พระเจ้าชัยวรมันที่ 6-สูรยวรมันที่ 2 –ชัยวรมันที่ 7และการสร้างปราสาทหินพิมาย โคราฆปุระ

จารึกปราสาทพนมรุ้งได้กล่าวถึงวงศ์นเรนทราทิตย์ กษัตริย์ผู้นับถือศาสนาฮินดูไศวนิกาย ที่มีศูนย์กลางที่ปราสาทพนมรุ้งกล่าวถึงลำดับพระญาติของพระองค์ ซึ่งมีต้นตระกูลจากพระเจ้า หิรัณยวรมันผู้ครองนครแห่งหนึ่งและเป็นผู้ให้กำเนิดเจ้าชาย 3 พระองค์คือ ชัยวรมันที่ 6 ธรณินทรวรมันที่ 1 และ พระยุพราชชึ่งคงจะสิ้นพระชนม์ไปในภายหลังส่วนอีกวงศ์หนึ่งคือพระเจ้ากษิตีนทราทิตย์ อันมีศักดิ์เป็นพระนัดดาของพระเจ้าหิรัณยวรมันได้ทรงอภิเษกกับพระธิดาของพระเจ้าหิรัณยวรมันละได้กำเนิดพระราชโอรส คือ พระเจ้าสูรยวรมันที่ 2


ดังนั้น ลำดับราชวงค์ที่ครองเมืองพระนครของราชวงศ์มหิธรปุระ เริ่มจากพระเจ้าชัยวรมันที่ 6 และ พระเชษฐาคือพระเจ้าธรณินทรวรมันที่ 1 ซึ่งทรงครองราชย์ช่วงสั้นๆเพียง 6 ปีจากนั้นเป็นรัชกาลของพระเจ้าสูรยวรมันที่ 2 ซึ่งครองราชต่อมากว่า 50 ปี

จารึกโคกยายหอม ซึ่งตรงกับสมัยของพระเจ้าชัยวรมันที่ 6ได้กล่าวถึงการประดิษฐานพระพุทธศาสนาและพระราชวงศ์จำนวนมากที่นับถือพุทธศาสนามหายาน ความสำคัญของพุทธศาสนามหายานยังคงมีต่อเนื่องมาจนถึงรัชกาลพระเจ้าธรณินทรวรมันที่1 ในรัชสมัยของพระองค์ ในปี พ.ศ. 1651 ได้ทรงส่งข้าราชการผู้มีนามว่า กมรเตงอัญศรี วิเรนทราธิบดีวรมัน แห่งเมืองโฉกวกุล เดินทางมายังเมืองพิมายเพื่อสถาปนา เสนาบดีไตรโลกวิชัย ขึ้นไว้เพื่อเป็นเสนาบดีของกมรเตงชคตวิมาย ดังปรากฏในจารึกกรอบประตูระเบียงคตที่ปราสาทพิมาย สันนิษฐานว่า กมรเตงชคต เสนาบดีไตรโลกวิชัย เป็นข้าราชในสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 6ที่ทรงส่งมาประจำที่เมืองพิมาย และได้ทรงสร้างรูปเคารพเพื่อุทิศให้ โดยถวายแก่พระพุทธเจ้า หรือพระสุคตวิมาย พระนามของพระสุคตวิมายยังได้ปรากฏอีกครั้งในจารึกปราสาทพระขรรค์เมืองพระนครในสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่7 ด้วย และสันนิษฐานว่าหมายถึงพระพุทธรูปประธานในปราสาทพิมาย จารึกของพระเจ้าชัยวรมันที่ 6ยังได้พบที่ปราสาทพนมวัน จังหวัดนครราชสีมาอีกด้วยซึ่งเดิมบริเวณดังกล่าวอาจหมายถึงชุมชนเมืองสุขาลัยที่ปรากฏในจารึก ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ไม่ไกลจากเมืองพิมาย

พระเจ้าชัยวรมันที่7 ทรงมีเชื้อสายจากราชวงศ์ มหิธรปุระ ซึ่งมีถิ่นฐานอยูในแถบลุ่มแม่น้ำมูลตอนบนในเขตจังหวัดนครราชสีมา โดยมีศูนย์กลางบริเวณ พิมาย-พนมรุ้ง การศึกษาทางโบราณคดีในแถบลุ่มแม่น้ำมูลตอนบน พบการตั้งถิ่นฐานและพัฒนาการชุมชนมาตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศสตร์เรื่อยมาถึงยุคสมัยก่อนเมืองพระนคร โดยพบหลักฐานจารึกกล่าวถึงดินแดนนี้ว่า มูลเทสะ มีเมืองสำคัญคือเมือง ภีมปุระ จนกระทั่งเข้าสู่ เมืองพระนครและมีศูนย์กลางชัดเจนที่เมืองพิมาย สอดคล้องกับหลักฐานศิลปกรรมจำนวนมากมายที่พบตามสายพัฒนาการในดินแดนแถบนี้

ขอขอบคุณ: ศิลปวัฒนธรรม ฉบับพิเศษ--- ชัยวรมันที่7 โดย วรรณวิภา สุเนตต์ตา มหาวิทยาลัยศิลปากร 2548


หมายเหตุแหล่งโบราณคดีเก่ามาก ยุคพิมายดำ


แหล่งโบราณคดีบ้านปราสาทตั้งอยู่หมู่ที่ 7 บ้านปราสาทใต้ ตำบลธารปราสาท จากตัวเมืองใช้ทางหลวงหมายเลข 2 นครราชสีมา-ขอนแก่น ถึงกิโลเมตรที่ 44 มีทางแยกซ้ายเข้าไปอีก 1 กิโลเมตร หากเดินทางโดยรถประจำทางจากกรุงเทพฯหรือนครราชสีมา ให้นั่งรถสายที่จะไป ขอนแก่น อุดรธานี หนองคาย หรือ กาฬสินธุ์ ลงรถที่ กม.44 แล้วต่อรถจักรยานยนต์รับจ้างจากปากทางเข้าหมู่บ้าน 
       บ้านปราสาทนับเป็นแหล่งโบราณคดีแห่งที่สองต่อจากบ้านเชียง ที่ได้จัดทำในลักษณะพิพิธภัณฑ์กลางแจ้ง จากหลักฐานที่ค้นพบสันนิษฐานว่า มีชุมชนอาศัยอยู่ในบริเวณนี้มาตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์จนถึงสมัยประวัติศาสตร์ มีหลักฐานของกลุ่มวัฒนธรรมแบบทวารวดีและแบบเขมรโบราณ ช่วงระหว่าง 1,500-3,000 ปีมาแล้ว
ปี 2526 พบว่าแหล่งโบราณคดีขนาดใหญ่ มีคูน้ำคันดินล้อมรอบ 1 ชั้น มีลำธารปราสาทไหลผ่านด้านเหนือ มีมนุษย์มาตั้งชุมชนครั้งแรกราว 3,000 ปีมาแล้ว รู้จักการเพาะปลูกข้าวและเลี้ยงสัตว์ มีการใช้สำริดบ้างแต่ไม่แพร่หลาย ทำภาชนะดินเผาทรงปากแตรสีแดงขัดมันและมีการนำภาชนะดังกล่าวฝังร่วมกับศพด้วยต่อมาในราว 2,200 ปี เกิดความเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีสูงขึ้น โดยผลิตภาชนะดินเผาแบบพิมายดำขึ้นแทน ( กลุ่มเครื่องปั้นดินเผาที่ผลิตจากดินสีเข้ม สมัยยุคเหล็กตอนปลายต่อเนื่องมาถึงสมัยทราวดี และในพื้นที่ลุ่มแม่น้ำมูลตอนบนนั้นเป็นแหล่งทรัพยากรเกลือและเหล็กในเขตที่เรียกว่า ทุ่งสัมฤทธิ์ ทุ่งกุลา ทุ่งราษีไศลหรือ อาณาจักรเกลือ เมื่อ 2500ปี) มีการนำเหล็ก สำริด หินสีต่าง ๆ เช่น หินคาร์นีเลียน หินอเกต มาทำเครื่องใช้เครื่องประดับ จนราวพุทธศตวรรษที่ 16 จึงเริ่มรับวัฒนธรรมทวารวดีและเขมรเข้ามา แต่เป็นช่วงระยะเวลาสั้น ๆ ก่อนที่ชุมชนนี้จะสิ้นสุดไป






Create Date : 11 กุมภาพันธ์ 2556
Last Update : 13 กุมภาพันธ์ 2556 8:07:12 น.
Counter : 6995 Pageviews.

1 comments
  
ไปเห็นสิงห์ยืน คายมาลัยที่พิพิธภัณฑ์พิมาย

ได้มาจากปราสาทหินพิมายค่ะ
โดย: tuk-tuk@korat วันที่: 14 กุมภาพันธ์ 2556 เวลา:14:31:17 น.
ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
 *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

surya21
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 50 คน [?]



New Comments
กุมภาพันธ์ 2556

 
 
 
 
 
2
3
4
5
6
9
10
13
14
16
18
19
21
22
23
24
25
27
28
 
 
All Blog