ประโยชน์ของลำเจียก (สมุนไพร)
ลำเจียก

ชื่ออื่น ๆ : ลำปาง, ปะหนัน, รัญจวน, ลำจวน, เตยทะเล, การะเกด, ปาแนะ, กาแกด, ดอกกาบ
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Pandanus odoraissimus
วงศ์ : PANDANACEAE

ลักษณะทั่วไป :

  • ต้น : เป็นพรรณไม้พุ่ม อยู่ในประเภทเดียวกับต้นเตย ลักษณะของลำต้นจะแตกเป็นกอใหญ่ มีลำต้นสูงประมาณ 4-6 เมตร บริเวณโคนต้นจะมีรากอากาศโผล่ออกมา
  • ใบ : มีสีเขียว ลักษณะคล้ายกับใบสับปะรด คือจะใหญ่ ยาวและหนา ขอบใบเป็นจัก มีหนามแหลม ใต้ท้องใบมีแกนกลาง
  • ดอก : จะโผล่ออกมาจากกลางลำต้นพอดี ซึ่งดอกนี้จะเริ่มบานในเวลาตอนเย็นและมีกลิ่นหอมฉุน

การขยายพันธุ์ : เป็นพรรณไม้ที่ชอบขึ้นตามชายน้ำ จะต้องการความชื้นและน้ำในปริมาณที่มาก ปลูกขึ้นดีในดินอุดมร่วนซุย หรือดินเหนียวปนทรายอุ้มน้ำได้ดี วิธีการขยายพันธุ์โดยการแยกกอหรือหน่อ

ส่วนที่ใช้ : ราก , ดอก

สรรพคุณ :

  • ราก ของลำเจียกมีรสเย็นและหวานเล็กน้อย นำมาปรุงเป็นยาแก้พิษเสมหะ พิษไข้ พิษเลือด ขับปัสสาวะ และรากอากาศที่โผล่ออกมาจากโคนต้นนั้น ปรุงเป็นยาแก้หนองใน แก้นิ่ว แก้ระดูขาวมีกลิ่นเหม็น แก้ปัสสาวะพิการ
  • ดอก รสหอมเย็น แก้ลม บำรุงหัวใจ

อื่น ๆ : เป็นพรรณไม้ในวรรณคดีไทยที่กล่าวไว้ ซึ่งมีในเรื่องนิราศธารทองแดง อิเหนา ดาหลัง รามเกียรติ์ สมุทรโฆษคำฉันท์



ขอบคุณข้อมูลจาก samunpri.com




Create Date : 03 สิงหาคม 2557
Last Update : 3 สิงหาคม 2557 4:09:44 น.
Counter : 3207 Pageviews.

0 comments
ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
 *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

vnize
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 4 คน [?]



สิงหาคม 2557

 
 
 
 
 
1
2
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
 
 
3 สิงหาคม 2557
All Blog