ประโยชน์ของเฉียงพร้านางแอ (สมุนไพร)
ชื่ออื่น : สันพร้านางแอ (ไทย), เขียงพร้า, กวางล่ามา (ตราด), บงมั่ง (ปราจีน), แสนฟ้านางแอ,โอ่งนั่ง, บ่งนั่ง (อุดร), วงคต, บงคต, สีฟันนางแอ, เฉียงพร้านางแอ่น (พายัพ), คอแห้ง,เขียงฟ้า (ภาคใต้), เขียงพร้านางแอ (ชุมพร), กูมุย (เขมรสุรินทร์)
ชื่อสามัญ : -
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Carallia Brachiata Lb., C. Integerrima
วงศ์ : RHIZOPHORACEAE
ลักษณะทั่วไป :

  • ต้น : เป็นพรรณไม้ยืนต้นขนาดกลางจนถึงขนาดใหญ่ แตกกิ่งก้านสาขาตรงเรือนยอดของ ต้น เปลือกต้นเป็นสีดำและขรุขระเล็กน้อย
  • ใบ : เป็นไม้ใบเดี่ยว ออกใบสลับกันไปตามลำต้น มีสีเขียว มีเนื้อที่แข็ง ลักษณะของใบจะคล้ายกับใบไทรย้อย ใบดกและหนาทึบ
  • ดอก : ออกเป็นช่อ อยู่ตรงส่วนปลายของลำต้น ดอกของต้นเฉียงพร้านางแอนี้มีขนาดเล็ก และมีสีเขียว ๆ เหลือง ๆ

การขยายพันธุ์ : เป็นพรรณไม้กลางแจ้ง ที่ชอบความชื้นสูง มักขึ้นตามป่าชื้นและที่ลุ่มชื้นแฉะ ขยายพันธุ์ด้วยการตอน เมล็ด

ส่วนที่ใช้ : เปลือก

สรรพคุณ :

  • เปลือก ใช้ปรุงเป็นยาแก้ไข้ระงับความร้อน แก้ไข้กล่อมเสมหะและโลหิต และยังแก้พิษร้อนภายในร่างกายแต่จะทำให้กระหายน้ำบ้าง ซึ่งจะมีรสฝาด เย็น และหวานเล็กน้อย

อ้างอิง : พจนานุกรม สมุนไพรไทย ดร.วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม



ขอบคุณข้อมูลจาก samunpri.com




Create Date : 03 สิงหาคม 2557
Last Update : 3 สิงหาคม 2557 4:07:21 น.
Counter : 629 Pageviews.

0 comments
ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
 *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

vnize
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 4 คน [?]



สิงหาคม 2557

 
 
 
 
 
1
2
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
 
 
3 สิงหาคม 2557
All Blog