bloggang.com mainmenu search
แนะวิธีรับมือ กรดไหลย้อน โรคฮิต ของคนยุคดิจิตอล

ด้วยความเร่งรีบในชีวิตยุคปัจจุบัน ส่งผลให้การดำเนินชีวิตของหนุ่มสาว โดยเฉพาะคนเมือง สุ่มเสี่ยงกับภัยเงียบจากโรคต่างๆ รวมทั้งโรคฮิตของคนยุคดิจิตอล อย่าง “โรคกรดไหลย้อน” เพื่อให้ความรู้และรับมือกับภัยเงียบนี้ บริษัท เรกคิทท์ เบนคีเซอร์ (ประเทศไทย) จำกัด ผู้นำเข้าและจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์สุขภาพ กาวิสคอน (Gaviscon) จัดงาน “ศูนย์กู้ภัยอาหารไม่ย่อยและกรดไหลย้อน” เปิดตัวผลิตภัณฑ์ใหม่ “กาวิสคอน ดูอัล แอคชั่น” ยาบรรเทาอาการอาหารไม่ย่อยและแสบร้อนกลางอกจากโรคกรดไหลย้อน ที่ เอเทรียม 2 ชั้น 1 ศูนย์การค้าสยามเซ็นเตอร์

พญ.วิภากร เพิ่มพูล

พญ.วิภากร เพิ่มพูล

ในงาน พญ.วิภากร เพิ่มพูล อายุรแพทย์ ศูนย์ทางเดินอาหารและตับ โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ กล่าวว่า อาการอาหารไม่ย่อยและโรคกรดไหลย้อน สามารถเกิดขึ้นได้กับคนทุกเพศ ทุกวัย เพราะการใช้ชีวิตของคนที่เปลี่ยนไป การใช้ชีวิตที่เร่งรีบ การรับประทานอาหารที่ไม่มีประโยชน์ ไม่ตรงเวลา การสูบบุหรี่ ดื่มแอลกอฮอล์ เป็นสาเหตุหลักที่ทำให้คนเป็นโรคนี้เพิ่มขึ้น โดยความรุนแรงของโรคแบ่งเป็นกลุ่มที่มีอาการไม่มากเป็นแล้วหาย,กลุ่มที่เป็นซ้ำแต่ไม่รุนแรง และกลุ่มที่มีอาการรุนแรงถึงขั้นเป็นแผลในหลอดอาหาร ซึ่งกลุ่มนี้มีความเสี่ยงต่อการพัฒนาไปเป็นโรคมะเร็งหลอดอาหารได้ การรักษาเบื้องต้นจึงมีความสำคัญมากที่จะบรรเทาอาการในระยะแรก โดยผู้ป่วยสามารถสังเกตอาการเบื้องต้นได้ สำหรับอาการอาหารไม่ย่อยนั้นเกิดจากการมีกรดเกินในกระเพาะอาหารจึงทำให้มีอาการปวดท้อง แน่นท้อง จุกเสียด อิ่มเร็ว เรอมากเป็นอาการเด่น ส่วนกรดไหลย้อน ผู้ป่วยจะมีอาการจุกแน่นอยู่ที่หน้าอกคล้ายอาหารไม่ย่อย แต่จะมีอาการแสบร้อนกลางอก เรอบ่อย จุกคอ ไอมาก เจ็บคอเรื้อรัง สาเหตุส่วนหนึ่งที่ทำให้เกิดโรคกรดไหลย้อน คือ โรคอ้วน การตั้งครรภ์ การบริโภคอาหารรสจัด อาหารขยะหรืออาหารมันเกินไป นอนทันทีหลังมื้ออาหาร รวมถึงความเครียดที่เป็นตัวกระตุ้นให้อาการของโรคทวีความรุนแรง

ส่วนการป้องกันนั้น คุณหมอวิภากรกล่าวว่า การป้องกัน คือการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เช่น ปรับการรับประทานอาหาร หลีกเลี่ยงอาหารไขมันเยอะ เพราะทำให้การย่อยช้าลง เลี่ยงอาหารรสจัด งดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ รวมถึงชา กาแฟ น้ำอัดลม รวมถึงผลิตภัณฑ์ที่ทำจากนม เพราะอาหารเหล่านี้จะสร้างลมในทางเดินอาหาร ซึ่งจะดันกรดและอาหารที่ยังย่อยไม่หมดขึ้นไปสู่กระเพาะและหลอดอาหารได้ ควรแบ่งย่อยการรับประทานอาหารจาก วันละ 3 มื้อ เป็น 5-6 มื้อต่อวัน เข้านอนหลังจากมื้ออาหารอย่างน้อย 3 ชั่วโมง ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอจะช่วยทำให้ระบบย่อยอาหารดีขึ้น ส่วนในกรณีของผู้ที่มีอาการบ่อยควรยกหัวเตียงนอนให้สูงขึ้น 6-10 ฟุต จะสามารถช่วยลดอาการได้ ในกรณีที่จำเป็นต้องใช้ยาร่วมด้วยก็ขอให้คำนึงถึงการใช้ยาที่ถูกกับโรคและอาการ รวมทั้งการปฏิบัติตัวที่ถูกต้องตามที่แนะนำข้างต้นจะสามารถช่วยบรรเทาอาการได้.

Create Date :18 กรกฎาคม 2556 Last Update :18 กรกฎาคม 2556 1:42:36 น. Counter : 1984 Pageviews. Comments :0