ประโยชน์ของกระต่ายจันทร์ (สมุนไพร)
กระต่ายจันทร์

ชื่ออื่น ๆ : หญ้าจาม(เชียงใหม่) กะต่าย หญ้ากะต่ายจาม หญ้าต่ายจาม กะต่ายจาม กระต่ายจาม(ภาคกลาง) หญ้ากระจาม(สุราษฎร์) หญ้าจาม(ชุมพร) เหมือดโลด(นคาราชสีมา) โฮ่วเกี๋ยอึ้มเจี๋ยะเช้า (จีน)
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Centipeda minima (Linn.) A.Br. & Ascher
วงศ์ : COMPOSITAE

ลักษณะทั่วไป

  • ต้น : เป็นพรรณไม้ล้มลุก ที่มีลำต้นทอดนอนไปตามพื้นดินที่ชื้นเย็น ขนาดเล็ก ส่วนปลายจะแตกกิ่งก้านชูตั้งขึ้น ลำต้นที่อ่อนบางต้นก็จะมีขนยุ่ง หรือบางต้นก็ค่อนข้างเรียบ
  • ใบ : ใบออกดก ลักษณะของใบเล็ก โคนใบสอบแคบ ปลายใบมน ริมขอบใบเว้าหยักเป็นง่าม ข้างละ 2-3 หยัก ขนาดของใบกว้างประมาณ 2-7 มม. ยาวประมาณ 4-22 มม. ใบอ่อนใต้ท้องใบมีขน พอแก่ขนนั้นก็จะหลุดออกเกลี้ยง
  • ดอก : ดอกออกเป็นกระจุก ตามบริเวณง่ามใบของมัน ลักษณะของดอกค่อนข้างกลมแบน ปลายกลมจักเป็นซี่ ๆ ขนาดของดอกมีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 2-4 มม. วงนอกของดอกมีกลีบดอกเป็นสีขาว ดอกวงในมีกลีบดอกเป็นสีเหลือง หรืแต้มสีม่วง ฐานดอกจะนูนไม่มีก้านดอก
  • เมล็ด : เมล็ดมีลักษณะเป็นรูปขอบขนาน ยาว 1 มม. ส่วนปลายจะหนา เปลือกนอกมีขนเล็กน้อยสีขาว

การขยายพันธุ์ : เป็นพรรณไม้ที่มักพบตามชายฝั่งแม่น้ำตามนาข้าวหรือตามที่ชื้น เช่นเดียวกับตะไคร้น้ำ ขยายพันธุ์ด้วยวีธีการเพาะเมล็ด

ส่วนที่ใช้ : ลำต้น ใบ เมล็ด

สรรพคุณ :

  • ลำต้น เป็นยาแก้ระงับพิษ ดับพิษสุรา แก้โรคเยื่อบุตาอักเสบ บำรุงสายตาดี ริดสีดวงทวาร โรคมาลาเรีย ฟันผุ เกี่ยวกับทางเดินอาหาร ใส่แผล วิธีการใช้ ด้วยนำเอาลำต้นที่แห้งทำเป็นยาชง ดื่มกิน หรืออาจใช้ลำต้นสด เอามาตำให้ละเอียดแล้วทำเป็นยาพอกที่แก้มแก้โรคปวดฟัน
  • ใบและเมล็ด ใช้บดเป็นผงเป็นยาทำให้จาม
  • เมล็ด ใช้เป็นยาขับพยาธิ



ขอบคุณข้อมูลจาก samunpri.com




Create Date : 03 สิงหาคม 2557
Last Update : 3 สิงหาคม 2557 4:04:00 น.
Counter : 556 Pageviews.

0 comments
ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
 *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

vnize
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 4 คน [?]



สิงหาคม 2557

 
 
 
 
 
1
2
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
 
 
3 สิงหาคม 2557
All Blog