ประโยชน์ของกกลังกา (สมุนไพร)
กกลังกา

ชื่ออื่นๆ : กกต้นกลม, กกขนาก, หญ้าลังดา, กกดอกแดง
ชื่อสามัญ : Umbella plant, Flatsedge
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Cyperus alternifolius L.
วงศ์ : Cyperaceae
ลักษณะทั่วไป

  • ต้น : เป็นพรรณไม้ที่มีลำต้นออกเป็นกอมีหัวอยู่ใต้ดิน คล้ายจำพวกขิงหรือเร่ว ลำต้นมีความสูงประมาณ 100-150 ซม. ลักษณะของลำต้นตั้งตรงไม่มีกิ่งก้าน ลำต้นกลมมีสีเขียว
  • ใบ : ใบจะออกแผ่ซ้อน ๆ กัน อยู่ปลายยอดของลำต้น ลักษณะของใบเป็นรูปยาว ปลายใบแหลม กว้างประมาณ 1 ซม. ยาวประมาณ 18-19 ซม. ใบมีสีเขียว ริมขอบ ใบเรียบใต้ท้องใบสาก ลำต้นหนึ่งจะมีใบประมาณ 18-25 ใบ
  • ดอก : ดอกออกเป็นกระจุก อยู่รวมกันเป็นใบ ดอกมีขนาดเล็ก เป็นสีขาวแกมเขียว ก้านดอกเป็นเส้นเล็ก ๆ สีเขียว ยาวประมาณ 6-7 ซม. ดอกแก่เมื่อแก่จะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลอ่อน

การขยายพันธุ์ : กกลังกา เป็นพันธุ์ไม้มักจะขึ้นตามบริเวณที่ ๆ เป็นโคลนหรือน้ำ เช่นข้างแม่น้ำ ลำคลอง สระ หรือบ่อน้ำ มีการขยายพันธุ์ด้วยการแยกหน่อ
ส่วนที่ใช้เป็นยา : ลำต้น, ใบ, ดอก, ราก, หัว
สรรพคุณ :

  • ลำต้น ทำลายดีอันผูกไว้ซึ่งพิษ ขับน้ำดีให้ตกลำไส้
  • ใบ ฆ่าแม่พยาธิ ซึ่งเป็นตัวนำเชื้อโรคทั้งหมด
  • ดอก แก้โรคในปาก เช่นปากเปื่อย หรือปากซีด
  • ราก เป็นยาแก้ช้ำภายใน ขับเลือดเสียออกจากร่ากาย
  • หัว เป็นยาแก้เสมหะเฟื่อง แก้ธาตุพิการ บำรุงธาตุ และ ทำให้อยากอาหาร

 

ขอบคุณข้อมูลจาก samunpri.com




Create Date : 03 สิงหาคม 2557
Last Update : 3 สิงหาคม 2557 4:03:35 น.
Counter : 1135 Pageviews.

0 comments
ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
 *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

vnize
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 4 คน [?]



สิงหาคม 2557

 
 
 
 
 
1
2
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
 
 
3 สิงหาคม 2557
All Blog