Xinchao Vietnam ( 5 )


ท่าทราย ทีพบเห็นกันมากตามย่านนี้ครับ เพราะมีแม่น้ำหลายสาย



พ้นเขต จ.นิงบิ่งห์ (Ninh Binh) เข้าเขต จ.ไทบิ่งห์ (Thai Binh) ซึ่งเป็นจังหวัดอยู่ติดชายทะเลอ่าวตังเกี๋ย แล้วครับ



ตัวเมืองไทบิ่งห์ (Thai Binh) มองจากถนนเลี่ยงเมือง

จะสังเกตว่า มีนาข้าวเขียวอร่ามอยู่ในภาพด้วย ที่นี่อุดมไปด้วยน้ำท่าบริบูรณ์ เพราะมีแม่น้ำหลายสาย ชาวนาที่นี่ทำนากันปีละ 3 หน ยกเว้นช่วงเดือนกันยายน เพราะเป็นช่งพายุไต้ฝุ่นเข้าพอดี

ชาวนาที่นี่ขยันมากครับ ด้วยพื้นที่เพาะปลูกมีจำกัด ไปทำนาที่ฮวงซุ้ยก็มี

บรรพบุรุษจะอยู่ไม่สุขก็ตรงนี้แหละ





ดังที่กล่าว บริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำแดงมีประชากรอยู่หนาแน่น บ้านเรีอนของชาวเวียตนามแถบนี้ จะพื้นที่ค่อนข้างแคบและเน้นไปทางสูง ดังที่เห็น

ระหว่างที่ตั้งข้อสังเกตกับอาจารย์ชาวเวียตนาม ท่านหัวเราะหึๆ บอกว่าใจของชาวเวียตนามนั้น อยากจะขยายบ้านเรือนไปทางกว้างมากกว่า แต่จนใจที่ราคาที่ดินมีราคาแพง ทำให้บ้านเรือนมีสภาพดังกล่าว



ขอแวะทิ้งน้ำหนักยามบ่ายและซื้อของที่ระลึกจากร้าน OTOP ที่เมืองไทบิ่ง (Thai Binh) ก่อนครับ ซึ่ีงของที่จำหน่ายนั้น ทำจากผลไม้ ถั่วเขียว เม็ดบัวตากแห้ง มีรสหวานเล็กน้อย เหมาะสำหรับกินกับน้ำชายามบ่ายแบบชาวจีนนั่นแหละ



ข้าวของที่จำหน่ายภายในร้าน มีที่นั่งพักด้วย

การซื้อขายนั้นทำไม่ยาก เพราะรับเงินบาทและทอนเป็นเงินบาท ส่วนราคานั้นคิดตามอัตราแลกเปลี่ยนประจำวันโดยปรากฎตัวเลขตามเครื่องคิดเลข นับว่าแฟร์พอสมควร

วันที่ผมเดินทางไปนั้น อัตราแลกเปลี่ยนอยู่ที่ 1 บาทต่อ 700 ด่ง และมีคณะทัวร์หลายคณะลงมาแวะซื้อของกันที่นี่เหมือนกัน



หลักกิโลเมตรที่หน้าร้าน บอกเราว่า เมืองไฮฟอง (Hai phong) ยังอยู่ห่างไปอีก 54 กิโลเมตร



ข้ามแม่น้ำอีกแห่งแล้วครับ ที่นี่เป็นแหล่งผลิตถ่านหินชนิดแอนทราไซต์ที่ใหญ่โตของเวียตนาม



ไม่นานนัก เราก็พ้นเขต จ.ไทบิ่งห์(Thai Binh)เข้าเขต จ.ไฮฟอง(Hai phong)

ลืมบอกไปตั้งแต่แรกครับว่า รถมอเตอร์ไซต์ หรือรถสองล้อลงมา ไม่ต้องจ่ายเงินค่าผ่านด่านแต่อย่างใด



ที่ราบลุ่มแม่น้ำแดง มีพื้นที่การเกษตรหนาแน่น สามารถทำนาได้ปีละ ๓ ครั้ง ยังมีประชากรหนาแน่น แถมยังมีลำน้ำหลายแห่งที่สร้างสะพานข้ามอีกด้วย

ฝั่งแม่น้ำ เป็นเส้นทางรถไฟสายฮานอย - ไฮฟอง สู่เมืองไฮฟอง และท่าเรือครับ



ข้ามสะพานลอยผ่านทางหลวงหมายเลข 5 (ฮานอย - ไฮฟอง) ดูทันสมัยไม่เบา



ผ่านถนนเลี่ยงเมืองไฮฟอง (Hai Phong) ทำให้ผมนึกถึงบรรยากาศสมัย B - 52 กำลังโปรยลูกระเบิดมาถล่มตัวเมืองและบริเวณท่าเรือแห่งเดียวของเวียตนามเหนือในขณะนั้น

เรากำลังสู่สะพานแขวนข้ามแม่น้ำแดง (Song Hong) ที่ไหลจากเมืองฮานอย (Hanoi) แล้วครับ



แม่น้ำแดง (Song Hong) และเมืองไฮฟอง (Hai Phong) มีผลผลิตที่สำคัญคือถ่านหินแอนทราไซต์ ซึ่งนอกจากใช้ในโรงงานอุตสาหกรรม และโรงไฟฟ้าแล้ว ยังเป็นเชื้อเพลิงสำหรับครัวเรือนอีกด้วย โดยเอาผงถ่านหินผสมกับดิน มาปั้นเป็นแผ่นเพื่อจำหน่าย

ไกด์เล่าว่าหม้อไหในครัวเรือนของชาวเวียตนาม จะค่อนข้างหนา ไม่เช่นนั้น ความร้อนสูงจากถ่านหินอาจทำให้ก้นหม้อทะลุได้



สองข้างทางตอนนี้ ทำให้ผมคิดว่ากำลังอยู่แถวๆ จ.กระบี่ - พังงา ของบ้านเรา



บางที่ก็มีท่าเรือขนถ่านหินครับ ทำให้มีหลายคนเกรงว่า เถ้าถ่านอาจไปทำลายความสวยงามของอ่าวฮาลอง (Halong Bay)



พ้นเขต จ.ไฮฟอง (Hai Phong) แต่ด่านนี้ไม่มีเก็บเงิน อาจเป็นว่าทางจังหวัดมีงบประมาณอุดหนุนเหลือเฟือแล้วก็ได้

เราจะเข้าเขต จ.กว่างนินห์ (Quang ninh) ซึ่งเป็นจังหวัดชายแดนอีกแห่งหนึ่งสู่ชายแดนจีน

ดังนั้น เราจะเห็นนักท่องเที่ยวชาวจีนกันค่อนข้างหนาตา



ผ่านเส้นทางรถไฟจากฮานอย ไป จ.กว่างนิงห์ (Quang Ninh) แต่เส้นทางรถไฟสายนี้ ไปไม่ถึงตัวจังหวัด



บ่ายคล้อย คณะทัวร์ก็มาถึงอ่าวฮาลอง (Halong Bay) แล้วครับ สภาพตึกรามดูทันสมัย ไม่แพ้เมืองพัทยาบ้านเรา



ด้วยเป็นเวลาเย็นแล้ว ทางไกด์ได้จอดพักให้ลูกทัวร์เข้าทำธุระส่วนตัวที่ร้านจำหน่ายของที่ระลึกของจีน ก่อนเข้ารับประทานอาหาร และเข้าที่พักต่อไป



ที่ระลึกจากอ่าวฮาลอง (Halong Bay) ตอนพลบครับ




พ้นจากอาหารมื้อเย็นแล้ว ก็ถึงคราวแวะชมร้านจำหน่ายของที่ระลึกแล้วครับ ซึ่งผมเองไม่มีพื้นเรื่องนี้ แต่น้องของผมใช้สูตรบอกครึ่งหนึ่งของราคาที่เสนอมา แล้วค่อยต่อรองจนเป็นที่พอใจ ซึ่งแม่ค้าพูดไทยได้นิดหน่อย ต้องพลิกตำรามาต่อรองกันกันสุดฤทธิ์ แบบไว้ลายแม่ค้าเวียตนามเชียวล่ะ



หลังใช้จากลูกล่อลูกชนกันนิดหน่อยแล้วตกลงกันได้ น้องผมก็จ่ายเป็นเงินไทย และแม่ค้าทอนเป็นเงินไทยเช่นกัน โดยคิดอัตราแลกเปลี่ยนตามที่คำนวนในเครื่องคิดเลข ต่างคนต่างยิ้มแย้มให้กัน ก่อนที่ชาวคณะจะเข้าสู่ที่พักคืนนี้ คือ โรงแรมไซ่ง่อน ฮาลอง (Saigon Halong) ที่อยู่ใกล้ๆ กัน

ที่ผมสนใจมากกว่านั้นคือเงินบาท และภาษาไทย เป็นที่รู้จักและเป็นที่ยอมรับกันของแหล่งท่องเที่ยวในเวียตนาม แสดงว่าเราก็เป็นมหาอำนาจย่อยๆ ในถิ่นอาเซียนเหมือนกัน

ฤทธิ์เดชของนักท่องเที่ยวชาวไทยนั้นไม่เบาเลยครับ



Create Date : 08 มิถุนายน 2556
Last Update : 9 มิถุนายน 2556 13:18:10 น.
Counter : 1896 Pageviews.

2 comments
กงสุลใหญ่สมใจ ตะเภาพงษ์“ร่วมฉลองสงกรานต์ปีใหม่ไทยในไทม์สแควร์” newyorknurse
(17 เม.ย. 2567 02:18:24 น.)
春和歌山市 : ทำไมต้องวากะยามะ mariabamboo
(15 เม.ย. 2567 11:06:33 น.)
Bangsaen 21 The Finest Running Event Ever 2023 บางแสน แมวเซาผู้น่าสงสาร
(12 เม.ย. 2567 10:20:55 น.)
ร้อนนี้ชวนเที่ยว ออบขาน เชียงใหม่ สมาชิกหมายเลข 4313444
(11 เม.ย. 2567 08:07:33 น.)
  
เราก็ต่อราคาไม่ค่อยเป็นค่ะ
โดย: tuk-tuk@korat วันที่: 10 มิถุนายน 2556 เวลา:13:24:11 น.
  
ไม่เป็นไรครับ ไม่ซื้อไม่หาก็ไม่ว่ากระไร
โดย: owl2 วันที่: 10 มิถุนายน 2556 เวลา:22:52:27 น.
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

Owl.BlogGang.com

owl2
Location :
กรุงเทพฯ  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ผู้ติดตามบล็อก : 3 คน [?]

บทความทั้งหมด