ประโยชน์ของกระดูกไก่ดำ (สมุนไพร)
กระดูกไก่ดำ

ชื่ออื่น ๆ : กระดูไก่ดำ(ทั่วไป) เฉียงพร้าบ้าน เฉียงพร้ามอญ ผีมอญ สันพร้ามอญ เฉียงพร้าม่าน เกียงพา สำมะงาจีน(ภาคกลาง) เฉียงพร้า(สุราษฎร์ธานี) กระดูกดำ (จันทบุรี) ปองดำ(ตราด) กุลาดำ บัวลาดำ(ภาคเหนือ)
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Gendarussa vulgaris Nees
วงศ์ : ACANTHACEAE

ลักษณะทั่วไป

  • ต้น : เป็นพรรณไม้พุ่มเล็ก มีลำต้นสูงประมาณ 90-100 ซม.ลักษณะของลำต้น และกิ่งเป็นปล้องข้อ คล้ายกระดูกไก่ ขนาดข้อลำต้นยาวประมาณ 2.5-3 นิ้ว ข้อของกิ่งยาวประมาณ 1-1.5 นิ้ว ลำต้น ใบ กิ่งก้าน มีสีแดงเรื่อ
  • ใบ : ใบมีลักษณะเป็นรูปหอกโคนและปลายแหลม ริมขอบใบเรียบไม่มีหยัก เส้นกลางใบสีแดงขนาดใบกว้าง 0.5-1.5 นิ้ว ยาวประมาณ 3-5 นิ้ว ก้านใบสั้น
  • ดอก : ดอกออกเป็นช่อบริเวณปลายดอก ช่อยาวประมาณ 2-3 นิ้ว ลักษณะของดอก กลีบดอกมีสีขาวอมเขียว แกมชมพู โคนกลีบดอกติดกัน ส่วนปลายกลีบแยกเป็นกลีบล่างบน ลักษณะกลีบล่างโค้งงอนเหมือนช้อน ข้างในหลอดดอกมีเกสรตัวผู้ 2 อัน ซึ่งจะโผล่พ้นหลอดออกมา
  • ผล : ผลมีลักษณะเป็นฝัก ยาวประมาณ 1.3-1.5 ซม.

การขยายพันธุ์ : เป็นพรรณไม้ที่มักขึ้นเองตามลำธารในป่าดงดิบหรือมักปลูกตามบ้าน ใช้ทำรั้ว ขยายพันธุ์ด้วยการปักชำ

ส่วนที่ใช้ : ใบ ราก

สรรพคุณ :

  • ใบ นำใบสดมาตำและเอาน้ำมาดื่ม แก้ปวดศีรษะ โรคหืด ไอ อัมพาต นำมาตำคั้นน้ำมาผสมกับเหล้ากิน แก้ไอ อาเจียนเป็นเลือด ช้ำใน ขับปัสสาวะ บวมตามข้อ กากของใบนำมาพอกแผลที่พิษอสรพิษขบกัด ใบนำมาต้มและดื่ม แก้ช้ำ แก้ไข้ ลดความร้อน ขับเลือดข้นในร่างกายให้กระจาย
  • รากและใบ ตำผสมกันแล้วนำมาพอกแผล ถอนพิษ นำมาต้มใช้อาบน้ำแก้โรคผิวหนัง ผื่นคัน

อื่น ๆ : กระดูกไก่ดำ ในมาเลเซียถือว่าเป็นไม้อันศักดิ์สิทธิ์ ป้องกันภูตผี หรือป้องกันภัย

 



ขอบคุณข้อมูลจาก samunpri.com




Create Date : 03 สิงหาคม 2557
Last Update : 3 สิงหาคม 2557 4:03:57 น.
Counter : 685 Pageviews.

0 comments
ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
 *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

vnize
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 4 คน [?]



สิงหาคม 2557

 
 
 
 
 
1
2
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
 
 
3 สิงหาคม 2557
All Blog