bloggang.com mainmenu search
เตือนวิถีชีวิตยุคใหม่ เสี่ยง2มะเร็งร้ายคุกคาม

รายงานพิเศษ



หากวิถีชีวิตแต่ละวัน เราต้องอยู่กับความรีบเร่ง รถติด ผจญควันพิษ ชีวิตส่วนใหญ่พึ่งพาอาหารจานด่วน อาหารถุง อาหารกล่องพลาสติก อ่อนมื้อเช้า หนักมื้อเย็น มีความเครียดสูง หาเวลาออกกำลังกายได้ยาก เป็นต้น ถือว่าเข้าข่ายเสี่ยงกับมะเร็งร้าย 2 ชนิด ที่มาพร้อมกับวิถีชีวิตคนยุคใหม่ คือ "มะเร็งเต้านม และมะเร็งลำไส้ใหญ่"



นพ.นิกร ไวประดับ ศัลยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านมะเร็งเต้านม ร.พ.เปาโล เมโมเรียล พหลโยธิน ระบุถึงความเป็นไปได้ในการเกิดมะเร็งเต้านมว่า อุบัติการณ์ของการเกิดมะเร็งเต้านม ส่วนใหญ่จะพบมากในชุมชนเมืองที่มีความเจริญ และมีวิถีชีวิตแบบสังคมเมือง ในประเทศไทยอัตราการเกิดมะเร็ง เต้านมอยู่ที่ประมาณ 20 คน ต่อประชากรหญิง 100,000 คน พบมากสุดในเขตกรุงเทพมหานคร และจังหวัดหัวเมืองใหญ่ เช่น เชียงใหม่




ส่วน "มะเร็งลำไส้ใหญ่" แม้ข้อมูลยืนยันว่าส่วนใหญ่มักเกิดกับเพศชายมากกว่าเพศหญิง แต่เพศหญิงก็มีปัจจัยเสี่ยงเช่นกัน โดยสาเหตุมีทั้งที่ควบคุมไม่ได้ เช่น กรรมพันธุ์ อายุ และเพศ ส่วนปัจจัยที่ควบคุมได้ คือ เรื่องของอาหารการกิน และการจัดสมดุลเวลาของชีวิต หากคุณยังต้องใช้ชีวิตอยู่กับความเสี่ยงของการเกิดโรคระบบทางเดินอาหาร คุณต้องพยายามพิถีพิถันกับการเลือกรับประทานอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการ และสิ่งต้องห้ามที่ควรลด ละ เลิก หรือ หลีกเลี่ยงมากที่สุด คือ แอลกอฮอล์ บุหรี่ และความเครียด



นพ.ธรณัส กระต่ายทอง อายุรแพทย์เฉพาะทางโรคระบบทางเดินอาหารและตับ ร.พ.เปาโลฯ พหลโยธิน ให้ข้อมูลว่า การเกิดมะเร็งลำไส้ใหญ่ ระยะแรกจะไม่มีอาการใดๆ แต่เมื่อรอยโรคมีความรุนแรงมากขึ้นจึงจะปรากฏอาการ แนวทางป้องกัน คือ การตรวจร่างกายประจำปี ซึ่งสำหรับคนที่ป่วยเป็นโรคนี้อาจจะช่วยให้พบรอยโรคในระยะเริ่มแรกและรักษาให้หายขาดได้
Colono Scope เครื่องส่องกล้องลำไส้ - mammogram 1 เครื่องตรวจมะเร็งเต้านมระบบดิจิตอล





ปัจจุบัน 1 ใน 4 วงการแพทย์แนะนำให้คนที่มีอายุ 50 ปีขึ้นไป เข้ารับการส่องกล้องตรวจลำไส้ใหญ่ เพื่อคัดกรองความผิดปกติภายในลำไส้ วิธีนี้ลดอัตราการเกิดโรคมะเร็งลำไส้ และลดอัตราการเสียชีวิตลงได้



ขณะที่การรักษามะเร็งเต้านม ปัจจุบันมี 5 วิธี คือ 1.การผ่าตัด 2.การให้ยาเคมี เพื่อลดความเสี่ยงการเป็นซ้ำ 3.การรับยาต้านฮอร์โมน 4.การฉายแสง เป็นการรักษาเฉพาะที่ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของการผ่าตัด และ 5.การรักษาด้วยยาต้านเฉพาะเซลล์มะเร็ง ซึ่งมีค่าใช้จ่ายที่สูงมาก



การรักษามะเร็งเต้านมต้องใช้วิธีรักษาร่วมกันหลายวิธี เพื่อให้ได้ผลดีที่สุด จำเป็นต้องได้รับการดูแลแบบสหสาขา ทั้งศัลยแพทย์ แพทย์เคมีบำบัด และรังสีแพทย์ เพื่อให้ผลการรักษาเกิดประสิทธิภาพแก่ ผู้ป่วยมากที่สุด



เครือร.พ.เปาโลฯ จัดโครงการ "เพราะมะเร็ง รอไม่ได้" อาทิ แพ็กเกจการรักษาแบบให้ยาคีโมสำหรับผู้ป่วยมะเร็ง ประกอบด้วยมะเร็งเต้านมราคา 5,900 บาทต่อครั้ง และมะเร็งลำไส้ราคา 17,900 บาทต่อครั้ง การผ่าตัดซีสต์ที่เต้านมแบบไม่นอนพักที่ร.พ. ราคา 9,900 บาท เป็นต้น



สอบถามตั้งแต่วันนี้ ถึง 30 พ.ย. โทร. 0-2271-7000 
Create Date :07 พฤศจิกายน 2556 Last Update :7 พฤศจิกายน 2556 7:42:59 น. Counter : 1292 Pageviews. Comments :0