เที่ยวไปกับทัวร์ Circular Train (ตอนที่ 6)
ในตอนที่แล้ว ผมพานั่งรถไฟจัดเฉพาะ Circular Train จากชุมทางบางซื่อ ผ่านชุมทางฉะเชิงเทรา ชุมทางคลองสิบเก้า ชุมทางแก่งคอย และเข้าสู่แผ่นดินอีสานจนถึงสถานีจันทึก วันนี้เราไปกันต่อนะครับ



จากสถานีจันทึก เส้นทางจะเลาะเขาริมอ่างเก็บน้ำลำตะคอง

ด้วยลักษณะพื้นที่เป็นหินผุปนกับดินลูกรัง มักเกิดปัญหาดินข้างทางพังสู่ทางรถไฟสายนี้ในช่วงฝนที่ผ่านมา จนปิดเส้นทางเพื่อซ่อมหลายหน แม้แต่เสาโทรเลขริมทางยังไม่พ้นภัยนี้



ผ่านสถานีคลองขนานจิตร ซึ่งเป็นหนึ่งในสองแห่งที่ก่อสร้างใหม่พร้อมแนวทางรถไฟที่ย้ายหนีน้ำขึ้นมาจากบริเวณอ่างเก็บน้ำลำตะคอง ที่ผู้คนในสมัยนี้ มักจะไม่ทราบกันนัก

ช่วงขาไป ขบวนรถยังไม่ได้แวะจอดสถานีนี้ครับ



สภาพหินข้างทางที่ร่วงมาทับเส้นทางรถไฟ ที่ถูกงัดออกไปพ้นทางแล้ว

สังเกตเสาโทรเลขข้างทางด้วยนะครับ ที่ยังใช้เสาชั่วคราวรองรับสายแทนเสาเดิมซึ่งทำจากเหล็กรางรถไฟเก่า ก่อนถูกดินข้างทางพัดหายไป



ตอนนี้ขบวนรถได้แล่นเข้าใกล้สถานีคลองไผ่ ซึ่งเป็นที่ตั้งของตัวเขื่อนลำตะคอง และนิคมสร้างตนเองลำตะคองด้วยครับ

หากใครที่เคยนั่งรถยนต์ไปเที่ยวเขื่อนลำตะคอง คงจะเห็นภาพได้ชัดเจนกว่ามาตามเส้นทางรถไฟ



แล้วรถไฟจัดเฉพาะเพื่อการท่องเที่ยว Circular Train ได้นำคณะทัวร์เข้าสู่สถานีคลองไผ่ซึ่งเป็นสถานีปลายทางโดยสวัสดิภาพ และจอดให้บรรดาลูกทัวร์เดินถ่ายรูปตามสถานีรถไฟเป็นเวลา 20 นาที

ช่วงที่เดินทางมาถึงสถานีคลองไผ่ ก้มมองดูนาฬิกา บอกเวลา 15.30 น.แล้วครับ

ชักเป็นห่วงแล้วสิว่า จะกลับเข้าถึงกรุงเทพฯ สักกี่ทุ่มหนอ ?



ไหนๆ ดั้นด้นเดินทางมาไกลถึงสถานีคลองไผ่แล้ว ถือโอกาสลงเดินสำรวจบริเวณรอบๆ สถานีกันหน่อยล่ะครับ



สังเกตจากสีที่ทาอาคารจนเป็นสีเอกลักษณ์ของการรถไฟฯ นั้น ช่างดูคลาสสิกจริงๆ



รวมถึงรูปทรงอาคารบ้านพักนายสถานีด้วยครับ ซึ่งสมัยนี้ได้กลายเป็นอาคารก่ออิฐถือปูนไปหมดแล้ว



กลับไปทางย่านสถานี เจอหลัก "ศิลาลิขิต" แล้วสิครับ ไปดูกันหน่อยว่าเขียนไว้อย่างไรบ้าง

ที่ผมไม่เรียกว่าศิลาจารึกนั้นเพราะไม่ได้สลักไว้ครับ ใช้พู่กันจุ่มสีเขียนเป็นตัวอักษรเท่านั้น



ต้องใช้สายตาถึงสามคู่ และเค้นพลังสมองกันนานพอสมควร จึงแกะลายมือเขียนไว้ว่า

"ก.ม.288+180.90

จุดเริ่มต้น
ทางรถไฟเลียบ
อ่างลำตะคอง

1 ธ.ค.10"


ถ้าผิดพลาดประการใด ขอได้อภัยด้วยครับ น่าเสียดายหลักฐานประวัติเส้นทางช่วงนี้จริงๆ ที่ควรจะรับการดูแลให้ดีกว่านี้



ผู้ร่วมแกะ "ศิลาลิขิต" ท่านนี้ คงจะภูมิใจกับหลักฐานชิ้นนี้มาก จึงขอให้ผมบันทึกภาพไว้เป็นที่ระลึกด้วย

หน้าตาอาจภูมิฐานไปสักนิด แต่อาชีพหลักของท่านนั้นเป็นถึงผู้พิพากษาทีเดียว



ได้เวลาเสียงโทรโข่งจากผู้จัดเริ่มดังเรียกคณะทัวร์กลับขึ้นรถล่ะครับ

เพื่อเดินทางไปชมทิวทัศน์ของอ่างเก็บน้ำลำตะคองที่เห็นได้ชัดเจนที่สุด บริเวณสถานีคลองขนานจิตร



และแล้ว ขบวนรถจัดเฉพาะเพื่อการท่องเที่ยว ได้เวลาออกเดินทางกลับจากสถานีคลองไผ่



หากท่านใดที่นั่งรถทัวร์สายอีสานผ่านศูนย์บริการนักท่องเที่ยว ลำตะคอง ของกรมทางหลวง และสวนน้าชาติ ที่เขายายเที่ยง ถ้ามองไปยังอีกฟากหนึ่งของอ่างเก็บน้ำ จะเห็นทางรถไฟสายอีสาน และสถานีเล็กๆอยู่แห่งหนึ่ง คือสถานีคลองขนานจิตร นั่นเอง

คราวนี้ เรามองจากฝั่งสถานี มองไปยังศูนย์บริการทางหลวงกันบ้างล่ะ



สำหรับนักท่องเที่ยวสองรายนี้ ค่อนข้างจะ Happy เป็นพิเศษ ขณะช่วยกันบันทึกภาพจากมุมมองที่ไม่เคยเยือนมาก่อน



ลองซูมจนสุดกำลังกล้อง ได้ภาพมาแค่นี้เองครับ



เฮฮาบันทึกภาพกันได้ไม่นาน ต้องมานั่งเงียบเหงาทั้งบนรถไฟและอาคารสถานีเป็นทิวแถว เพราะฝนชะช่อมะม่วงดินแดนอีสาน เทลงมาพอดี



นี่ก็อีกกลุ่มหนึ่ง ที่กำลังเซ็งกับบรรยากาศยามนั้นครับ



เวลาผ่านไปราว 15 นาที สายฝนจึงค่อยสร่างซาลง พร้อมๆ กับได้เวลาออกเดินทางต่อพอดี



นายสถานีคลองขนานจิตร โบกธงเขียวปล่อยขบวนรถล่ะครับ

สถานีแห่งนี้ ไม่มีถนนใดๆ ผ่าน แถมประสบปัญหาขาดแคลนน้ำอีกด้วย ทางหน่วยงานที่แก่งคอยจึงจัดรถ บทน. (โบกี้บรรทุกน้ำ) มาจอดให้บริการน้ำสะอาดแก่บรรดาพนักงานได้ใช้สอยทุกเดือน มิได้ขาด

น่าจะมีเบี้ยกันดารแถมให้ด้วยนะ...

(รอติดตามตอนสุดท้ายด้วยนะครับ)



Create Date : 25 กุมภาพันธ์ 2555
Last Update : 26 กุมภาพันธ์ 2555 0:01:53 น.
Counter : 3121 Pageviews.

0 comments
กงสุลใหญ่สมใจ ตะเภาพงษ์“ร่วมฉลองสงกรานต์ปีใหม่ไทยในไทม์สแควร์” newyorknurse
(17 เม.ย. 2567 02:18:24 น.)
วัดพระธาตุเสด็จ อำเภอเมือง ลำปาง tuk-tuk@korat
(14 เม.ย. 2567 13:54:44 น.)
Bangsaen 21 The Finest Running Event Ever 2023 บางแสน แมวเซาผู้น่าสงสาร
(12 เม.ย. 2567 10:20:55 น.)
ต้นไม้ใบหญ้าเริ่มฟื้นคืนชีพ สวยสุดซอย
(12 เม.ย. 2567 14:13:40 น.)
ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
 *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

Owl.BlogGang.com

owl2
Location :
กรุงเทพฯ  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ผู้ติดตามบล็อก : 3 คน [?]

บทความทั้งหมด