ประโยชน์ของเนระพูสี (สมุนไพร)
เนระพูสี

ชื่อท้องถิ่น : ว่านหัวฬา(จันทบุรี) ดีงูหว้า(ภาคเหนือ) ดีปลาช่อน(ตราด) เนระพูสีไทย(ภาคกลาง) มังกรดำ ค้างคาวดำ นิลพูสี(กรุงเทพ) ม้าถอนหลัก ว่านพังพอน (ยะลา) ว่านนางครวญ(นครศรีธรรมราช)
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Tacca chantrieri Andre
วงศ์ : TACCACEAE
ชื่อสามัญ : Bat flower
ลักษณะทั่วไป :

  • เป็นพันธุ์ไม้ล้มลุก มีเหง้าหัว เจริญตามแนวราบใต้พื้นดิน
  • ใบรูปหอกแกมรูปไข่ ขอบใบเรียบ ปลายใบเรียวแหลม โคนใบมนหรือเฉียง แผ่นใบสีเขียวเข้มกว่าท้องใบ ก้านใบสีเขียวคล้ำชูขึ้นสูงเหนือพื้นดินยาวประมาณ 1 – 1.5 ฟุต
  • ก้านดอกชูขึ้นมาสูงจากกลางกอ ช่อดอกเป็นแบบช่อกระจุก ดอกออกแน่น ล้อมรอบด้วยใบประดับรูปไข่ 2 ใบ ตรงกลางดอกมีเกสรตัวผู้และตัวเมีย มีสีดำสนิท มีกลีบดอก 2 กลีบ ลักษณะรีรูปทรงกลม รังไข่ใต้วงกลีบดอกด้านในจะเป็นเส้นยาวคล้ายด้ายยื่นห้อยลงมา ดูแล้วคล้ายเส้นด้ายสีดำ หน้าตาดอกเหมือนกับค้างคาวกำลังกระพือปีกในเวลากลางคืน ดอกมีกลิ่นสาบหืน

แหล่งที่พบ : พบขึ้นในป่าดิบแล้งหรือป่าดิบชื้น

ส่วนที่ใช้เป็นยา : เหง้า ทั้งต้น

สรรพคุณและการใช้ประโยชน์ :

  • ใบอ่อน ย่างไฟอ่อนหรือลวก กินกับลาบ(คนเมือง)
  • ใบ รับประทานจิ้มน้ำพริก(กะเหรี่ยงแดง)
  • ดอก รับประทานกับน้ำพริก(ขมุ)
  • ใบ รับประทานสดกับลาบ มีรสหวานขม(ปะหล่อง)
  • ราก ต้มดื่มน้ำแก้อาการปวดหลังปวดเอว(คนเมือง)
  • ราก ดองเหล้าหรือกินใบสดแก้อาการเจ็บหลังเจ็บเอว บำรุงกำลัง และช่วยเจริญอาหาร(กะเหรี่ยงแดง)
  • ราก ต้มน้ำรวมกับหญ้าถอดปล้อง ดื่มแก้อาการปวดเมื่อย(ขมุ)
  • ดอกและยอดอ่อน รับประทานเป็นผักจิ้มน้ำพริกได้ (มีความเชื่อว่า เด็กคลอดใหม่ ห้ามเข้าใกล้ เพราะไม่ดีต่อพ่อแม่เกิด)(ลั้วะ)



ขอบคุณข้อมูลจาก samunpri.com




Create Date : 03 สิงหาคม 2557
Last Update : 3 สิงหาคม 2557 4:11:03 น.
Counter : 604 Pageviews.

0 comments
ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
 *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

vnize
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 4 คน [?]



สิงหาคม 2557

 
 
 
 
 
1
2
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
 
 
3 สิงหาคม 2557
All Blog