นิโรธ คือความดับทุกข์...ความอัศจรรย์ในธรรม พระอาจารย์ทูล ขิปปปัญโญ ( 4 )

      ในคืนนั้น  กำหนดจิตอยู่ในความสงบตลอดคืนจนถึงสว่างของวันใหม่  จากนั้นจิตก็ลงสู่ความดับ  ให้เข้าใจเอาไว้ว่า  ความสงบของสมาธิ  ความสงบในฌาน  ไม่เหมือนกันกับความดับ  เพราะความสงบในสมาธินั้นยังมีวิญญาณความรู้แฝงอยู่ที่ใจ  ถึงจะมีความสงบเป็นสมาธิอยู่ในระดับใหน  ก็ยังมีวิญญาณรับรู้อยู่นั่นเอง  ส่วนความดับนั้นไม่มีวิญญาณรับรู้อะไรทั้งสิ้น  นั่นคือ  วิญญาณที่รับรู้ได้ดับไป  เมื่อวิญญาณรับรู้ได้ดับไปอย่างเดียวเท่านั้น  ความสัมผัสในอายตนะภายในคือ  ตา  หู  จมูก  ลิ้น  กาย และ ใจ  ก็ไม่มีวิญญาณรับรู้อะไรเลย  ตาก็สักว่าตา  หูก็สักว่าหู  ลิ้นก็สักว่าลิ้น  กายก็สักว่ากาย  ใจก็สักว่าใจ  ไม่มีความรู้สัมผัสอะไรเลย  ถึงสิ่งภายนอกจะมาสัมผัส  เช่น รูป  เสียง  กลิ่น  รส  โผฏฐัพพะ  ธรรมารมณ์  ก็ไม่รับรู้อะไรทั้งสิ้น  นี่คือส่วนของรูป  ในส่วนที่เป็นนามคือ  เวทนา  สัญญา  สังขารและวิญญาณ  ก็เป็นนามล้วนๆ  ไม่มีความรู้สึกนึกคิดอะไร  อารมณ์ภายในใจที่เป็นความสุข  ความทุกข์หรือไม่สุขไม่ทุกข์  ก็ไม่รับรู้อะไร  ทั้งสิ้น  สัญญาความจำในเรื่องอดีตที่ผ่านมา  และความจำในปัจจุบันก็ไม่มีวิญญาณรับรู้สังขารการปรุงแต่งภายในใจก็คิดปรุงแต่งอะไรไม่ได้  เพราะวิญญาณดับไปอย่างเดียวเท่านั้น ทุกอย่างของรูปธรรมและทุกอย่างของนามธรรมก็ดับไปพร้อมกันทั้งหมด  จึงเป็นนิโรธ  คือ  ความดับไม่มีเหลือ  กิเลสน้อยใหญ่ที่เป็นอาสวะหมักดองใจมายาวนาน  จะมาสิ้นสุดอยู่กับ นิโรธ  คือความดับในขณะนี้ทั้งหมด  ชาติภพที่เคยเกิดแก่เจ็บตาย  เวียนว่ายอยู่ในภพทั้งสามก็หมดสภาพไปในขณะนี้  จึงสมกับคำว่า  อวิชชาดับ  สังขารก็ดับ  สังขารดับ  วิญญาณก็ดับ  วิญญาณดับ  นามรูปก็ดับ  นามรูปดับ  สฬายตนะก็ดับ  สฬายตนะดับ  ผัสสะดับ  เวทนาก็ดับ  เวทนาดับ  ตัณหาก็ดับ  ตัณหาดับ  อุปาทานก็ดับ  อุปาทานดับ  ภพก็ดับ  เมื่อภพดับ  ชาติ แห่งความเกิดก็ดับ  เมื่อชาติแห่งความเกิดอีกไม่มี  ชราความแก่  มรณะความตายจะมีมาจากที่ใหน  ความโศกเศร้าโศกา  ความทุกข์ใจนานาประการก็ดับสนิททั้งหมดไม่มีเชื้อกิเลสตัณหาอะไรตกค้างภายในใจนี้อีกต่อไป  จึงให้นามว่า นิโรโธโหติ  คือ  ความดับทุกข์ให้หมดไปจากใจอย่างสิ้นเชิง

         ในขณะที่มีความดับอยู่นั้น  เกิดความรู้อีกอย่างที่มีความละเอียดออ่นมากอยู่ในส่วนลึกของ   ใจ  คำว่ารู้นี้มิใช่ความรู้ที่เกิดขึ้นจากวิญญาณ  มิใช่ความรู้ที่เกิดจากรูปนามแต่อย่างใด  เป็นรู้ทีไม่มีจุดหมายที่นอกเหนือไปจากรูปนาม  เป็นรู้ที่ไม่มีอะไรแอบแฝง  เป็นรู้ที่เหนือความรู้โดยไม่มีสมมุติอะไรมาเที่ยบได้  เพราะเป็นลักษณะรู้ที่ไม่มีนิมิตหมายในสมมุติใดๆไม่สามารถอธิบายหรือบอกให้ใครๆฟังได้  เป็นรู้ที่ไม่มีขอบเขต  เป็นรู้ที่ไม่มีสมมุติให้รู้  เป็นรู้ที่โดดเด่นเฉพาะรู้เท่านั้น  เมื่อความดับนี้อยู่ได้ประมาณ 1 ชั่วโมง  เกิดลักษณะอาการวูบวาบขึ้นมา  แล้วเกิดความกล้าหาญขึ้นมาที่ใจ  เมื่อใจมีความกล้า  สติปํญญาก็กล้าไปตามๆกัน  เหมือนกับว่าจะสามารถเหยียบกระทืบภูเขาให้พังพินาศไปในชั่วพริบตา  หรือราวกับว่าจะทำลายอะไรในโลกนี้ให้เป็นจุลไปในชั่วขณะเดียว นี่เป็นเพียงความกล้าหาญที่เกิดขึ้นมาเท่านั้น

 

          เมื่อผู้ภาวนาปฏิบัติมาถึงจุดนี้แล้ว  จึงนับได้ว่า  ตนเป็นที่พึ่งแห่งตนใด้อย่างแท้จริง  ไม่มีสิ่งอื่นใดที่จะทำให้เกิดความเห็นผิดอีกต่อไป  ในอีกนาทีข้างหน้านี้ก็จะเกิดความอัศจรรย์ใจอย่างสมบูรณ์  โดยไม่เคยมีมาก่อนในชีวิตนี้เลยนับตั้งแต่ได้เที่ยวเกิดตายในวัฏสงสารมาเป็นเวลาอันยาวนาน  จนนับภพชาติไม่ถ้วนประมวลไม่ได้ก็ตาม  ความอัศจรรย์ในธรรมที่เป็นผลเกิดขึ้นจากการภาวนาปฏิบัติก็จะเกิดขึ้นในขณะนี้เอง  จะอยู่ในอริยบทใดก็ไม่สำคัญ  ความอัศจรรย์ในธรรมก็จะเกิดขึ้นต่อเนื่องกันทันที จึงเป็น ปัจจัตตัง  รู้เฉพาะตนเอง ความอัศจรรย์ในธรรมที่เกิดขึ้นนี้เป็นประการใดนั้น  ผู้ปฏิบัติภาวนาจะรู้เห็นเองอย่างชัดเจน  โดยไม่มีสิ่งอื่นใดมาปิดบัง  และหายสงสัยในตัวเองทันที  รู้เห็นในขณะใดก็หายความสงสัยในตัวเองในขณะนั้น  ไม่ว่าเชื้อชาติใดภาษาใด  ชนชั้นวรรณะฐานะอย่างไรไม่สำคัญ  จะเป็นพระเป็นเณร  ฆราวาสชายหญิงในวัยใหนก็ตาม  เมื่อภาวนามาถึงจุดนี้แล้ว  ความอัศจรรย์ในธรรมย่อมเกิดขึ้นได้ทั้งนั้น  เมื่อธรรมอัศจรรย์นี้เกิดขึ้นกับท่านผู้ใดแล้ว  ท่านผู้นั้นจะต้องไม่ไปถามใครๆอีกต่อไป  เพราะความวิตก ความสงสัย  ความไม่แน่ใจในตัวเองจะไม่มีกับผู้ที่รู้เห็นในธรรมอัศจรรย์นี้เลย  นี่คือผู้ทีหายความสงสัยในตัวเองอย่างสมบูรณ์  ในยุคสมัยนี้หากมีผู้ได้รับผลธรรมอัศจรรย์นี้แล้ว  ความรู้เห็น  ความหายสงสัยในตัวเองจะเหมือนกันทั้งหมด  ไม่ว่าคุณธรรมจะอยู่ในระดับใหน  ก็จะรู้เห็นคุณธรรมนั้นด้วยตัวเองทันที  ไม่ต้องไปหาคำพยากรณ์จากใครๆทั้งสิ้น  นี่คือผู้ตัดกระแสของโลกธรรมออกจากใจได้แล้ว  จึงไม่มีความยินดี  ไม่มีความยินร้ายในภพทั้งสามต่อไปอีก  จึงเป็น กิจอื่นที่พึงกระทำให้เป็นอย่างนั้นให้เป็นอย่างนี้อีกไม่มี  นีคือผลของการภาวนาปฏิบัติอย่าแท้จริง  จะว่ายากก็ยาก  จะว่าง่ายก็ง่าย  คำว่ายากนั้น คือ นักปฏิบัติใช้อุบายในแนวทางไม่ตรงจริตนิสัยของตัวเอง  ตัวเองเคยมีนิสัยการสร้างบารมีมาอย่างหนึ่ง  แต่เลือกใช้อุบายในแนวทางปฏิบัติอีกอย่างหนึ่ง  ซึ่งไม่ตรงกับนิสัยเดิมที่เคยสร้างบารมีมาแล้วในอดีต

 

 

 

 

 




Create Date : 08 กุมภาพันธ์ 2556
Last Update : 8 กุมภาพันธ์ 2556 17:45:55 น.
Counter : 1974 Pageviews.

0 comments
ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
 *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

surya21
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 50 คน [?]



New Comments
กุมภาพันธ์ 2556

 
 
 
 
 
2
3
4
5
6
9
10
13
14
16
18
19
21
22
23
24
25
27
28
 
 
All Blog