ประโยชน์ของขนุน (สมุนไพร)
ชื่ออื่น ๆ : มะหนุน(ภาคเหนือ ภาคใต้) ขะนู(ชอง-จันทบุรี) นากอ(มลายู-ปัตตานี) ขะเนอ(เขมร) เนน(ชาวบน-นครราชสีมา) นะยวยชะ (กะเหรี่ยง-กาญจนบุรี)ซีคึย ปะหน่อย(กะเหรี่ยง-แม่อ่องสอน) ล้าง (เงี้ยว-ภาคเหนือ) ปอหล่อบิค (จีน) หมักหมี้(ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ)
ชื่อสามัญ : Jack Fruit Tree
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Artocarpus heterophyllus Lam.
วงศ์ : MORACEAE

ลักษณะทั่วไป

  • ต้น: เป็นพรรณไม้ยืนต้น ลำต้นมีความสูงประมาณ 8-15 เมตร มียางขาวทั้งต้น
  • ใบ : จะออกสวลับกัน และมีลักษณะกลมรียาวประมาณ 7-15 ซม. ตรงปลายใบของมันจะแหลมและสั้นฐานใบจะเรียว ใบอ่อนบางครั้งจะมีรอยเว้าเข้าลึก ๆ 2 รอย แบ่งใบออกเป็น 3 ส่วน หลังใบจะเรียบเป็นมัน เนื้อใบเหนียวคล้ายหนัง ก้านใบยาวประมาณ 1-2.5 ซม. ใบนั้นจะหลุดร่วงง่าย
  • ดอก : จะออกเป็นช่อ และช่อดอกตัวเมียจะอยู่บนต้นเดียวกัน ส่วนช่อดอกตัวผู้จะออกที่ปลายกิ่งหรือง่ามใบ เป็นแท่งยาวประมาณ 2.5 ซม. และมีกาบหุ้มช่อดอกอยู่ 2 กลีบ ดอกย่อยนั้นจะมีเกสรตัวผู้ 1 อัน ช่อดอกตัวเมียเป็นแท่งกลมยาวออกจากลำต้นและกิ่งก้านขนาดใหญ่
  • เมล็ด (ผล) : ผลจะเป็นผลรวม มีลักษระกลมยาวประมาณ 25-60 ซมม. ขนาดใหญ่และอาจหนักถึง 20 กก. ส่วนเนื้อหุ้มเมล็ดอาจจะมีสีเหลือง ถ้าสุกจะมีกลิ่นหอม
  • เปลือกนอก : จะเป็นตุ่มหนามเล้ก ๆ รูปหกเหลี่ยม

การขยายพันธุ์ : โดยการเพาะเมล็ด จะพบปลูกตามสวนหรือบริเวณบ้าน

ส่วนที่ใช้ : เมล็ด เนื้อหุ้มเมล็ด ใบ ยาง แกนและราก ใช้เป็นยา

สรรพคุณ :

  • เมล็ด ให้ใช้ประมาร 60-240 กรัม ต้มสุกกิน จะมีรสชุ่ม ช่วยขับน้ำนมในสตรีหลังคลอด มีน้ำนมน้อยหรือไม่มีน้ำนม ช่วยบำรุงร่างกาย
  • เนื้อหุ้มเมล็ด ให้ใช้สด ผสมกับน้ำหวานกินบำรุงกำลัง หรือจะกินเป็นขนมก็ได้
  • ใบ ใช้สด นำมาตำให้ละเอียด อุ่นแล้วพอกแผล
  • ใบแห้ง ให้บดเป็นผงโรย หรือใช้ผสมทาตรงที่เป็นแผลใช้สำหรับภายนอก รักษาแผลมีหนองเรื้อรัง
  • ยาง จะมีรสจืด ฝาดเล็กน้อย ให้ใช้ยางสด ทาบริเวณที่บวมอักเสบ แผลมีหนองเรื้อรัง ต่อมน้ำเหลืองเกิดจากแผลมีหนองที่ผิวหนัง
  • แกนและราก ใช้แห้งประมาณ 30-60 กรัม นำมาต้มน้ำรับประทาน จะมีรสหวานชุ่ม รักษากามโรค และบำรุงเลือด

ตำรับยา

ให้ใชเมล็ด 60-240 กรัม หรือจะใช้เมล็ดนำมาต้มให้สุกกินหรือจะนำมาผสมกับน้ำหวานและกะทิกิน สำหับสตรีหลังคลอด ที่มีน้ำนมน้อยหรือไม่มีน้ำนมใช้กินได้

หมายเหตุ : ผลอ่อน นำมาต้มเป็นผักจิ้มแล้ว ยังมีฤทธิ์ฝาดสมาน รักษาอาการท้องเสีย ผลสุก จะมีกลิ่นหอม เนื้อในจะมีสีเหลืองนำมารับประทานได้หรือผสมกับน้ำหวานรับประทานเป็นขนม เนื้อในสีเหลืองลื่น รับประทานรักษาโรคเกี่ยวกับทรวงอก รับประทานมากจะเป็นยาระบายอ่อน ๆ ใบสด ใช้ต้มน้ำให้สัตว์กิน ช่วยขับน้ำนม และสามารถนำมาเผากับซังข้าวโพดและกะลามะพร้าวให้เป็นเถ้า ใช้เถ้ารักษาแผลที่เป็นแผลเรื้อรัง น้ำยาง จะมี resins ใช้เป็นสารเคลือบวัสดุหรือจะนำมาผสมกับยางไม้อื่นเพื่อทำตังดักนกก็ได้ นอจากนี้ยังใช้เป็นยารักษาโรคซิฟิลิส และขับพยาธิ แกนไม้ ที่เราเรียกว่า กรัก ซึ่งเป็นไม้สีเหลืองเข้มออกน้ำตาล ทำให้ปลวกและราไม่ขึ้น สามารถทำ เฟอร์นิเจอรและอุปกรณ์หรือเครื่องดนตรีได้ดี ประโยชน์ในทางยา จะมีรสหวานชุ่ม ขม สามารถใช้บำรุงกำลังและบำรุงโลหิต ฝาดสมาน รักษาโรคกามโรค นอกจากนี้ยังสามารถนำมาย้อมผ้า โดยการใช้สารส้มเป็นตัวช่วยให้สีติดและทน ผ้าที่ย้อมจะมีสีเหลืองออกน้ำต

ขอบคุณข้อมูลจาก samunpri.com




Create Date : 03 สิงหาคม 2557
Last Update : 3 สิงหาคม 2557 4:04:49 น.
Counter : 467 Pageviews.

0 comments
ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
 *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

vnize
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 4 คน [?]



สิงหาคม 2557

 
 
 
 
 
1
2
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
 
 
3 สิงหาคม 2557
All Blog