ประโยชน์ของขี้เหล็กเทศ (สมุนไพร)
ชื่ออื่น ๆ : ขี้เหล็กผี พรมดาน ชุมเห็ดเล็ก(ภาคกลาง) ขี้เหล็กเผือก หมากกะลิงเทศ ลับมืนน้อย ผักเห็ด (ภาคเหนือ) กิมเต่าจี้ ม่อกังน้ำ (จีน) ผักจี๊ด (เงี้ยว-แม่ฮ่องสอน)
ชื่อสามัญ : coffea Senna
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Cassia occidentalis Linn.
วงศ์ : CAESALPINIACEAE

ลักษณะทั่วไป

  • ต้น : เป็นพรรณไม้ปีเดียวตาย ลำต้นมีความสูง 1-2 เมตร เนื้อไม้ตรงโคนต้นจะแข็ง และจะแตกกิ่งก้านสาขามาก
  • ใบ : จะออกสลับกัน ส่วนก้านใบนั้นเป็นใบร่วมยาวประมาณ 3-5 ซม. ตรงโคนใบจะมีตุ่มนูนออกมา 1 ตุ่ม ใบย่อยมีราว 3-5 คู่ คู่ปลายนั้นจะมีขนาดใหญ่ คู่ถัดไปจะมีขนาดเล็กลงนาตามลำดับ ลักษณะปลายย่อยนั้นจะรีปลายของมันจะแหลมยาวประมาณ 3-6 ซม. กว้างประมาณ 1-2 ซม. ส่วนฐานใบจะเบี้ยวข้างหนึ่ง ตรงขอบใบจะเรียบขนอ่อนนุ่ม ด้านหลังใบจะมีขนอ่อนนุ่มสั้น ๆ ถ้าขยี้ใบดมกลิ่นจะเหม็นเขียวหูจะเป็นใบเส้นมีลักษณะแหลมและหลุดร่วงง่าย
  • ดอก : จะออกเป็นช่อตรงง่ามใบ และมีกลีบเลี้ยง 5 กลีบ ลักษระใบจะรีปลายแหลม ส่วนกลีบดอกจะมีสีเหลือง 5 กลีบ ตรงปลายกลีบดอกจะมนและกลม
  • เกสร : เกสรตัวผู้นั้นจะมีอยู่ 10 อัน ส่วน 3 อันที่อยู่ตรงบนจะร่วงไป และอีก 7 อันที่อยู่รอบ ๆ ก็ตะเจริญเติบโตเต็มที่ลักษณะของรังไข่จะเป็นเส้นโค้ง มีขนสีขาวปกคลุม ปลายรังไข่นั้น จะมีก้านสั้นของเกสรตัวเมียอยู่
  • ฝัก : มีลักษณะเป็นเส้นตรงรูปทรงกระบอก แบนและมีขอบเห็นได้ชัดเจนทั้ 2 ด้าน มีความยาวประมาณ 6-10 ซม. กว้างประมาณ 3-4 มม. จะมีรอยตามขวางนูนขึ้นเปลือกฝักบาง
  • เมล็ด (ผล) : ผลเมื่อก่จะมีสีน้ำตาล ฝักหนึ่งจะมีเมล็ดประมาร 40 เมล้ด ลักษณะเมล็ดนั้นจะกลมมรีและแบน ปลายด้านใดด้านหนึ่งจะมีลักษณะค่อนข้างแหลม ผิวภายนอกจะเรียบและแข็ง

การขยายพันธุ์ : ขี้เหล็กเทศนั้น พบขึ้นเองตามที่รกร้าง ที่แห้งแล้ง ที่ตามไหล่เขา และริมน้ำลำคลอง โดยใช้เมล็ด

ส่วนที่ใช้ : ทั้งต้น ใบ ดอก และเมล็ดใช้เป็นยา ทั้งต้นและใบควรใช้แห้ง หรือจะใช้สดก็ได้ ส่วนฝักและเมล็ดนั้น ควรเก็บเมื่อฝักแก่จัดเป็นสีน้ำตาล ตากแห้ง แล้วเด็ดก้านฝักออกแล้วหั่นเป็นท่อนเล็ก ๆ หรือใช้เกาะเปลือกเอาแต่เมล็ด เก็บตากแห้งไว้ได้

สรรพคุณ :

  • ทั้งต้นและใบ ใช้แห้งประมาณ 6-10 กรัม ส่วนใบสดเพิ่มอีกประมาณ 1 เท่าตัว ใช้ต้มกินหรือคั้นเอาน้ำกิน ถ้าใช้ภายนอก ควรตำก่อนแล้วใช้พอก กินจะมีรสขม ใช้ขับของเสียออกจากไต ใช้กล่อมตับ รักษาอาการบวม ถอนพิา รักษาอาการไอ หอบ ท้องผูก หนองใน ปวดหัว ปัสสาวะเป็นโลหิต แผลบวมอักเสบ ตาแดง แมลงสัตว์กัดต่อย หรือถูงูกัด
  • ฝักและเมล็ด ใช้แงประมาณ 6-10 กรัม ใช้ต้มน้ำกินมีรสชุ่ม ขม แต่มีพิา บำรุงกระเพาะอาหารใช้กล่อมตับ ทำให้การขับถ่ายดี และทำให้ตาสว่าง ใช้รักษาระบบการย่อยอาหารไม่ดี โรคบิด ปวดท้อง ท้องผูก ปวดหัวและถอนพิษ ปวดกระเพาะอาหาร วิงเวียน ตาบวมแดง ถ้าใช้ภายนอกควรบดให้ละเอียดเป็นผง แล้วใช้ทาได้

ตำรับยา

1. รักษาโรคไข้มาลาเรีย ให้นำเมล้ดมาคั่วให้เกรียมจนมีกลิ่นหอม แล้วบดเป็นผฝให้ละเอียด ใช้กินครั้งละ 6-10 กรัม วันละ 2 เวลา

2. รักษาโรคกระเพาะอาหารและลำไส้ที่อักเสบเรื้อรัง ท้องผูกเป็นประจำ ระบบทางเดินอาหารย่อยไม่ดี ให้ใช้เมล็ดที่คั่วจนเหลืองประมาณ 15-30 กรัม บดแล้วกินติดต่อกันเป็นเวลา 10 วัน

11. โรคหนองใน ปัสสาวะเป็นโลหิตใช้ต้นสด 30 กรัม ต้มน้ำกิน

12. ลดความดันโลหิตสูง ให้คั่วจนเกรียมมีกลิ่นหอมแล้วบดเป็นผง ใช้กินครั้งละ 3 รัม ผสมกับน้ำตาลกรวดพอสมควร ชงน้ำรับประทานเป็

ขอบคุณข้อมูลจาก samunpri.com




Create Date : 03 สิงหาคม 2557
Last Update : 3 สิงหาคม 2557 4:06:01 น.
Counter : 455 Pageviews.

0 comments
ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
 *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

vnize
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 4 คน [?]



สิงหาคม 2557

 
 
 
 
 
1
2
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
 
 
3 สิงหาคม 2557
All Blog