bloggang.com mainmenu search
สเต็มเซลล์จากเลือด รักษาโรคธาลัสซีเมีย

รายงานพิเศษ



ปัจจุบันพบว่ามาตรฐานและระบบการจัดเก็บสเต็มเซลล์ของบริษัทรับฝากสเต็มเซลล์แต่ละแห่งแตกต่างกัน



พญ.จุฑาทิพย์ ฟองศรัณย์ ผอ.แพทย์และกุมารแพทย์เฉพาะทางด้านโลหิตวิทยาและมะเร็งในเด็ก บริษัทไทย สเต็มไลฟ์ จำกัด บอกว่า ห้องปฏิบัติการไทย สเตมไลฟ์ คัดแยกสเต็มเซลล์จากเลือดทีละถุงด้วยเครื่องคัดแยกสเต็มเซลล์อัตโนมัติ ที่ได้การยอมรับทั้งด้านประสิทธิภาพและมาตรฐานความปลอดภัยในระดับสากลเช่นเดียวกับที่ใช้ในธนาคารสเต็มเซลล์ชั้นนำทั่วโลก



"หัวใจหลักที่ทำให้สเต็มเซลล์ยังคงคุณภาพอยู่ตั้งแต่ขั้นตอนการเก็บเลือดจากรกและสายสะดือ จนถึงการ ละลายสเต็มเซลล์เพื่อการใช้ให้กระทบต่ออัตราการมีชีวิตของสเต็มเซลล์น้อยที่สุด เพื่อให้การรักษาได้ผลสูงสุด ด้วยมาตรฐานระดับสากล"




สเต็มเซลล์ที่จะเบิกใช้ต้องมีอัตราการมีชีวิตของเซลล์อยู่ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ซึ่งอัตราการมีชีวิตของเซลล์ของบริษัทไทยสเตมไลฟ์สูงกว่าร้อยละ 97 ในปัจจุบันลูกค้าของทางบริษัท เบิกสเต็มเซลล์จากกระแสโลหิต จากรกและสายสะดือไปใช้ในการรักษากว่า 100 ราย



การเข้าไปมีส่วนร่วมในการดูแลสเต็มเซลล์จากน้องแรกเกิดให้เพื่อใช้รักษาพี่ที่เป็นโรคธาลัสซีเมีย โดยไม่ต้องรอสเต็มเซลล์บริจาค ด้วยกระบวนการเด็กหลอดแก้วพร้อมกับการคัดเลือกตัวอ่อนที่แข็งแรงและมีเนื้อเยื่อเข้าได้กับพี่ ของบริษัท ซูพีเรีย เอ.อาร์.ที ทำให้ได้ทารกที่คลอดปราศจากโรคโดยมีเนื้อเยื่อ HLA เข้ากับพี่ที่ป่วย ไทยสเต็มไลฟ์ได้เก็บและดูแลสเต็มเซลล์จากเลือดในรกและสายสะดือของน้อง รวมถึงการนำส่งโรงพยาบาลเพื่อรักษาพี่ ซึ่งถือเป็นความสำเร็จครั้งแรกของเอเชีย
จุฑาทิพย์ ฟองศรัณย์





โอกาสพบสเต็มเซลล์เป็นไปได้ยาก หรือเพียง 1 ใน 50,000 ราย หรือ 0.002 เปอร์เซ็นต์ วิธีการเก็บสเต็มเซลล์ในเด็กเล็ก ต้องเก็บจากไขกระดูก ซึ่งมีโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนต่อเจ้าของสเต็มเซลล์ ดังนั้น การจัดเก็บสเต็มเซลล์จากเลือดในรกและสายสะดือของทารกภายหลังคุณแม่ให้กำเนิดอย่างมีคุณภาพ และมาตรฐานที่ดีจะเป็นวิธีที่ปลอดภัย



นายณัฐพร ยูประพัฒน์ ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายปฏิบัติการเสริมว่า บริษัทให้ความสำคัญกับห้องปฏิบัติการและมาตรฐานระดับสากลของระบบการป้องกันรักษาความปลอดภัย หรือเรียกว่า 10s ไม่ว่าจะเป็นด้านการนำนวัตกรรมใหม่อย่างระบบ SEPAX มาใช้ในการคัดแยก สเต็มเซลล์ระบบอัตโนมัติที่ทันสมัยที่สุดระบบหนึ่งของโลก เป็นต้น



ถือเป็นมาตรฐานห้องปฏิบัติการทางการแพทย์ระดับสากลจากสหภาพยุโรปที่รับรองโดยกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุขไทย
Create Date :28 ตุลาคม 2556 Last Update :28 ตุลาคม 2556 5:18:35 น. Counter : 1540 Pageviews. Comments :0