ประโยชน์ของขลู่ (สมุนไพร)
ชื่ออื่น ๆ : หนาดงัว หนาดวัว หนวดงั่ว หนวดงิ้ว (อุดรธานี) ขี้ป้าน (แม่ฮ่องสอน) ขลู่ (ภาคกลาง) คลู ขลู (ภาคใต้) หลวน ซี (จีนกลาง) หล่วงไซ (แต้จิ๋ว)
ชื่อสามัญ : Indian Marsh Fleabane
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Pluchea indica (Linn.) Less.
วงศ์ : Compositae

ลักษณะทั่วไป

  • ต้น : เป็นพรรณไม้พุม่ขนาดเล็ก ลต้นมีความสูงประมาณ 0.5-2 เมตร แตกกิ่งก้านมากและเกลี้ยง
  • ใบ : จะมีกลิ่นฉุน ใบเล็กรูปไข่กลับ มีความยาวประมาณ 1-5.5 ซม. กว้างประมาณ 2.5-9 ซม. ตรงปลายใบของมันจะมีลักษณะแหลม หรือ แหลมมีติ่งสั้น ขอบใบจะเป้นซี่ฟันและแหลม เนื้อในจะคล้ายกระดาษ ค่อนข้างเกลี้ยง แต่ไม่มีก้าน ดอก จะออกเป็นช่อฝอยมีสีขาวนวล หรือสีม่วง จะออกตามง่ามใบ ดอกวงนอกเป็นดอกเพศเมีย ดอกวงในเป็นดอกสมบูรณ์เพศ
  • ก้านช่อดอก : จะมีความยาวประมาณ 2-6 มม. แต่ไม่มีก้านดอก
  • ริ้วประดับ : มีลักษณะแข็ง สีเขียว และเรียงกันประมาณ 6-7 วง วงอยู่นอกนั้นจะเป็นรูปไข่ วงที่อยู่ในจะคล้ายรูปหอกแคบและตรงปลายของมันจะแหลม
  • กลีบดอก : ดอกวงนอกกลีบดอกยาวประมาณ 3-3.5 มม. ดอกวงในกลีบดอกจะเป็นรูปท่อมีความยาวประมาณ 4-6 มม. ปลายจักเป็นซี่ฟันประมาณ5-6 ซี่
  • อับเรณู : ตรงโคนจะเป็นรูปหัวลูกศรสั้น ๆ
  • เกสร : ท่อเกสรตัวเมียจะมี 2 แฉกสั้น ๆ
  • ผล : แห้ง จะมีรูปทรงกระบอกยาวประมาณ 0.7 มม. มีสัน 10 สัน ระยางค์มีน้อย สีขาว ยาวประมาณ 4 มม. แผ่กว้าง

การขยายพันธุ์ : เป็นพรรณไม้ที่ชอบขึ้นตามที่ลุ่มแฉะ ริมห้วยหนอง ตามหาดทาย ด้านหลัวป่าชายเลน นิยมปลูกเป็นพืชสมุนไพร การปลูกใช้วิธีการปักชำ โดยตัดต้นชำลงดิน รดน้ำให้ชุ่มปลูกขึ้นง่าย ไม่ต้องการดูแลรักษาแต่อย่างใด

สรรพคุณ :

  • ทั้งต้น ใช้ต้มกิน รักษาอาการขัดเบา ปัสาวะพิการ ขับปัสสาวะ รับประทานวันละ 3 ครั้ง ก่อนอาหารครั้งละ 75 มิลลิลิตร หรือ 1 ถ้วยชา นอกจากนี้ยังใช้รักษาโรควัณโรคที่ต่อมน้ำเหลือง โรคเบาหวาน ริดสีดวงทวาร ขูดเอาแต่ผิวต้นผสมกับยาสูบ แล้วนำมาสูบรักษาริดสีดวงจมูก
  • ใบ ใช้ต้มน้ำดื่มแทนชาเพื่อลดน้ำหนัก เบาเทาอาการปวดเมื่อย มุตกิด และนำมาต้มน้ำอาบบำรุงประสาท เป็นยาบีบมดลูก น้ำคั้นรักษาโรคบิด ใบแก่ ๆ สด ๆ เอามาตำบีบน้ำและทา ตรงหัวริดสีดวงทวาร จะทำใหัหัวริดสีดวงหดหายได้ นอกจกานี้ยังนำมาตำผสมกับเกลือรักษากลินปาก และระงับกลิ่นตัว
  • ใบและราก เป็นยาฝาดสมาน รักษาไข้ พอกแก้แผลอักเสบ ขับเหงื่อ ผสมกับสมุนไพรอื่น ๆ ต้มน้ำอาบรักษาเส้นตึง และยังทำเป็นขี้ผึ้งทาแผลเรื้อรัง
  • ใบและต้นอ่อน ใช้บรรเทาอาการปวดในโรคไขข้ออักเสบ รักษาประดง เลือดลม ตำผสมกับแอลกอฮอล์ ทาหลังบริเวณเหนือไต บรรเทาอาการปวดเอว ต้มน้ำอาบรักษาหิด ขี้เรื้อน

อ้างอิง : พจนานุกรม สมุนไพรไทย ดร.วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม



ขอบคุณข้อมูลจาก samunpri.com




Create Date : 03 สิงหาคม 2557
Last Update : 3 สิงหาคม 2557 4:05:23 น.
Counter : 708 Pageviews.

0 comments
ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
 *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

vnize
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 4 คน [?]



สิงหาคม 2557

 
 
 
 
 
1
2
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
 
 
3 สิงหาคม 2557
All Blog