ประโยชน์ของขมิ้น (สมุนไพร)
ชื่ออื่น ๆ : ขมิ้นหัว,ขมิ้นแกง,ขมิ้นหยวก (เชียงใหม่) ขมิ้น (กลาง) หมิ้น,ขี้มิ้น (ภาคใต้) สะยอ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน) ตา ยอ (กะเหรี่ยง-กำแพงเพชร)
ชื่อสามัญ : Turmeric,Curcuma
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Curcuma Longa Linn
วงศ์ : ZINGIBERACEAE

ลักษณะทั่วไป:

  • ต้น: : เป็นพรรณไม้ล้มลุก มีเหง้าอยู่ใต้ดินมากเป็นพรรณไม้เดียวกันกับว่านหรือขิง มีลำต้นสูงประมาณ 50-70 ซม. เนื้อในจะมีสีเหลืองอมส้ม และมีกลิ่นหอม
  • ใบ : เป็นใบเดี่ยวขนาดใหญ่ รูปหอกแกมขนานกัน กว้างประมาณ 8-10 ซม. และยาวประมาณ 30-40 ซม. ก้านใบยาวราวประมาณ 8-15 ซม. เป็นก้านใบแคบ ๆ มีร่องแผ่ครีออกเล็กน้อย หน้าแล้งใบนั้นจะแห้งเหลือเหง้าใต้ดินอยู่ ห้ามรดน้ำเพราะ ถ้าแฉะไปเหง้าก็จะเน่า แต่ถ้าฤดูฝน ฝนตกก็จะแทงต้นใหม่และออกดอก
  • ดอก : จะออกเป็นช่อใหญ่สวย ก้านช่อนั้นจะยาวพุ่งออกมาจากใต้ดิน ก้านช่อดอกมียาวประมาณ 5-8 ซม. ส่วนใบประดับสีเขียวอ่อน ๆ หรือ สีขาว ตรงปลายช่อดอกจะมีสีชมพูอ่อน จะจัดเรียงซ้อนกันอย่างระเบียบ ใบประดับ 1 ใบ จะมีดอกอยู่ 2 ดอก ใบประดับย่อยนั้นรูปขอบจะขนานยาว 3-3.5 ซม. กลีบรองกลีบดอกจะเชื่อมติดกันเป็นรูปท่อ มีขน กลีบดอกจะมีสีขาว ตรงโคนเชื่อมติดกันเป็นท่อยาว ปลายของมันจะแยกเป็น 3 ส่วน
  • เกสร : เกสรตัวผู้มีลักษณะคล้ายกลีบดอก มีขน ส่วนอับเรณูจะอยู่ใกล้ ๆ ปลาย ท่อเกสรตัวเมีย และ ยาว ยอดเกสรตัวเมียเป็นรูปปากแตร เกลี้ยง
  • รังไข่ : จะมีอยู่ 3 ช่อง แต่ละช่องนั้น จะมีไข่อ่อนอยู่ 2 ใบ

การขยายพันธุ์ : ก่อนที่จะปลูกควรทำการด้ายหญ้า เพื่อเป็นการกำจัดวัชพืชและทำการไถพรวนดิน มีความลึกประมาณ 20-30 ซม. แล้วปล่อยไว่นานหนึ่งอาทิตย์ ให้ดินแห้งเป็นการทำลายพวกแมลงและราบางชนิด หลังจากนั้นก็ทำการยกร่องให้สูงประมาณ 25 ซม. กว้าง 45-50 ซม. ท่อนพันธุ์ที่คัดปลูกควรจะมีอายุ 11-12 เดือน แล้วตัดเป็นท่อน ๆ โดยให้มีตาประมาณท่อนละ 1-2 ตา ก่อนที่จะลงมือปลูกควรแช่ท่อนพันธุ์ด้วยน้ำยาไดโฟลาแทน (Difolatan) เพื่อเป็นการป้องกันโรครากเน่า ควรใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักในร่องก่อนที่จะปลูก ควรจะปลูกต้นฤดูฝนราวพฤษภาคม ถ้าปลูกช้าฝนจะตกหนัก จะทำให้ขมิ้นที่ปลูกไว้เน่าตายได้ ระยะของการปลูก 900 ตารางเซนติเมตร หรือ 1225 ตารางเซนติเมตร ขุดหลุมลึกราว 6-8 เซนิเมตร หลังการปลูกได้ เจ็ดเดือน ขมิ้นจะเริ่มออกใบสีเหลือง แสดงว่าหัวของขมิ้นนั้นเริ่มแก่แล้ว ปล่อยทิ้งไว้ในแปลงจนกระทั่งมีอายุ 9-10 เดือนจึงทำการขุดได้

ส่วนที่ใช้ : เหง้าที่แก่จัด ใช้ทั้งสดและแห้ง เหง้าแห้งนิยมปนเป็นผง

สรรพคุณ :

  • เหง้า ใช้รักษาแผลในลำไส้ เจริญอาหาร ขับลม คล้ายกล้ามเนื้อเรียบในลำไส้ที่เกร็งตัว บรรเทาอาการวิงเวียน ไม่สบายมีฤทธิ์ต้านวัณโรค ระงับเชื้อ รักษาโรคผิวหนัง แก้หวัด ผื่นคัน เป็นยาบำรุง รักษากลากเกลื้อน ระงับอาการชัก ขับปัสสาวะ ลดไข้ ฆ่าเชื้อพยาธิ ป้องกันโรคหนองใน อาการฟกช้ำ รักษาแผลสด แก้ท้องขึ้น บรรเทาอาการท้องขึ้น ทำให้ผายลม รักษาไข้ผอมเหลือง ไข้ท้องมาน รักษาพิษ เสมหะและโลหิต ใช้เป็นยาขัดฟัน รักษาแผลในกระเพาะอาหาร รักษาฟัน แก้หญิงที่ตกโลหิต รักษาโลหิตออกทางทวารหนักและโลหิต นอกจากจะใช้เดี่ยวๆ แล้วขมิ้นยังเป็นส่วยผสมของตำรับยาสมุนไพร รักษารคต่าง ๆ คือ เหง้าจะมีส่วนผสมของน้ำมันมะพร้าว ใช้เป็นยาสมานแผลสดและแผลถลอก หรือใช้ผสมกับยานวดเพื่อเพื่อคลายเส้นยาคุมธาตุ รักษาเคล็ดขัดยอก รักษาชันนะตุในเด็ก บรรเทาอาการปวดฟัน และเหงือกบวม รักษาเคล็ดขัดยอก หรือน้ำกัดเท้า ส่วนในเหง้าขมิ้นนั้นจะมีสารสีเหลืองซึ่งเราเรียกว่า curcumin และ resin นอกจากนี้ยังมีน้ำมันระเหยประมาณ 5% ซึ่งประกอบด้วย borneol,camphene, zingerene,l.4cineol,sabinene และ phellandrene สารที่อยู่ภายใน หัวขมิ้นเป็นเครื

    ขอบคุณข้อมูลจาก samunpri.com



Create Date : 03 สิงหาคม 2557
Last Update : 3 สิงหาคม 2557 4:05:19 น.
Counter : 445 Pageviews.

0 comments
ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
 *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

vnize
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 4 คน [?]



สิงหาคม 2557

 
 
 
 
 
1
2
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
 
 
3 สิงหาคม 2557
All Blog