ประโยชน์ของช้าพลู (สมุนไพร)
ชะพลู

ชื่ออื่น ๆ : ชะพลู (ไทยภาคกลาง), พลูลิง, ผักอีไร (ภาคเหนือ)
ชื่อสามัญ : Wildbetal Leafbush
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Piper sarmentosum Roxb.
วงศ์ : PIPERACEAE

ลักษณะทั่วไป :

  • ต้น : เป็นพรรณไม้ต้นเล็ก ๆ มีลำต้นสูงประมาณ 2 ฟุต ลักษณะลำต้นจะเป็นข้อ ๆ
  • ใบ : ใบมีลักษณะคล้ายใบพลูขนาดย่อม ใบจะเป็นสีเขียวแก่ และมีรสเผ็ดเล็กน้อย ใบใช้กินเป็นผักได้
  • ดอก : ลักษณะดอกจะออกยาวเป็นปุ่ม ๆ คล้ายกับดอกดีปลี แต่จะสั้นกว่า

ส่วนที่ใช้ : ต้น ใบ ราก ใช้เป็นยา

สรรพคุณ :

  • ต้น ใช้เป็นยารักษาเสมหะในทรวงอก
  • ใบ ทำให้เสมหะงวดแห้งและช่วยเจริญอาหาร
  • ราก ใช้รักษาคูถเสมหะ คือใช้ขับเสมหะให้ตกทางอุจจาระ นอกจากนี้รากยังใช้ปรุง เป็นยารักษาธาตุพิการ และธาตุน้ำพิการ บำรุงธาตุ

อื่น ๆ : ชะพลูมีอยู่ 2 ชนิด ชนิดนี้เป็นพรรณไม้เถา ลักษณะลำต้น ใบ ดอก และรสก็มีลักษณะ เดียวกัน แต่จะผิดกันตรงที่ลำต้นเป็นเถาเท่านั้น ส่วนคุณสมบัติในทางยาก็ใช้อย่างเดียวกัน ชนิดเถานี้เรียกกันว่า ชะพลูเถา (ไทยภาคกลาง) ปูริงนก ผักปูริง ผักอีเลิด (ภาคเหนือ)

ถิ่นที่อยู่ : พรรณไม้ชนิดนี้ชอบขึ้นตามพื้นที่ลุ่มต่ำและแฉะ โดยมากมักจะปลูกไว้รับประทาน ตามบ้านและมีขึ้นได้ทั่วไปทุกจังหวัดในประเทศไทย



ขอบคุณข้อมูลจาก samunpri.com




Create Date : 03 สิงหาคม 2557
Last Update : 3 สิงหาคม 2557 4:07:34 น.
Counter : 407 Pageviews.

0 comments
ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
 *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

vnize
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 4 คน [?]



สิงหาคม 2557

 
 
 
 
 
1
2
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
 
 
3 สิงหาคม 2557
All Blog