ประโยชน์ของไซรย้อย (ไทรย้อย) (สมุนไพร)
ชื่ออื่น ๆ : ไฮ (พายัพ), ไซรย้อย (ภาคกลาง), ไซร (โคราช), ไซรกระเบื้อง (ประจวบ), จาเรย (เขมร)
ชื่อสามัญ : -
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Ficus benjamina Linn.
วงศ์ : MORACEAE

ลักษณะทั่วไป :

  • ต้น : เป็นพรรณไม้ยืนต้น ที่มีขนาดกลางจนถึงขนาดใหญ่ ลำต้นและกิ่งก้าน มีเปลือกเป็นสีน้ำตาล และบริเวณกิ่งมีรากอากาศย้อยห้อยลงมาสู่พื้น เมื่อรากเจริญเติบโตเต็มที่ มีลักษณะคล้ายเสาตอหม้อทำให้เป็นที่ยึดกิ่งให้แข็งแรงยิ่งขึ้น
  • ใบ : ใบมีลักษณะค่อนข้างกลม ส่วนปลายใบแหลม พื้นผิวเรียบเกลี้ยงเป็นมัน เนื้อหนา ขนาดของใบใหญ่ประมาณ 3-4 เซนติเมตร
  • ผล : ลักษณะของผลค่อนข้างกลม มีขนาดโตเท่ากับผล มะแว้งผลเมื่อสุก หรือแก่เต็มที่จะเป็นสีแดงสด หรือสีเหลือง

การขยายพันธุ์ : เป็นพรรณไม้กลางแจ้ง ซึ่งทนต่อแสงแดดและความร้อนได้ดี มีการขยายพันธุ์ด้วยการเพาะเมล็ด

ส่วนที่ใช้ : ราก

สรรพคุณ :

  • ราก ใช้ประกอบทางยากิน เป็นยาแก้กษัย แก้โรคไตพิการ แก้ขัดเบาช่วยขับปัสสาวะได้ดี และเป็นยาแก้ปัสสาวะพิการ เป็นต้น

ถิ่นที่อยู่ : ไซรย้อย เป็นพรรณไม้ที่มักพบขึ้นตามบริเวณริมฝั่งแม่น้ำลำคลอง ที่ที่ต่ำและชื้นแฉะ มีทุก ๆ ภาคในประเทศ

พจนานุกรม สมุนไพรไทย ดร.วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม



ขอบคุณข้อมูลจาก samunpri.com




Create Date : 03 สิงหาคม 2557
Last Update : 3 สิงหาคม 2557 4:07:58 น.
Counter : 479 Pageviews.

0 comments
ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
 *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

vnize
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 4 คน [?]



สิงหาคม 2557

 
 
 
 
 
1
2
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
 
 
3 สิงหาคม 2557
All Blog