ประโยชน์ของกะเม็งตัวผู้ (สมุนไพร)
ชื่ออื่น ๆ : ฮ่อมเกี่ยวคำ(เชียงใหม่) กะเม็งตัวผู้(ภาคกลาง)
ชื่อสามัญ : -
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Wedelia chinensis
วงศ์ : COMPOSITAE

ลักษณะทั่วไป

  • ต้น : เป็นพรรณไม้ล้มลุก ที่มีลำต้นเลื้อยและชูขึ้น ลำต้นสูงประมาณ 4-20 นิ้ว
  • ใบ : ใบมีลักษณะเป็นรูปหอกแกมขอบขนาน ปลายใบแหลมเรียว โคนใบสอบแคบ ริมขอบใบเป็นหยักตื้น หลังใบและใต้ท้องใบ มีขนขึ้นประปราย ใบมีขนาดกว้างประมาณ 0.5-1 นิ้ว ยาวประมาณ 0.5-3 นิ้ว ก้านใบสั้น
  • ดอก : ดอกออกเป็นดอกเดี่ยว บริเวณปลายยอด ลักษณะของดอกเป็นดอกขนาดเล็ก กลีบดอกวงนอกเป็นรูปรางน้ำ ปลายกลีบดอกเป็นหยัก 3 หยัก กลีบดอกยาว 8-11 มม. กลีบดอกวงในเป็นรูปท่อ ปลายกลีบดอกหยักเป็น 5 แฉก กลีบดอกยาว 4 มม. กลางดอกมีเกสรตัวผู้โผล่พ้นจากกลีบดอก และเกสรตัวเมียจะแยกออกเป็นแฉกโค้ง ดอกเมื่อบานเต็มมีเส้นผ่าศูนย์กลาง 2 ซม.
  • ผล : ผลมีรูปลักษณะสอบแคบ ผิวของมันขรุขระไม่เรียบ มีขนาดยาวประมาร 4-5 มม. มีระยางค์เป็นรูปถ้วย ขนาดเล็ก

การขยายพันธุ์ : เป็นพรรณไม้ที่เจริญเติบโตได้ดีในดินที่ชื้นแฉะ ขยายพันธุ์ด้วยการเพาะเมล็ด

ส่วนที่ใช้ : ลำต้น ใบ

สรรพคุณ :

  • ลำต้น เอาลำต้นมาตำให้ละเอียดแล้วผสมกับข้าว ใช้พอกแก้ปวดบวม หรือนำเอาลำต้นที่ตากแห้งแล้วนำมาชงเป็นยาอาเจียนเป็นเลือด แก้โรคกระเพาะคราก หรือโรคกระเพาะอักเสบ และยังทำให้น้ำสะอาดได้ด้วย
  • ใบ นำมาใช้เป็นยาบำรุง แก้ไอ แก้โรคผิวหนัง ปวดศีรษะ

อ้างอิงพจนานุกรม สมุนไพรไทย ดร.วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม



ขอบคุณข้อมูลจาก samunpri.com




Create Date : 03 สิงหาคม 2557
Last Update : 3 สิงหาคม 2557 4:04:43 น.
Counter : 595 Pageviews.

0 comments
ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
 *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

vnize
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 4 คน [?]



สิงหาคม 2557

 
 
 
 
 
1
2
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
 
 
3 สิงหาคม 2557
All Blog