พินิจงานรถไฟสายอีสานด้วยค่าโดยสารเพียง 50 บาท (5) ![]() หลังจากมื้อเช้าที่โรงแรมแล้ว ผมกับทีมงานอีกหนึ่งคน ก้าวเดินผ่านถนนที่เปียกด้วยฝนตกกระหน่ำเมื่อใดก็ไม่ทราบ ผ่านตลาดหัวรถไฟไปยังสถานีนครราชสีมา ![]() ขากลับ ชาวคณะตกลงใช้บริการของรถโดยสาร ข.234 (สุรินทร์ - กรุงเทพ) โดยมีกำหนดถึงนครราชสีมาราวๆ 08.00 น. ยังเป็นห่วงทีมงานอีกหนึ่งคนกับลูกชายที่จะมาสมทบ แต่ติดขัดที่รถสองแถวจากหน้ามหาวิทยาลัยราชมงคลมายังตัวเมืองนั้น รอแล้วรอเล่า ก็ไม่โผล่มาสักที ![]() คงเหมือนเหตุการณ์ที่ผมเคยเจอแถวตัวเมืองพัทลุง ถ้าเป็นวันหยุด มักจะช้า หรือไม่ก็ไม่มีวิ่งเลย เพราะผู้โดยสารไม่ออกมาใช้บริการนั่นแหละ ร่ำๆ จะใช้แผน 2 คือ ผมกับทีมงาน จะขึ้น ข.234 ไปก่อน แล้วลงที่สถานีปากช่อง รอให้คนที่เหลือกับลูกชายขึ้นรถเร็วสายอุบลราชธานีมาสมทบ ก่อนที่จะซื้อตั๋วขึ้นไปพบในขบวนรถ ![]() และแล้วทีมงานคนสุดท้ายกับลูกชายก็โผล่มาทันเวลา โดยให้เหตุผลตามที่คาดการณ์ไว้ จึงเร่งให้ไปจัดการเรื่องตั๋วฟรี ส่วนทีมงานที่มากับผมนั้น แยกวงไปถ่ายภาพหัวรถจักร "ฮาโนแม็ก" ที่หน้าสถานี ก่อนที่กลับมาสมทบรอขึ้น ข.234 ต่อไป ![]() ตั๋วฟรี ราคา 0 บาทเช่นเคยครับ ![]() ![]() บนเส้นทางรถไฟหลวงสายแรกของสยาม ผมพยายามเก็บภาพสถานีต่างๆ ให้มากที่สุด เพราะใกล้เวลาก่อสร้างเส้นทางรถไฟทางคู่ ระหว่างสถานีมาบกะเบา - ชุมทางถนนจิระ เข้ามาเต็มทีแล้ว (ยกเว้นช่วงยกระดับผ่านตัวเมืองนครราชสีมา ที่กำลังออกแบบแก้ไขกันอยู่) ไล่เรียงดูแล้ว ตกหล่นสถานีหนองบัว จ.สระบุรี ไปเพียงหนึ่งสถานี ใครมีโอกาส ช่วยเก็บภาพซ่อมให้ด้วย ![]() รถดีเซลรางฟรี จากชุมทางแก่งคอย จอดรอทางไปยังขอนแก่น ซึ่งจะมี ข.430 จากชุมทางบัวใหญ่ มายังนครราชสีมา กับ ข.234 จากสุรินทร์ที่พวกผมจะโดยสารไปกรุงเทพฯ เข้าเทียบชานชาลาก่อน ![]() หลังจาก ข.234 แล่นเข้าเทียบเข้าชานชาลาตามกำหนดเวลา ทีมงานได้ขึ้นรถจัดแจงหาที่นั่งเรียบร้อยแล้ว ขยับกล้องเตรียมเก็บรูป รอรถออกกันล่ะ และก็ได้ภาพแรกสมใจ คือรถจักรดีเซล Davenport ขนาด 500 แรงม้า หมายเลข 520 ซึ่งการรถไฟฯ ได้รับมาใช้งานตั้งแต่ปี พ.ศ.2495 โน้นแน่ะ ตอนนี้เหลือใช้งานจริงอยู่เพียง 3 คันเท่านั้น ที่สถานีนครลำปาง โรงงานอุตรดิตถ์ และโรงรถจักรนครราชสีมา ![]() กับ ข.430 ที่เพิ่งจะมาถึงก่อนหน้านั้น จอดรอเตรียมวิ่งเข้าโรงรถจักรนครราชสีมา ![]() ทางแยกไปยังคลังน้ำมันของกองบิน 1 (นครราชสีมา) และ บชร.2 ครับ ![]() สถานีภูเขาลาด สถานีแรกบนเส้นทางถัดจากสถานีนครราชสีมา เช้ากรุงเทพฯ ![]() สถานีโคกกรวด ยังมีรูปทรงเก่าแก่คล้ายคลึงกับสถานีบนเส้นทางสายเหนือ ![]() สถานีกุดจิก ครับ ![]() สวนหย่อม บริเวณหน้าอาคารสถานี หนึ่งในทีมงานบอกว่า จะมีการส่งเข้าประกวดชิงรางวัลประจำปีจากการรถไฟฯ ด้วย ![]() สนใจใคร่รับไปเลี้ยงสักตัวไหมครับ ? ติดต่อโดยตรงได้ที่นายสถานี ![]() ![]() เข้าสู่สถานีประจำ อ.สูงเนิน แล้วครับ ![]() ตัวอาคารสถานี ได้รับการอนุรักษ์โดยชุมชนในท้องถิ่นและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ในขณะที่อีกหลายแห่ง อนาคตยังไม่แน่นอน ถ้าโครงการก่อสร้างทางรถไฟทางคู่จากสถานีมาบกะเบา - ชุมทางถนนจิระ เริ่มดำเนินการ ![]() คำว่า "สูงเนิน" ยังเป็นชื่อของรถจักรไอน้ำรางแคบขนาด 60 ซม. ขนฟืนจากป่ามาเป็นเชื้อเพลิงให้กับบรรดารถจักรไอน้ำที่วิ่งบนทางสายใหญ่ในอดีตอีกด้วย ทราบว่ายังมีอยู่ในสภาพสมบูรณ์เพียง 1 คัน ซึ่งเก็บรักษาไว้ที่โรงงานรถไฟมักกะสัน แต่คนภายนอกคงจะมีโอกาสเห็นได้น้อยเต็มที ![]() สถานีโคกสะอาด เท่าที่สังเกต มักจะมีคำว่า "สะอาด" ต่อท้ายชื่อหมู่บ้าน ตำบล อำเภอ หรือแม้แต่สถานีรถไฟในภาคอีสาน ยังหาความหมายนี้ไม่พบครับ ![]() ![]() เข้าสู่สถานีสีคิ้ว ซึ่งเป็นสถานีประจำ อ.สีคิ้ว ด้วย อำเภอนี้ มีชื่อเดิมว่า อ.จันทึก ในเวลาที่ผ่านมา ชาวบ้านที่อาศัยอยู่ ต.จันทึก ซึ่งมีไข้ป่าชุกชุม ย้ายมาตั้งหลักแหล่งที่ ต.สีคิ้ว จนกลายเป็นชุมชนใหญ่ ทางการเลยเปลี่ยนชื่ออำเภอเพื่อให้ตรงกับข้อเท็จจริงว่า อ.สีคิ้ว ส่วน ต.จันทึก ภายหลัง ชุมชน ต.ปากช่อง ได้เจริญขึ้นจากถนนมิตรภาพตัดผ่าน ทางการจึงได้จัดตั้งขึ้นเป็นกิ่งอำเภอ และ อ.ปากช่อง ในที่สุด และ ต.จันทึก ได้ถูกโอนเข้ามาอยู่ในเขต อ.ปากช่อง นี้ ![]() พอดีขบวนรถด่วนพิเศษดีเซลรางปรับอากาศ ข.21 (กรุงเทพ - อุบลราชธานี) ซึ่งเป็นรถไฟขบวนแรกจากกรุงเทพฯ เข้ามาจอดรอหลีก ก่อนที่จะเดินทางไปสู่ปลายทางต่อไป ช่างรวดเร็วดีแท้ๆ ![]() คราวนี้ มาเจอสถานีที่มีชื่อตรงข้ามบ้าง สถานีหนองน้ำขุ่น ![]() ![]() ชานชาลาสถานีหนองน้ำขุ่น ![]() สถานีบ้านใหม่สำโรง คงไม่ใช่อยู่แถวสำโรง ใน กทม.แน่ๆ ![]() ![]() ชานชาลาและตัวอาคารสถานีบ้านใหม่สำโรงครับ ![]() และเราได้มาถึงสถานีลาดบัวขาว คลับคล้ายคลับคลาว่า จะเป็นชื่อสกุลของนักมวยชื่อดังของประเทศด้วยล่ะ ![]() ![]() ตัวอาคารสถานียังทรงรูปเดิม แต่ชั้นล่างได้ดัดแปลงเป็นอาคาร คสล.ไปแล้ว เข้าใจว่า อาคารเดิมคงถูกปลวกกัดกิน จนต้องรื้อทำใหม่ ![]() ดูกันใกล้ๆ อีกสักรูปนะครับ ![]() ![]() สถานีคลองไผ่ ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของแนวทางรถไฟสร้างใหม่ เลียบอ่างเก็บน้ำลำตะคอง โดยมีอาคารสถานีต้องสร้างใหม่เพื่อหนีระดับน้ำที่กักเก็บ รวม 2 สถานีด้วยกัน ก่อนกลับเข้าสู่เส้นทางเดิมที่สถานีซับม่วง อ่า... รวมถึงถนนมิตรภาพด้วยครับ ที่ต้องก่อสร้างแย้ายหนีระดับน้ำในอ่าง จะเห็นแนวทางเดิมในช่วงแล้งจัดๆ เท่านั้น ![]() ![]() ยังมีผู้โดยสารรอขึ้นรถอยู่ครับ ผิดจากสองสถานีถัดไป เพราะตั้งอยู่ห่างชุมชน มีไว้เพียงให้ขบวนรถหลีกกันเท่านั้น ![]() ตั้งแต่ช่วงนี้ไปจนถึงสุดเขตอ่างเก็บน้ำลำตะคอง ฝนเพิ่งตกผ่านไปหมาดๆ ![]() ![]() ตัวเขื่อนลำตะคอง ที่นานๆ ครั้งถึงจะสังเกตเห็นผ่านพุ่มไม้ที่ขึ้นบังไว้ครับ ![]() หากใครเคยไปทัวร์รถไฟจัดโดย Rotfaithai.Com เมื่อหลายปีก่อน คงจะจำที่สถานีแห่งนี้ได้ ![]() ![]() พนักงานต้อนรับประจำสถานี ยามค่ำคืน ยังรับ job เป็น รปภ.เฝ้าสถานีให้ด้วย ![]() มองข้ามอ่างเก็บน้ำไปทางฝั่งสวนน้าชาติครับ บางช่วง จะเห็นแนวก่อสร้างมอเตอร์เวย์สาย สระบุรี - นครราชสีมา ได้ชัดเจน มอเตอร์เวย์สายนี้ จะแยกจากถนนมิตรภาพ ข้ามทางรถไฟแถวๆ อ.สีคิ้ว ไปยังทางเลี่ยงเมืองนครราชสีมาด้านเหนือครับ ![]() ด้านกว้างที่สุดของอ่างเก็บน้ำไปยังท้ายอ่าง ![]() เส้นทางลำลองเข้าไปยังสถานีคลองขนานจิตร ![]() ก่อนจะสุดเขตอ่างเก็บน้ำ ยังมีร่องรอยฝนตกไปหมาดๆ ![]() สถานีรถไฟและ ต.จันทึก เป็นชื่อเดิมของ อ.สีคิ้ว จ.นครราชสีมา ตอนหลัง ชาวบ้านได้อพยพหนีไข้ป่าจาก ต.จันทึก ไปอยู่ที่ ต.สีคิ้ว และทางการได้เปลี่ยนชื่อเป็น อ.สีคิ้ว เพื่อให้ตรงกับข้อเท็จจริงในเวลาต่อมา ภายหลังมีการตั้ง อ.ปากช่อง ตำบลนี้เลยย้ายมาขึ้นอยู่กับ อ.ปากช่อง ด้วย สาเหตุที่มีนักการสถานีเดินถือสมุดในภาพของหลายๆ สถานีนั้น เพราะตู้โดยสารที่ผมนั่งอยู่ ได้จัดส่วนหนึ่งเป็นที่ทำการของ พรร. ทำหน้าที่ลงเวลาและเซ็นชื่อลงในสมุดประจำสถานี ![]() เคยคุยกับเพื่อนบ้าน เกี่ยวกับเรื่องการเกษตร แกให้ความเห็นว่า ชาวนาชาวไร่ส่วนใหญ่มักจะประกอบอาชีพด้วยความเคยชิน ครั้นจะหันไปประกอบอาชีพอื่นตามที่หน่วยงานต่างๆ แนะนำก็ไม่ถนัด แถมเป็นหนี้็เป็นสินที่กู้ยืมมาอีกด้วย ใครพอมีทางแก้ไขปัญหานี้ได้บ้างครับ ? ![]() ![]() สุดเส้นทางสายเลียบอ่างเก็บน้ำลำตะคองที่สถานีซับม่วง กลับเข้าสู่เส้นทางเดิมต่อไป ![]() รอให้ พรร.ประจำขบวนรถเซ็นชื่อก่อน ![]() เซ็นชื่อเรียบร้อย เขียวดีครับ ![]() สถานีปากช่อง เคยคึกคักด้วยเป็นสถานีสุดระยะรถจักรไอน้ำช่วยทำการทั้งดุนและดันจากสถานีชุมทางแก่งคอย ก่อนที่จะกลับไปรอช่วยทำขบวนต่อไป น่าจะนำเอารถจักรไอน้ำ "การัตต์" มาตั้งเป็นสง่าที่สถานีแห่งนี้มากกว่า เพราะเกี่ยวข้องกับประวัติอันลึกซื้ง ยาวนานกว่าที่แห่งใด ![]() ชานชาลาสถานีปากช่อง แม้แต่ขบวนรถด่วน รถเร็ว สายอีสานแทบทุกขบวนต้องหยุดรับผู้โดยสารที่นี่ และตรวจสอบระบบห้ามล้อ ก่อนล่องใต้ผ่านเทือกเขาดงพญาเย็น ยกเว้นขบวนรถที่ผ่านเส้นทางสายชุมทางแก่งคอย ชุมทางบัวใหญ่ ![]() ขบวนรถพ่วงขนปูนซิเมนต์จากบริษัทของเจ้าสัวประชัย เตรียมไปส่งที่คลังสินค้าทางภาคอีสาน ![]() บันไดม้า คาดว่าในอดีต คงเป็นที่ลาดชันมาก จนม้าต้องกระโจนผ่านนั่นแหละ ![]() ![]() มีพนักงานต้อนรับประจำสถานีเช่นเคย ![]() ปางอโศก จริงๆ แล้ว อยู่ไม่ไกลจากถนนมิตรภาพมากนัก แต่ทำไมบรรยากาศดูเหงาๆ ชอบกล ? ![]() ![]() บรรยากาศฟ้าหลังฝนครับ ![]() ![]() นึกถึงสมัยเด็กของผมเลย แต่สีที่ทาขอบหน้าต่างจะเป็นสีครีมขาว ![]() ![]() ดูเมฆฝนคลอเคลียอยู่ที่บริเวณเทือกเขาใหญ่ ![]() สำหรับผู้ที่ขับรถผ่านตลาดกลางดง เรื่องที่จะหยุดซื้อข้าวของกลับบ้านเห็นจะไม่มี เพราะตัวตลาดใหญ่กว่าหลายๆ อำเภอด้วยซ้ำไป แต่ถ้ามองจากรถไฟ เหมือนดูหนังคนละม้วนเลยครับ อ้อ... มีแม่ค้าหิ้วน้อยหน่าขึ้นมาขายบ้างเหมือนกัน ![]() ![]() ดูจากจำนวนผู้โดยสารก็ได้ ทั้งๆ ที่เป็นเวลาใกล้เที่ยงแล้ว ![]() ![]() จากสถานีกลางดง ขบวนรถได้ชลอความเร็วไหลผ่านโค้งจากแผ่นดินอีสานลงมาเรื่อยๆ จนกระทั่งถึงสะพานข้ามห้วยมวกเหล็กอันถือว่าเป็นเขตแดนระหว่างภาคอีสานกับภาคกลางไปด้วยในตัว สะพานแห่งนี้ เมื่อก่อนเป็นสะพานแบบโครงเหล็กล่าง เพิ่งเปลี่ยนเป็นสะพานโครงเหล็กด้านบนเคลือบกัลวาไนซ์ ซึ่งสามารถรับน้ำหนักขบวนรถได้มากกว่าเดิมเมื่อไม่กี่ปีนี้เอง ![]() สมัยผมยังอยู่ในวัยรุ่น การรถไฟฯ ได้จัดรายการรถไฟนำเที่ยวน้ำตกมวกเหล็ก และน้ำตกเจ็ดสาวน้อย โดยพ่วงตู้โดยสารจำนวน 2 ตู้ไปกับขบวนรถเร็วกรุงเทพ - อุบลราชธานี (เที่ยวเช้า) ก่อนที่จะตัดพ่วงไว้ที่รางหลีก ปล่อยให้นักท่องเที่ยวพักผ่อนเล่นน้ำตามอัธยาศัย ตระเวนซื้อหานมสดตราวัวแดงที่มีขายเป็นถุงมาดื่ม ก่อนที่รถเร็วขาล่องจะรับพ่วงกลับ แต่รายการท่องเที่ยวนี้เลิกไปนานแล้วครับ อาจเป็นเพราะไม่ได้รับความนิยมก็ได้ ![]() หลุมฝังศพนายช่างชาวเดนมาร์ก ซึ่งเสียชีวิตด้วยไข้ป่า คราวควบคุมงานก่อสร้างทางรถไฟสายนครราชสีมาและถูกนำมาฝังไว้ที่นี่ R.I.P. ชั่วนิรันดร์... ![]()
ขอบคุณที่แบ่งปัน
โดย: Kavanich96
![]() |
บทความทั้งหมด
|