาก ข้าวเปลือกน้ำตาล นกขนสวยมีค่าราคาแพงสัตว์ประหลาดชนิดต่างๆสินค้าเหล่านี้ล้วนเป็นที่ต้องการของพระราชาเสนาบดี เศรษฐีของประเทศทั้งหลายในแถบตะวันตก ได้ถูกพวกพ่อค้า อินเดีย เปอร์เซีย อาหรับซึ่งมีความรู้ในด้านเทคโนโลยีสูง หาซื้อวัตถุดิบไปจากดินแดนแถบนี้นำไปแปรรูปด้วยกระบวนการผลิตชั้นสูง ดัดแปลงเป็นน้ำหอม เครื่องประดับ เครื่องใช้ เครื่องเวชภัณฑ์ สินค้าที่มีราคาแพงมากโดยออกข่าวลวงให้คนทั่วไปหลงเชื่อว่า เป็นผลิตผลที่มีอยู่เฉพาะในดินแดนตะวันออกกลางเท่านั้นจึงกอบโดยเอาผลกำไรอย่างงามมานานเขาจึงได้เขียนเรื่องราวตีแผ่ให้ชาวโลกรับรู้

ขอขอบคุณ ตามพรลิงค์ อาณาจักรที่ถูกลืม





Create Date : 24 เมษายน 2556
Last Update : 24 เมษายน 2556 22:58:17 น.
Counter : 7818 Pageviews.

1 comments
  
ไม่แน่ใจได้ยินแว๊บ ๆ ไกด์เล่าว่ามาโคโปโล้เป็นชาวโครแอด ค่ะ
โดย: tuk-tuk@korat วันที่: 30 เมษายน 2556 เวลา:13:01:59 น.
ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
 *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

surya21
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 50 คน [?]



New Comments
เมษายน 2556

 
1
2
3
5
6
7
8
10
12
13
14
15
19
20
21
22
25
26
27
28
29
30
 
 
All Blog