ประโยชน์ของบวบเหลี่ยม (สมุนไพร)
บวบเหลี่ยม
ชื่ออื่น ๆ : มะนอยงู, มะนอยข้อง, มะนอยเลี่ยม (ภาคเหนือ-พายัพ), หมักนอย, มะนอย (เชียงใหม่), บวบหวาน (แม่ฮ่องสอน), บวงเหลี่ยม (ไทย), เดเรเนอมู (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน), กะตอรอ (มลายู-ปัตตานี), อ๊อซีกวย (จีน)
ชื่อสามัญ : Angled loofah
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Luffa acutangula Roxb.
วงศ์ : CUCURBITACEAE

ลักษณะทั่วไป :

  • ต้น : เป็นพรรณไม้เถาล้มลุก ชอบเลื้อยพาดพันไปตามต้นไม้อื่น ๆ เช่นบวบทั้งหลาย
  • ใบ : จะมีลักษณะคล้ายบวบกลม แต่ใบนั้นจะมีรอยเว้าเข้าตื้นกว่ามาก ใบจะเป็นสีเหลือง
  • ดอก : ดอกตัวผู้นั้นจะมีเกสรตัวผู้อยู่ประมาณ 2-3 อัน ดอกจะเป็นดอกสีเหลือง
  • ผล : ลักษณะจะเป็นทรงกระบอกขนาดสั้นกว่าบวบกลม แต่จะมีเหลี่ยมเป็นอบคมประมาณ 10 รอย ผลจะมีความยาวประมาณ 4 นิ้วฟุต และมีเปลือกหนาแข็ง เนื้อในผลรสขม

การขยายพันธุ์ : โดยการเพาะเมล็ด

ส่วนที่ใช้ : ใบ ดอก ผล เปลือกผล ขั้วผล เมล็ด เถา น้ำจากจากเถา และราก ใช้เป็นยา

สรรพคุณ :

  • ใบ-ต้มดื่มขับปัสสาวะ แก้ปัสสาวะเป็นเลือด แก้ระดูมาผิดปกติ ขับเสมหะ ถอนพิษ ไข้ม้ามโต แก้ริดสีดวง ทวาร ถอนพิษแมลงกัดต่อย แก้คัน
  • ผล-บำรุงร่างกาย ลดไข้ แก้ร้อนใน ระบายท้อง ขับปัสสาวะ ขับเสมหะทำให้ชุ่มคอ
  • ราก-ต้มดื่มแก้บวมน้ำ ระบายท้อง

ถิ่นที่อยู่ : พรรณไม้นี้ ชอบขึ้นตามที่รกร้าง หรือริมห้วย หนอง คลอง และตามบึงทั่ว ๆ ไป



ขอบคุณข้อมูลจาก samunpri.com




Create Date : 03 สิงหาคม 2557
Last Update : 3 สิงหาคม 2557 4:10:50 น.
Counter : 1007 Pageviews.

0 comments
ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
 *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

vnize
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 4 คน [?]



สิงหาคม 2557

 
 
 
 
 
1
2
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
 
 
3 สิงหาคม 2557
All Blog