จากสถานีโคกคลี รถไฟจะเข้าโค้งซ้าย เริ่มไต่ขึ้นเขาพังเหย ก่อนที่จะลอดอุโมงค์แห่งเดียวบนเส้นทางสายอีสานในขณะนี้

ผมยุให้อาจารย์ในทีมงานไปหาที่เหมาะ เพื่อบันทึกภาพเส้นทางไต่ระดับขึ้นเขาพังเหย ซึ่งอาจารย์ก็ดีใจหาย รีบเดินไปยังด้านหน้ารถเพื่อเตรียมบันทึกวิดีโอ โดยมีอีกหนึ่งในทีมตามประกบเพื่อบันทึกภาพแผ่นดินที่ราบลุ่มในท้องที่ อ.ลำสนธิ จ.ลพบุรี

ก่อนที่จะออกจากอุโมงค์ เสียดายที่ได้ภาพมาแค่นี้เองครับ

ออกจากปากอุโมงค์ด้านเหนือ ก็เข้าสู่แผ่นดินอีสานที่ อ.เทพสถิต จ.ชัยภูมิ

แล้วเราได้ผ่านเส้นทางช่วงหนึ่งที่ต้องถมดินเป็นเนินสูงเพื่อเชื่อมเขาสองลูกให้รถไฟวิ่งได้ ซึ่งแฟนรถไฟอย่างพวกผมมักจะเรียกกันติดปากว่า "เนินเดียวดาย" ที่มีบางส่วนถูกน้ำกัดเซาะคันดินจากพายุฝนที่ผ่านมา ต้องเสริมความมั่นคงโดยด่วน

หากใครโดยสารรถทัวร์ระหว่างนครราชสีมา - เชียงใหม่ บนเส้นทางช่วง อ.ด่านขุนทด ถึง อ.ท่าหลวง จะผ่านไร่ข้าวโพด อ้อย และมันสำปะหลัง สุดลูกตาแบบนี้แหละครับ

ไฮไลท์บนเส้นทางอยู่ตรงสะพานข้ามถนนสุรนารายณ์ หรือทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 205 (บ้านหมี่ - โคกสำโรง - โคราช) ก่อนที่จะเข้าเทียบชานชาลาสถานีบ้านวะตะแบก (เทพสถิต) ในเวลาอีกไม่นานนัก

ถนนสุรนารายณ์ หรือทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 205 (บ้านหมี่ - โคกสำโรง - หนองบัวโคก - จอหอ - นครราชสีมา)
เลยโค้งซ้ายบนเนินไปอีกเล็กน้อย จะเข้าชุมชน อ.เทพสถิต จ.ชัยภูมิ

สถานีบ้านวะตะแบก (เทพสถิต) อันเป็นสถานีประจำ อ.เทพสถิต
(ความเห็นส่วนตัวไม่ชอบชื่ออันรุงรังครับ จะเปลี่ยนชื่อสถานีก็เปลี่ยนไปเลย)


สถานีห้วยยายจิ๋ว ชื่อเป็นชาวบ้านฟังดูกันเองมากกว่า

สถานีบำเหน็จณรงค์ แต่ชุมชนอำเภอนั้นอยู่ลึกไปข้างในร่วม 5 กม.ทีเดียว

ที่หยุดรถโนนคร้อ ซึ่งบรรดานักท่องเที่ยวจากเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ ลงจากรถที่นี่กันหนาตา

เท่าที่ประเมินจากสายตา คงร่วมครึ่งหมู่บ้านกระมัง ?


สถานีหนองฉิม แต่ชื่อไม่รุงรัง ทั้งที่เป็นสถานีประจำ อ.เนินสง่า จ.ชัยภูมิ

นานๆ ครั้ง จะได้เห็นฝูงควายที่ชาวบ้านเลี้ยงไว้แบบนี้
ผมเคยเห็นฝูงควายจำนวนมากที่ริมคลองอนุศาสนันท์ (ชัยนาท - ป่าสัก) ที่ อ.บ้านหมอ จ.สระบุรี มีร่วม 50 ตัวทีเดียว

มาดนายฮ้อยเลี้ยงควายครับ


แล้วเราเข้าสู่เขตเมืองย่าโมอีกครั้งหนึ่งที่สถานีบ้านเหลื่อม อ.บ้านเหลื่อม จ.นครราชสีมา
เท่าที่ผมสังเกต จะมีที่หยุดรถหลายแห่งบนเส้นทางจนกระทั่งถึงชุมทางบัวใหญ่ ทำให้นึกถึงชุมชนหลายแห่งอยู่ข้างในเส้นทางรถไฟ


ในที่สุด ขบวนรถเข้าสู่สถานีชุมทางบัวใหญ่ โดยมีขบวนรถสินค้ารอทางก่อนเข้าสู่เส้นทางสายลำนารายณ์ - ชุมทางแก่งคอย ต่อไป

พอลงจากขบวนรถได้ รถงานที่จอดอยู่ในรางหลีก ก็วิ่งออกจากสถานีไปทางด้านเหนือสู่ไซต์งานก่อสร้างเส้นทางคู่สายชุมทางถนนจิระ - ขอนแก่น อย่างมิชักช้า

ป้ายบอกสถานีถัดไปครับ

สำหรับขบวนรถที่โดยสารมานั้น เข้าเติมน้ำมันเต็มถังก่อนพักนอน รอทำขบวนในเช้าของวันรุ่งขึ้น

สามเกลอหัวเห็ด โดยความเอื้อเฟื้อภาพจากอาจารย์ หนึ่งในทีมงานครับ


พอมีเวลาเหลือ ก่อนที่ ข.418 (หนองคาย - นครราชสีมา) จะมาถึง เลยชวนกันตระเวนซื้อเสบียงมื้อเย็นกันก่อนครับ
